svasdssvasds

เกิดอาฟเตอร์ช็อก 39 ครั้งใน 8 ชม. เช็กพื้นที่เสี่ยงหลังแผ่นดินไหว

เกิดอาฟเตอร์ช็อก 39 ครั้งใน 8 ชม. เช็กพื้นที่เสี่ยงหลังแผ่นดินไหว

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน การเกิดแผ่นดินไหวตาม หรืออาฟเตอร์ช็อกแล้ว 39 ครั้ง ระดับความรุนแรงลดลง ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด

SHORT CUT

  • กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน การเกิดแผ่นดินไหวตาม หรืออาฟเตอร์ช็อกแล้ว 27 ครั้ง ระดับความรุนแรงลดลง
  • ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องได้รับข้อมูลความสั่นสะเทือนของพื้นดินที่ถูกต้อง
  • พื้นที่เเอ่งดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ เเละปริมณฑล มีโอกาสได้รับอันตรายจากเเผ่นดินไหวที่จะเป็น Aftershock

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน การเกิดแผ่นดินไหวตาม หรืออาฟเตอร์ช็อกแล้ว 39 ครั้ง ระดับความรุนแรงลดลง ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด

วันที่ 28 มีนาคม 2568 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานอาฟเตอร์ช็อก เหตุการณ์ 'แผ่นดินไหว' ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.20 น. ศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา

  • ครั้งที่ 1 เวลา 13.32 น. ขนาด 7.1
  • ครั้งที่ 2 เวลา 13.45 น. ขนาด 5.5
  • ครั้งที่ 3 เวลา 14.24 น. ขนาด 4.0
  • ครั้งที่ 4 เวลา 14.37 น. ขนาด 5.2
  • ครั้งที่ 5 เวลา 14.42 น. ขนาด 3.9
  • ครั้งที่ 6 เวลา 14.50 น. ขนาด 3.5
  • ครั้งที่ 7 เวลา 14.57 น. ขนาด 4.7
  • ครั้งที่ 8 เวลา 15.21 น. ขนาด 4.0
  • ครั้งที่ 9 เวลา 15.45 น. ขนาด 3.7
  • ครั้งที่ 10 เวลา 15.52 น. ขนาด 3.8
  • ครั้งที่ 11 เวลา 16.06 น. ขนาด 4.2
  • ครั้งที่ 12 เวลา 16.11 น. ขนาด 3.8
  • ครั้งที่ 13 เวลา 16.26 น. ขนาด 4.3
  • ครั้งที่ 14 เวลา 16.30 น. ขนาด 4.5
  • ครั้งที่ 15 เวลา 16.55 น. ขนาด 4.9
  • ครั้งที่ 16 เวลา 17.28 น. ขนาด 3.1
  • ครั้งที่ 17 เวลา 17.30 น. ขนาด 4.1
  • ครั้งที่ 18 เวลา 17.50 น. ขนาด 3.0
  • ครั้งที่ 19 เวลา 17.59 น. ขนาด 4.0
  • ครั้งที่ 20 เวลา 18.10 น. ขนาด 3.3
  • ครั้งที่ 21 เวลา 18.16 น. ขนาด 3.7
  • ครั้งที่ 22 เวลา 18.30 น. ขนาด 4.2
  • ครั้งที่ 23 เวลา 18.57 น. ขนาด 2.9
  • ครั้งที่ 24 เวลา 19.02 น. ขนาด 4.1
  • ครั้งที่ 25 เวลา 19.09 น. ขนาด 2.4
  • ครั้งที่ 26 เวลา 19.13 น. ขนาด 2.9
  • ครั้งที่ 27 เวลา 19.22 น. ขนาด 5.5
  • ครั้งที่ 28 เวลา 19.33 น. ขนาด 4.0
  • ครั้งที่ 29 เวลา 19.36 น. ขนาด 3.8
  • ครั้งที่ 30 เวลา 19.51 น. ขนาด 4.0
  • ครั้งที่ 31 เวลา 19.52 น. ขนาด 4.6
  • ครั้งที่ 32 เวลา 20.11 น. ขนาด 2.7
  • ครั้งที่ 33 เวลา 20.17 น. ขนาด 2.5
  • ครั้งที่ 34 เวลา 20.18 น. ขนาด 3.4
  • ครั้งที่ 35 เวลา 20.26 น. ขนาด 2.8
  • ครั้งที่ 36 เวลา 20.49 น. ขนาด 2.6
  • ครั้งที่ 37 เวลา 20.56 น. ขนาด 3.1
  • ครั้งที่ 38 เวลา 21.11 น. ขนาด 2.8
  • ครั้งที่ 39 เวลา 21.20 น. ขนาด 2.7

 

ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องได้รับข้อมูลความสั่นสะเทือนของพื้นดินที่ถูกต้อง จากระบบตรวจวัดที่มีมาตรฐานสากล ได้แก่ 

  • สถานีตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน
  • สถานีวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
  • สถานีวัดระดับน้ำทะเล

ที่ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อตรวจวัด เฝ้าระวัง และให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องภัยแผ่นดินไหวในประเทศอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตลอดจนแจ้งเตือนภัยให้กับพื้นที่เสียงภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในทะเล เมื่อตรวจพบความผิดปกติก็จะสามารถส่งข้อมูลแจ้งเตือนได้ทันที

ด้าน รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมป์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า พื้นที่เเอ่งดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ เเละปริมณฑล ตั้งเเต่สีเเดงถึงสีเขียว (ไล่ตามระดับความหนาเเละโอกาสความรุนเเรงจากการสั่น) พื้นที่เหล่านี้มีโอกาสที่อาคารสูง อาคารเก่า อาคารชั่วคราวระหว่างก่อสร้าง จะอันตรายจากเเผ่นดินไหวที่จะเป็น Aftershock

เกิดอาฟเตอร์ช็อก 39 ครั้งใน 8 ชม. เช็กพื้นที่เสี่ยงหลังแผ่นดินไหว

 

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยาSuttisak Soralump

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related