ลูกหนี้ ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ล็อกดาวน์ที่ได้รับกระทบสามารถพักชำระหนี้ได้ 2 เดือน เพราะธปท. จับมือสมาคมธนาคารไทย - สมาคมธนาคารนานาชาติ ออกมาตรการพักหนี้เงินต้นแะดอกเบี้ย 2 เดือน ให้ลูกหนี้เอสเอ็มอี รายย่อย ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการล็อกดาวน์ เริ่ม 19 ก.ค.นี้
การประกาศล็อกดาวน์ 10 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงโควิด-19 เป็นเวลา 14 วัน และมีบางพื้นที่เคอร์ฟิว ทำให้ชีวิตผู้คน การค้า การขาย หยุดชะงักทันที แต่รัฐก็พยายามหามาตรการต่าง ๆ ออกมาช่วยคนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จับมือร่วมกับกับสมาคมธนาคารไทย - สมาคมธนาคารนานาชาติ ออกมาตรการพักหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน ให้ลูกหนี้เอสเอ็มอีรายย่อย ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการล็อกดาวน์ เริ่ม 19 ก.ค. 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• ส่องดู! สินเชื่อสู้ภัยโควิด-มาตรพักหนี้ แบงก์ไหนเข้าร่วมบ้าง ?
• "ออมสิน" พักหนี้สินเชื่อ 1.9 ล้านราย ใน 28 จังหวัดพื้นที่สีแดง
• เปิด 4 ขั้นตอนลงทะเบียนพักหนี้ "ธนาคารออมสิน" เยียวยาโควิด-19
ใครได้รับผลกระทบดูรายละเอียด เงื่อนไข ได้ที่นี่
โดยเงื่อนไข และรายละเอียดมาตรการพักหนี้ พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย มีดังต่อไปนี้
1.ลูกหนี้ นายจ้าง ลูกจ้าง สถานประกอบการที่ปิด เริ่มงวดการชำระหนี้ ก.ค. เป็นต้นไป
-เมื่อหมดพักชำระหนี้ แบงก์จะไม่เรียกเก็บเงินต้น-ดอกเบี้ย ทันที
2.ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม แต่ยังเปิดกิจการได้ รายได้ลดลง แบงก์ช่วยตามความจำเป็น สอดคล้องกับสถานการณ์ลูกหนี้
แบงก์เดินหน้าช่วยลูกหนี้พื้นที่ล็อกดาวน์
แล้วถ้าหากถามว่า ลูกหนี้ต้องทำอะไรบ้าง ? ก็ทำตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
-ลูกหนี้ต้องติดต่อแบงก์แสดงความประสงค์ขอรับช่วยเหลือได้ตั้งแต่ 19 ก.ค.2564
-ลูกหนี้ต้องแสดงหลักฐานที่ชัดเจนถึงผลกระทบ เพื่อให้แบงก์พิจารณาได้เร็ว
-ลูกหนี้ต้องรู้ว่าการพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ยในมาตรการนี้ เป็นแค่การเลื่อนการชำระออกไป
-ต้องเข้าใจมาตรการนี้เป็นการช่วยเหลือขั้นต่ำ แบงก์สามารถช่วยได้ตามความเหมาะสม
อย่างไรก็ตามธปท. และทุกสมาคมฯ รวมถึงสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จะร่วมกันเร่งรัดและผลักดันการให้ความช่วยเหลือจากมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยดังกล่าวอย่างต่อเนื่องรวมทั้งจะได้ขอให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (nonbank) ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ไปพร้อมกัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบให้ได้มากที่สุด ดังนั้น ขอให้ลูกหนี้ที่ประสบปัญหารีบติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินที่ใช้บริการอยู่ เพื่อรับความช่วยเหลือโดยเร็ว