svasdssvasds

เปิด 10 ประเทศ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด อาจทำให้เป้าหมายถึงฝันช้าลง!

เปิด 10 ประเทศ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด อาจทำให้เป้าหมายถึงฝันช้าลง!

ทั่วโลกกำลังตระหนักเรื่องโลกร้อน โลกรวน กันอย่างจริงจัง วันนี้พาเปิด 10 ประเทศ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด ซึ่งอาจทำให้เป้าหมายถึงฝั่งฝันช้าลงได้

SHORT CUT

  • ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าในปี 2024 ทั่วโลกมีแนวโน้ม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ที่ระดับ 37,400 ล้านตัน นับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้น 0.8%
  • ดังนั้นต้องจับตาดูเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 อาจไปไม่ถึงฝั่งฝัน หรือไปถึงเป้าหมายช้าลง
  • พร้อมพามาดู 10 ประเทศ ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด ส่วนไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลำดับที่ 20 ของโลก

ทั่วโลกกำลังตระหนักเรื่องโลกร้อน โลกรวน กันอย่างจริงจัง วันนี้พาเปิด 10 ประเทศ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด ซึ่งอาจทำให้เป้าหมายถึงฝั่งฝันช้าลงได้

ปี2024 ทั่วโลกมีแนวโน้ม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ที่ระดับ 37,400 ล้านตัน นับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้น 0.8% จากระดับในปี 2023 ข้อมูลนี้จะทำให้เห็นว่ายิ่งทั่วโลกมีการรณรงค์การลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยิ่งมีการปล่อยสูงขึ้น สวนทางกันโดยสิ้นเชิง นั่นหมายความว่า เป้าหมายที่ทั่วโลกตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2030 ที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 30-40 จากการดำเนินการตามปกติ จะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 อาจไปไม่ถึงฝั่งฝัน หรือไปถึงเป้าหมายช้าลง

ทั้งนี้มีข้อมูลจาก geeksforgeeks ระบุว่า มี 10 ประเทศ ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด ดังนี้

  • จีน จำนวน 10,667 ล้านตัน
  • อเมริกา จำนวน  4,712  ล้านตัน
  • อินเดีย  จำนวน 2,441 ล้านตัน
  • รัสเซีย   จำนวน 1,577 ล้านตัน
  • ญี่ปุ่น     จำนวน 1,030 ล้านตัน
  • อิหร่าน   จำนวน 745   ล้านตัน
  • เยอรมนี  จำนวน 644   ล้านตัน
  • ซาอุดีอาระเบีย จำนวน 625 ล้านตัน
  • เกาหลีใต้  จำนวน 597 ล้านตัน
  • อินโดนีเซีย จำนวน 589 ล้านตัน

เปิด 10 ประเทศ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด อาจทำให้เป้าหมายถึงฝันช้าลง!

ขณะที่ประเทศไทย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลำดับที่ 20 ของโลก (Climate Watch Data, 2020) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาคพลังงาน กว่าร้อยละ 70  นอกจากยังเผยอีกว่า ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน

นอกจากนี้ข้อมูลจาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยล่าสุดประกอบด้วย

  • ภาคพลังงาน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด 69.06 % หรือคิดเป็นปริมาณ 257,340.89 GgCO2eq มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมพลังงาน 40.05% การขนส่ง 29.16% อุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้าง 20.24% และอื่นๆ 6.56%
  • ภาคเกษตร ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 15.69% หรือคิดเป็นปริมาณ 58,486.02 GgCO2eq มาจากการเพาะปลูกพืชเกษตร 77.57% การทำปศุสัตว์ 22.43% การเผาไหม้ชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 2.92% การใส่ปุ๋ยยูเรีย 2.86 %
  • ภาคกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 10.77% หรือคิดเป็นปริมาณ 40,118.14 GgCO2eq มาจากอุตสาหกรรมอโลหะ 51.28% อุตสาหกรรมเคมี 33.17% และ อุตสาหกรรมที่ใช้สารทำลายชั้นโอโซนที่ 13.33%
  • ภาคของเสีย ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4.48% หรือคิดเป็นปริมาณ 16,703.68 GgCO2eq โดยในจำนวนนี้ มาจากกำจัดขยะมูลฝอย 52.53% การบำบัดน้ำเสีย 45.71% การกำจัดขยะด้วยการเผาในเตาเผา 1.08% และการบำบัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีทางชีวภาพเพียง 0.68%

ที่มา: geeksforgeeks , กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related