svasdssvasds

“ไทยพาณิชย์” คาดกนง. ไม่ปรับดอกเบี้ยตลอดปี2564 แม้เศรษฐกิจไทยชะลอตัว

“ไทยพาณิชย์” คาดกนง. ไม่ปรับดอกเบี้ยตลอดปี2564 แม้เศรษฐกิจไทยชะลอตัว

EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ มอง กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปี 2564 แม้เศรษฐกิจไทยจะชะลอลงมากจากการแพร่ระบาด โควิด 19 ระลอกที่ 3 ดังนั้นเรื่องดอกเบี้ยมีผลต่อการลงทุน เงินฝาก ที่หลายคนควรรู้

เรื่องดอกเบี้ย ก็สำคัญมากสำหรับคนที่จะลงทุน และฝากเงิน หรือจะกู้ซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือการทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ ในชีวิตก็จะเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ต้องจับตาเรื่องของดอกเบี้ยให้ใกล้ชิดเป็นพิเศษ ล่าสุด ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC SCB) ออกมาคาดการณ์คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตลอดปี 2564 หลังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิม 0.50% ในการประชุมวานนี้

ทั้งนี้แม้ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงมากจากการระบาด COVID-19 ระลอก 3 โดยจะให้ความสำคัญมากกว่ากับการเพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายการเงินเพื่อกระจายสภาพคล่องแก่ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงเน้นสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ และอาจขยายระยะเวลาของการลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) ออกไปอีกได้

คาด กนง.คงดอกเบี้ยตลอดปี คาด กนง.คงดอกเบี้ยตลอดปี

โดย EIC SCB มองว่า โอกาสที่กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการส่งผ่านของนโยบายการเงินอาจมีข้อจำกัดมากขึ้นในเวลาที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมาก โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกอาจไม่สามารถกระตุ้นอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้มากนัก เนื่องจากกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่พึ่งพารายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากอาจลดลงตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ปรับตัวลดลง จึงส่งผลต่อแนวโน้มการบริโภค นอกจากนี้ การกระตุ้นการลงทุนอาจไม่สามารถทำได้มากนักในภาวะที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

อย่างไรก็ตามกาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจช่วยลดต้นทุนทางการเงินบ้าง แต่ไม่ได้มีบทบาทในการกระจายสภาพคล่องให้แก่ภาคธุรกิจและครัวเรือนที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตสูง ดังนั้น ปัญหาสำคัญเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดจึงยังคงอยู่ ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงเข้าใกล้ศูนย์อาจนำไปสู่การสะสมความเปราะบางของภาคการเงินจากพฤติกรรม Search for yields ที่ทำให้มีการประเมินความเสี่ยงจากการลงทุนต่ำเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ออมที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจทางการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมอีกด้วย

จับตาหลายประเด็นกดดัน จับตาหลายประเด็นกดดัน

ประการสุดท้าย EIC SCB ประเมินว่า ธปท. จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบธุรกิจ และมาตรการ asset warehousing (หรือมาตรการ "พักทรัพย์ พักหนี้") ที่ได้ดำเนินไป รวมทั้งอาจมีการขยายมาตรการลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) ออกไป ทั้งนี้ ล่าสุด ธปท. ได้มีการปรับเงื่อนไขของมาตรการสินเชื่อ Soft loan ครั้งก่อนเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบและมีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธปท. อาจขยายระยะเวลาของการลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ ออกไปอีกได้ จากเดิมที่ประกาศว่าจะลดอัตรานำส่งมาอยู่ที่ 0.23% เป็นระยะเวลา 2 ปี นับจากวันประกาศมาตรการเมื่อเดือนเมษายนปีก่อน

related