SHORT CUT
ส่องโอกาสที่ไทยจะ “ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ได้เพิ่มขึ้น หากได้รับแรงสนับสนุนจากทุกภาคส่วนเพิ่มขึ้น พามาฟังมุมมองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ ไทยเบฟเวอเรจ มองเรื่องนี้อย่างไร?
ไทยยังคงตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 และการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ซึ่งการจะไปสู่เป้าหมายให้ได้นั่นต้องหวังพึ่งจากหลายภาคส่วนเข้ามาช่วยกัน ยิ่งช่วยกันมากเท่าใดจะทำให้ไทยมีโอกาสลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่ม หากได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น
อีกหนึ่งมุมมองบนเวที Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ “อโณทัย สังข์ทอง” ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารและทะเบียนคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวในช่วงสัมมนา "Carbon Market" Green Solution for All เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย มีแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30% ภายในปี 2573 และอาจเพิ่มเป็น 40% หากได้รับการสนับสนุน
ทั้งนี้พบว่าปัจจุบันแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ยังไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจน ในส่วนของตลาดคาร์บอนมีสินค้า ซื้อขายแลกเปลี่ยน มีการซื้อขาย 2 ประเภท 1. คาร์บอนเครดิตเกิดจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ 2.สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นมาตรการภาคบังคับจากภาครัฐจะจัดการกับผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะแต่เพียงเท่านั้น
“การจะขายยังไงได้กำไรนั้น คาร์บอนเครดิตคือผลพลอยได้จากการทำโครงการจากการลดต้นทุนจากการจัดการพลังงานและการจัดการของเสีย แต่การทำคาร์บอนเครดิตนั้นมีค่าใช้จ่ายในการตรวจวัด ทวนสอบ รวมไปถึงราคาคาร์บอนเครดิตในตลาดปัจจุบันว่าคุ้มค่าหรือไม่ ต้องดูตลาดว่าตอบโจทย์ผู้ซื้อหรือไม่ จะต้องเป็นคาร์บอนเครดิตถาวรมีการตรวจสอบได้ มีที่มาที่ไปอย่างโปร่งใส”
นอกจากนี้ความคุ้มค่าโครงการคาร์บอนเครดิตขึ้นอยู่กับโครงการต่างๆ การได้รับคาร์บอนเครดิตเป็นผลประโยชน์เพิ่มเติมแต่มีต้นทุนการวัดรายงานและตรวจสอบ ควรวิเคราะห์ความคุ้มค่าโดยเปรียบเทียบต้นทุนกับราคาตลาดคาร์บอนเครดิตก่อนตัดสินใจลงทุน และต้องตอบโจทย์ความต้องการของตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งผู้ซื้อต้องการคาร์บอนเครดิตคุณภาพสูง ตรวจสอบได้ โปร่งใส น่าเชื่อถือ และถาวร การได้กำไรนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ต้นทุนโครงการ การรับรอง และราคาตลาด
ส่วนของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ มีการอนุญาตให้มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศภายใต้ข้อตกลงปารีส ส่งเสริมโครงการคาร์บอนเครดิตตามมาตรฐานระดับโลก (Verra, Gold Standard) รวมถึงการดำเนินการตามมาตรฐาน Premium รับรองคุณภาพสูงและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ทั้งนี้ยังมีกลยุทธ์ส่งเสริมโครงการคาร์บอนเครดิต ซึ่งเน้นความน่าเชื่อถือและการทำงานร่วมกันของโครงการคาร์บอนเครดิต มีโครงการรองรับเพียง 4 โครงการสำหรับ Premium T-ver อนาคตนโยบายส่งเสริมเปลี่ยนจากสมัครใจเป็นภาคบังคับ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกันยังมีร่างพระราชบัญญัติฯการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีมาตรการบังคับนิติบุคคลรายงานข้อมูล และกำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับนิติบุคคลในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมการลด และทำคาร์บอนเครดิตโดยสมัครใจ และอนุญาตให้ใชคาร์บอนเครดิตแปลงเป็นสิทธิได้สำหรับโรงงานที่ไม่สามารถลดได้ ซึ่งกลไกตลาดคาร์บอนเครดิต โดยโครงการป่าชุมชนในจังหวัดเพชรบุรีขายคาร์บอนเครดิตได้ราคา 1,500 บาทต่อตัน ราคาสูงกว่าโครงการต่างประเทศ และวิสาหกิจชุมชนในลพบุรีขายคาร์บอนเครดิตได้ราคา 200 บาทต่อตัน รวมถึงส่งเสริมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจต้องขยับไปสู่ภาคบังคับควบคู่กับการสมัครใจ เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนและเกษตรกรเข้าร่วมเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนต่อไป
มาฟังอีกหนึ่งมุมมองจาก “ต้องใจ ธนะชานันท์” รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานความยั้งยืนและกลยุทธ์/ SUstain-บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่แชร์มุมมองว่า องค์กรสามารถลดการปล่อยคาร์บอนและใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยได้ แต่สิ่งสำคัญคือการให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงเป็นอันดับแรก ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามหลายองค์กรประสบความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 90% และใช้คาร์บอนเครดิตเพียง 10% ที่เหลือในการชดเชย อย่างไรก็ตาม คาร์บอนเครดิตมีบทบาทเพียงในการบรรเทาผลกระทบในปลายทางเท่านั้น การมุ่งเน้นที่การลดการปล่อยมลพิษจากต้นทางจึงยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในระยะยาว
สำหรับตลาดคาร์บอนภายในประเทศมีเป้าหมายหลักเพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยนอกจากจะช่วยสร้างกลไกในการลดการปล่อยมลพิษแล้ว ยังมีบทบาทในการระดมทุนเพื่อส่งเสริมการลงทุนในโครงการลดการปล่อยก๊าซ ทั้งนี้ การพัฒนาตลาดคาร์บอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลยังมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเปิดโอกาสในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตกับต่างประเทศและเสริมความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก
ทั้งนี้การลดก๊าซเรือนกระจกต้องให้ความสำคัญกับการเข้าถึงกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญในกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบคาร์บอนเครดิตยังเผชิญความท้าทายด้านต้นทุนที่สูง ทำให้การเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมายมีข้อจำกัด หนึ่งในแนวทางที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้คือการใช้ทรัพยากรในชุมชน เช่น การจัดการขยะและการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งไม่เพียงช่วยลดต้นทุน แต่ยังส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่น
“การลดการปล่อยคาร์บอนต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่น ภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้ชุมชนสามารถเข้าถึงกระบวนการผลิตและได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆ การสร้างความร่วมมือในลักษณะนี้จะนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน และช่วยยกระดับมาตรฐานชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้นควบคู่ไปกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยเร่งเดินหน้าพันธกิจด้าน "ความยั่งยืน" นำประเทศสู่…เป้าหมาย Net Zero 2065
อบก.ชี้ มุ่งสู่ Net Zero ต้องใช้เทคโนโลยี เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน
Net Zero ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน! เร่งหนุนธุรกิจด้วยนวัตกรรม สู่ความยั่งยืน