svasdssvasds

เตือนความจำ ! วันนี้จ่าย กยศ.วันสุดท้าย ถ้าใครเบี้ยวหนี้ จะโทษมีอะไรบ้าง ?

เตือนความจำ ! วันนี้จ่าย กยศ.วันสุดท้าย ถ้าใครเบี้ยวหนี้ จะโทษมีอะไรบ้าง ?

เป็นประจำทุกๆปี คนที่เป็นหนี้กยศ. จะต้องถึงเวลาชำระวันสุดท้าย คือ 5 ก.ค. ของทุกปี ส่วนใครที่ตัดเงินจากเงินเดือน จ่ายแบบรายเดือนก็ไม่ได้เสียเงินก้อนใหญ่ แต่ว่าใครที่ลืมจ่าย หรือไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ระวังบทลงโทษ ติดตามเรื่องนี้กัน

ใครที่ไปกู้เงินจากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มา พอถึงเวลาก็ต้องไปชำระหนี้สินที่ท่านได้ไปก่อมา เพื่อให้รุ่นน้อง ๆ จะได้มีเงินในการเล่าเรียนต่อไป แม้ว่าปี 2564 จะสาหัสเรื่องหาเงินทำให้ขีดความสามารถในการชำระหนี้สินหลายคนลดลง แต่...ถึงอย่างไรวันนี้ 5 ก.ค. คืนวันสุดท้ายของการจ่ายหนี้กยศ. ในปีนี้ ใครที่จ่ายแบบรายปีอย่าลืมไปจ่ายกันด้วย ส่วนใครที่จ่ายรายเดือนหักเงินเดือนไปอันนี้ก็ช่วยให้เราไม่เสียเงินก้อนใหญ่ได้

แต่... ใครที่ลืมจ่าย หรือจงใจจะไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย คุณรู้หรือไม่ว่าเบี้ยวหนี้กยศ. มีบทลงโทษอะไรบ้าง วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาดูว่ามีบทลงโทษอะไรบ้าง ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) รายละเอียด ดังต่อไปนี้

เป็นหนี้กยศ.แล้วเบี้ยว เสี่ยงโทษอะไรบ้าง?

เตือนความจำ ! วันนี้จ่าย กยศ.วันสุดท้าย ถ้าใครเบี้ยวหนี้ จะโทษมีอะไรบ้าง ?

1.โดนค่าปรับ ประมาณ 7.5% ต่อปี (อาจต่ำกว่านี้เพราช่วยลูกค้าช่วงโควิด)

2.ถูกฟ้องดำเนินคดี โดยมีเกณฑ์ที่ถูกฟ้องตามเงื่อนไข

- ผู้กู้ที่ค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี หรือ 5 งวด

-ผู้กู้พ้นระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้แล้ว แต่ยังมีหนี้ค้างชำระ

-ผู้กู้กลุ่มไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี (มีหนี้ค้างชำระ)

3.ต้องรับสภาพการบังคับคดีตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษา

4.ถูกบังคับคดีหรือถูกอายัดทรัพย์

วันนี้ วันสุดท้ายสำหรับการชำระหนี้ กยศ. วันนี้ วันสุดท้ายสำหรับการชำระหนี้ กยศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ข่าวดี! ผู้กู้กยศ. 2564 ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน สามารถยื่นกู้ได้เลย

• แนะนำ 3 วิธีวางแผนจ่ายหนี้ กยศ. ให้หมดไว ไม่เสียประวัติ

• กยศ. พร้อมให้กู้ผ่านมือถือ ปี 64 ป.โทกู้ได้ด้วย ดีเดย์ 1 เม.ย. นี้

ทั้งนี้สามารถอธิบายลงรายละเอียดได้ดังนี้ หากค้างชำระนานถูกฟ้องร้องดำเนินคดีผู้กู้ยืมกยศ.ที่ผิดนัดชำระ นอกจากจะต้องจ่ายค่าปรับ และเสียค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งหากไม่ชำระคืนเป็นเวลานานจะถูกฟ้องดำเนินคดี โดยมีเกณฑ์ที่ถูกฟ้องร้องตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

-กรณีแรก ผู้กู้ยืมกยศ. ที่ค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป)

-กรณีที่สอง ผู้กู้ยืมกยศ. ที่พ้นระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้แล้ว แต่ยังมีหนี้ค้างชำระ

-กรณีที่สาม ผู้กู้ยืมกยศ. กลุ่มไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี (มีหนี้ค้างชำระ)

โดยมีเงื่อนไขดังนี้

- ไม่เป็นผู้กู้ยืมเสียชีวิตหรือสูญหาย

- ไม่เป็นผู้กู้ยืมพิการหรือทุพพลภาพ ที่ได้รับอนุมัติให้ระงับการเรียกให้ชำระหนี้แล้ว

- ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ชำระหนี้ปิดบัญชีแล้ว หรือผู้รับทุนที่มีบัญชีติดลบ

- ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ถูกดำเนินคดีแล้ว

- ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ยินยอมให้กองทุนฯ หักเงินเดือน

- ไม่เป็นผู้กู้ยืมชำระหนี้มากกว่า 10% ของยอดหนี้คงเหลือ (ผลรับชำระหนี้ 2 ปี ย้อนหลัง)

- ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

ระวังถูกฟ้องร้อง

อย่างไรก็ตามหากผู้กู้ยืมกยศ. ผิดนัดชำระตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด จะมีโอกาสถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยจะมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนี้

-กองทุนส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม ให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันทราบ และขอให้มีการชำระหนี้ หากผู้กู้ยืมไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงจะส่งรายชื่อให้บมจ.ธนาคารกรุงไทยดำเนินคดี

-บมจ.ธนาคารกรุงไทย ดำเนินการฟ้องคดีกับผู้กู้ยืม และผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมเงิน (ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะได้รับหมายศาล)

-เมื่อศาลมีหมายนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันต้องไปตามนัด โดยในวันนัดจะมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม

-ศาลพิพากษา เมื่อศาลมีคำพิพากษา ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น หากยังไม่มีการชำระหนี้ตามคำพิพากษา กองทุนจะส่งคำบังคับให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน และจะทำการยึดทรัพย์ตามกฎหมายต่อไป

ต้องรับสภาพการบังคับคดีตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษา

ต่อมาคือ หากผู้กู้ยืมกยศ.ไม่มีเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาครั้งเดียวได้ ประสงค์จะผ่อนชำระ สามารถทำได้ตามความประสงค์ ในระหว่างที่กองทุนฯ ยังไม่ได้ดำเนินการบังคับคดี  แต่หากกองทุนดำเนินการบังคับคดีตามกระบวนการทางกฎหมาย ผู้กู้ยืมต้องรับสภาพการบังคับคดีนั้นตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษา

เสี่ยงถูกบังคับคดีหรือถูกอายัดทรัพย์

อย่างไรก็ตามที่ศาลมีคำพิพากษา หากผู้กู้ยืมไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น กองทุนจะดำเนินการสืบทรัพย์ของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันและบังคับคดี โดยการยึดทรัพย์สินและประกาศขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้คืนกองทุน ซึ่งผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันที่สามารถเลือก 2 ทางเลือกที่สามารถทำได้ คือ 1. ชำระหนี้ปิดบัญชี ซึ่งหมายถึงการการจ่ายเงินปิดบัญชีทั้งหมด 2. ไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีตามขั้นตอนทางกฎหมาย

 

related