svasdssvasds

โควิด-19ดัน "หนี้ครัวเรือน"พุ่งไม่หยุด-เปิดวิธีแนะประหยัดยังไงให้รอด !

โควิด-19ดัน "หนี้ครัวเรือน"พุ่งไม่หยุด-เปิดวิธีแนะประหยัดยังไงให้รอด !

ช่วงนี้ หนี้ครัวเรือนไทย ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลัก คือ โควิด -19 ทำพิษ วันนี้จะพามาดูวิธีประหยัด และสิ่งที่อย่าหาทำเพื่อไม่ให้เป็นหนี้เพิ่ม

กลัวไปหมด ! กลัวว่าตัวเราเองจะติดโควิดหรือใหม่ ? รอบนี้ กลัวจะไม่มีเงินจ่ายหนี้สิน กลัวจะไม่มีเงินกินข้าว แล้วชีวิตจะอยู่ยังไงให้รอด เพราะงานก็น้อย เสี่ยงถูกเลิกจ้าง ลดเงินเดือน ตัดโอที ไปอีก จะว่าไปแล้วใคร ๆ ก็กลัวไปหมดทุกอย่างในตอนนี้ แต่...ก็เชื่อว่าหลายคนคงหันมาประหยัดมากขึ้น และไม่ควรไปก่อหนี้ใหม่เพิ่มนะ เพราะคนไทยมีโอกาสเป็นหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นเรื่อย ๆ รู้ไหม

ล่าสุดกระทรวงการคลัง ออกมาชี้ว่า สถานะการเงินคนไทยเปราะบาง ช่วงโควิดหนี้ครัวเรือนพุ่ง 86.6% เปิด 4 ประเด็นต้องติดตาม พร้อมแนะ 5 แนวทางพัฒนาตลาดเงิน-ตลาดทุน เรื่องนี้ถูกเปิดเผยจากมาทัพใหญ่ “นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สถานการณ์การเงินของประเทศไทยมีประเด็นที่ต้องติดตามอย่างน้อย 4 ประเด็น ดังต่อไปนี้

1. หนี้ครัวเรือนไทย ซึ่งในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2562 มีสัดส่วนต่อจีดีพี 78.9% ถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ แต่เมื่อได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สัดส่วนจึงเพิ่มขึ้นเป็น 86.6% ในไตรมาส 3 ของปี 2563 สะท้อนให้เห็นความเปราะบางของสถานะการเงินคนไทย เมื่อต้องเผชิญภาวะวิกฤต

2. ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย โดยคาดว่าในปี 2566 สัดส่วนผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จะคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจากสถิติผู้สูงอายุของไทย ณ วันที่ 31 ธ.ค.63 พบว่ามีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป รวมกว่า 11.6 ล้านคน คิดเป็น 17.6% โดยการดูแลผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม ควรมุ่งให้คนไทยเตรียมความพร้อมสู่การเป็นสูงวัย เช่น การออมเงินตั้งแต่วัยทำงาน เพื่อใช้จ่ายในวัยเกษียณ

 

3. ปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือน จาการสำรวจการออมภาคครัวเรือนไทย เมื่อไตรมาส 3 ของปี 2561 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า 5.8 ล้านครัวเรือนไทย หรือ 27.1% ไม่มีเงินออม และครัวเรือนที่มีเงินออม มีเพียง 15.7 ล้านครัวเรือน หรือ 72.9% อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงวิธีการออม พบว่าคนไทย 38.9% มีพฤติกรรมการใช้ก่อนออม ขณะที่คนไทย 38.5% ออมไม่แน่นอน และที่เหลืออีก 22.6% มีพฤติกรรมออมก่อนใช้

4.เมื่อประกอบกับผลการสำรวจทักษะทางการเงินไทย จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นการสำรวจตามแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ในองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ด้านการเงิน พฤติกรรมการเงิน และทัศนะคติทางการเงิน ก็พบว่าคะแนนด้านความรู้ทางด้านการเงินของคนไทยทำมากกว่าด้านอื่น และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่ทำการสำรวจปัญหาเหล่านี้ เป็นผลสะท้อนจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งในเชิงโครงสร้างและปัจเจกบุคคล ตรงนี้ก็มีผลต่อการเกิดหนี้ครัวเรือน เช่นกัน

โควิดทำคนเป็นหนี้สูงขึ้น โควิด-19 ทำคนไทยเป็นหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น

จากข้อมูลเบื้องต้น พอสรุปได้ว่าจากปัญหาโควิด -19 ที่รบกวนเศรษฐกิจไทยมากว่า 2 ปี แล้ว ทำให้หนี้ครัวเรือนไทยปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับบริษทแวดล้อมทางสังคมอื่น ๆ ที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นทำให้คนไทยต้องรู้จักการออมเงิน การลงทุน หาวิธีประหยัด มีการวางแผนชีวิตให้ดีกว่านี้ โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ระบาดแบบนี้ #SPRING แนะนำว่า อย่าหาทำสิ่งต่อไปนี้

-ห้ามก่อหนี้ก้อนใหญ่ใหม่เพิ่มเด็ดขาด

-ห้ามไปกู้ใหม่มาโปะหนี้เก่า

-ลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น เช่น การใช้บัตรรูดปรื๊ด เบา ลง

- อยู่บ้านกักตัวหยุด CF ของออนไลน์ –งดเดลิเวอรี่ รัวๆ

-ห้ามให้ใครยืมถ้าไม่จำเป็น ระวังไม่มี ไม่หนีไม่จ่าย

-หาความเก่งตัวเอง แล้วเปลี่ยนเป็นอาชีพเสริม

-ดูแลจัดการสินทรัพย์เดิมที่มีอยู่ให้ดี ๆ

วิธีประหยัดเงิน และสิ่งที่อย่าหาทำ สิ่งที่อย่าหาทำในช่วงโควิด-19 ระบาด

 

 

 

related