svasdssvasds

ประวัติ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เจ้าของแนวคิด "ไม่เกิน 7 ปี ไทยไปดวงจันทร์

ประวัติ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เจ้าของแนวคิด "ไม่เกิน 7 ปี ไทยไปดวงจันทร์

เปิดประวัติ เอนก เหล่าธรรมทัศน์’ ว่าที่ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หลังบุตรชาย-บุตรสาว ในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรครวมพลังประชาชาติไทยยื่นประวัติที่สำนักงานเลขานายกรัฐมนตรี

เอนก เหล่าธรรมทัศน์ คงเป็นชื่อที่ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา คงได้เห็นข่าวเกี่ยวกับเรื่องการผลิตยานอวกาศจากประเทศไทย ไปโคจรที่ดวงจันทร์อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นคำพูดที่หลายคนได้แต่ตั้งข้อสงสัยว่าจะทำได้จริงหรือไม่ และเมื่อตรวจสอบก็พบว่า ‘เอนก เหล่าธรรมทัศน์’ ว่าที่รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. เพราะล่าสุดเมื่อเวลา 10.50 น. ที่ตึกสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ และ น.ส.จุฑาทัต เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรครวมพลังประชาชาติไทย ได้เดินทางมายื่นประวัติของ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการบริหารพรรครวมพลังประชารัฐ เป็นรัฐมนตรีในโควตาของพรรคแทน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตรมว.พลังงานที่ลาออกไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เนื่องจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย ออกมาระบุให้นายกฯเป็นผู้ตัดสินใจ

ดร. เอนก เผยไม่เกิน 7 ปี ไทยผลิตยานอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์

ลูกชาย เอนก เหล่าธรรมทัศน์ หนุนพ่อไปดวงจันทร์ "ฝันให้ไกลเเล้วไปให้ถึง"

 

 

ประวัติ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เจ้าของแนวคิดที่ว่า “ไม่เกิน 7 ปี ไทยไปดวงจันทร์

ศาสตราจารย์พิเศษเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประวัติในวิกิพีเดียระบุว่า เป็นนักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย, สมาชิกและกรรมการบริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย, กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ที่ปรึกษาและกรรมการคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง, ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 7/2560, ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560, อธิการวิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต, นักวิชาการและนักการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2497 ที่ จ.ลำปาง เป็นเจ้าของทฤษฎี "สองนคราประชาธิปไตย" ที่สรุปว่า "คนต่างจังหวัดตั้งรัฐบาล คนกรุงเทพฯล้มรัฐบาล" เคยได้รับสมญานามจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า "ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง"

เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จบการศึกษาชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง และชั้นมัธยมปลายโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก จากนั้นในปี พ.ศ. 2515 ได้สอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้ร่วมก่อตั้ง พรรคจุฬาประชาชน ปี พ.ศ. 2519 ได้รับเลือกตั้งเป็น นายกสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ในป่าที่ เขตจังหวัด พัทลุง ตรัง และสตูล อยู่ประมาณ 4 ปี

เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วจึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนแนวทางการศึกษาจากแพทย์ศาสตร์มาศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สมรสกับ ศาสตราจารย์ พญ จิรพร และไปศึกษาต่อด้วยกันที่นั่น เข้าเรียนที่ มหาวิทยาลัยจอร์เจีย จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท และต่อมาก็ได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เมื่อจบแล้วก็ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาเศรษฐกิจการเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับมาเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและคณบดี คณะรัฐศาสตร์ นอกจากนั้นได้รับเชิญไปเป็นศาสตราจารย์เยี่ยมเยือนที่ The Paul H. Nitze School of Advanced International Studies (SAIS) ในวอชิงตัน ดี.ซี. ของมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ อีกด้วย

ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

 

ส่วนชีวิตครอบครัว เอนก เหล่าธรรมทัศน์ สมรสกับ รศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ เป็น หัวหน้าศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ มีบุตรทั้งสิ้น 4 คน คือ อิศรา เหล่าธรรมทัศน์ (อิศ) เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ (เขต) อินทิรา เหล่าธรรมทัศน์ (อิน) และเขมรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ (เขม) และเป็นอาของ จุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์(น้องพลับ) นักร้อง นักแสดง และจุฑาฑัตต เหล่าธรรมทัศน์ (พลัม) ผู้จัดการและเจ้าของโรงแรมห้าดาว เทวมันตร์ทรา รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี

ส่วนบทบาททางด้านการเมือง ศ.ดร.เอนก เริ่มชีวิตทางการเมืองโดยเป็นที่ปรึกษาให้กับศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น มีส่วนร่วมในการก่อตั้ง สถาบันพระปกเกล้า ต่อมาในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธได้เป็นที่ปรึกษาให้กับนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนจะมาเป็นที่ปรึกษาให้กับ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลชวน 2

 

ช่วงหลังจากนั้นจึงได้มีบทบาทในพรรคประชาธิปัตย์ จนสุดท้ายได้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ต่อมาเมื่อพลตรีสนั่น เกิดความขัดแย้งกับ สมาชิกพรรคสายนายชวน หลีกภัย และลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ดร.เอนกก็ลาออกตาม พล.ต.สนั่น มาก่อตั้งพรรคมหาชน และรับตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคมหาชน คนแรก

พรรคมหาชนเพิ่งก่อตั้งได้ไม่นานก็ต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548 และได้ ส.ส. เพียง 2 คนจากที่เคยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 20 คน ศ.ดร.เอนก ในฐานะหัวหน้าพรรคจึงแสดงความรับผิดชอบ โดยลาออกจากตำแหน่ง และต่อมากรรมการบริหารพรรคมหาชนมีมติให้ พลตรีสนั่น รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่

ซึ่งในหาเสียงเลือกตั้งคราวนี้ ศ.ดร.เอนก ได้ถูกปรามาสจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ว่า เป็นเพียง "ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง"

 

ปัจจุบัน ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นนักวิชาการ และอธิการวิทยาลัยรัฐกิจ ม รังสิต และเป็นกรรมการสถามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และราชภัฎภูเก็ต มีหนังสือของตนเองกว่าสิบเล่ม ที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะเป็นสองนคราประชาธิปไตย ที่กล่าวว่าการเมืองไทยนั้น คนในชนบทตั้งรัฐบาล ตนในกรุงล้มรัฐบาล และมีหนังสือ พิศการเมือง ที่เน้นประวัติของตนเอง ช่วงการก่อตั้งพรรคมหาชน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ openbooks

ในกลางปี พ.ศ. 2550 เอนกได้ร่วมกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ คือ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แต่ ศ.ดร.เอนก ก็ได้ลาออกจากพรรคดังกล่าวในปีต่อมา และ ปี พ.ศ. 2561 เอนกเป็นสมาชิกและกรรมการบริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย

 

ที่มา: วิกิพีเดีย

related