โควิด-19 ทำคนเป็นหนี้มากขึ้น ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนไทยปี2564 พุ่งสูงไม่หยุด เพราะคนตกงานไม่มีทางออกก็ไปกู้หนี้ยืมสินมาประทังชีวิต วันนี้จะพามารู้ 3 เกณฑ์ตัดชำระหนี้ใหม่ ช่วย “ตัดเงินต้น” มากขึ้น จากธนาคารแห่งประเทศไทย
รู้ ไว้ 3 เกณฑ์ตัดชำระหนี้ใหม่ช่วย“ตัดเงินต้น”
2564 เป็นอีกปีหนึ่งที่หาเงินหาทองยากมาก ๆ เพราะโควิด-19 ทำทุกอย่างมืดมัวเสียจริง ๆ หนี้สิ้นเดิมก็อีรุงตุงนัง บางคนหนี้เก่าไม่หมด แต่ด้วยความลำบากไปก่อหนี้ใหม่มาอีก ทำให้หนี้ครัวเรือนปี2564 พุ่งสูงลิ่ว ล่าสุดศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกมาเผยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทยแตะ 14.13 ล้านล้านบาท แตะ 90.5% ต่อจีดีพี สูงสุดในรอบ 18 ปี พร้อมชี้หนี้โตเร็วกว่าเศรษฐกิจ ซึ่งมองว่าโควิด-19ลาวยาวจะตอกย้ำปัญหามากยิ่งขึ้น ขีดความสามารถในการชำระหนี้จะลดลง
ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี คนหาเงินยาก และเป็นหนี้สูงขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• เป็นหนี้ฟังทางนี้ ! แบงก์ชาติ ผุดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะ3’
• เบรก‘เราผูกพัน’หัวทิ่ม รู้หรือไม่? ข้าราชการไทยเป็นหนี้มากมายมหาศาล
• ไม่มีหนี้ไม่มีหน้า! ใครเป็นหนี้เชิญป้ายหน้ามหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ช่วยได้ !
ส่วนในส่วนของเรื่องการขีดความสามารถในการชำระหนี้ ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดโอกาสเกิดหนี้เสียในระบบการเงินโดยรวม และลดภาระหนี้ของประชาชน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ทั้งนี้การประกาศฉบับนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติที่สำคัญในระบบการเงิน 3 เรื่อง ดังนี้
ดูเลย ! 3 วิธีนี้ แล้วนำเอาไปปฏิบัติใช้
1.การคิดดอกเบี้ยให้คิดบนฐานเงินต้นที่ผิดนัดชำระจริง เท่านั้น ไม่รวมเงินต้นของค่างวดในอนาคต ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ซึ่งจากเดิมแม้ผิดนัดเพียงงวดเดียวผู้ให้บริการทางการเงินสามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดจากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมด ซึ่งทำให้ดอกเบี้ยผิดนัดสูงมาก
2.ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถกำหนดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ที่อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาไม่เกิน 3% สามารถกำหนดในอัตราที่ต่ำกว่า 3% ได้ ซึ่งเดิมคือผู้ให้บริการทางการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เอง ส่วนใหญ่มักจะใช้อัตรา 15% ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บางกรณีกำหนดสูงกว่านั้นถึง 18% หรือ 22%
3.กำหนดลำดับการตัดชำระหนี้ ให้ตัดงวดที่ค้างนานที่สุดก่อนเพื่อให้รู้ว่าเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ เงินที่จ่ายเข้ามาจะนำไปตัดหนี้ส่วนใดก่อนหลัง ซึ่งแนวปฏิบัติเดิมนั้นเงินที่ลูกหนี้จ่ายเข้ามาจะนำไปตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมด ตามด้วยดอกเบี้ยทั้งหมดก่อน แล้วส่วนที่เหลือจึงจะนำไปตัดเงินต้นเรียกว่าการตัดชำระหนี้แบบแนวตั้ง ซึ่งทั้ง 3 แนวทางจะเกิดประโยชน์ต่อลูกหนี้ ได้แก่
-เพื่อเพิ่มโอกาสให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้น
-เพื่อช่วยให้ลูกหนี้มีกำลังใจในการจ่ายชำระหนี้ต่อเนื่อง
-เพื่อให้ประวัติการผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
-เป็นการลดการเกิดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้