SHORT CUT
นักวิทยาศาสตร์พบว่าเมฆลอยสูงขึ้นและสะท้อนแสงน้อยลง เนื่องจากภาวะโลกร้อน ทำให้แสงแดดทะลุถึงพื้นโลกมากขึ้น และกระตุ้นให้โลกอุ่นขึ้น
ครั้งหนึ่งในอดีต การแหงนหน้ามองท้องฟ้าถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ปัจจุบัน มนุษย์พร่ำมองและศึกษาท้องฟ้ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ล่าสุด แวดวงวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า “เมฆ” ที่ลองตุ๊บป่องอยู่บนท้องฟ้าเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน โดยมีสาเหตุมาจากโลกที่ร้อนขึ้น
ณ เวลานี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์กำลังสร้างแบบจำลองดาวเทียม และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของเมฆ แต่อุปสรรคก็คือ เมฆนั้นอยู่สูง มีหลายประเภท และไม่ได้มีลักษณะตายตัว ความซับซ้อนนี้ ทำให้ยากต่อการศึกษา
แต่กระนั้น นักวิจัยได้ศึกษาไปส่วนหนึ่งและค้นพบว่า เมฆลอยสูงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ซึ่งแปลว่าเมฆจะกักเก็บความร้อนไว้ได้มากขึ้น นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบอีกว่าเมฆสะท้อนแสงแดดได้น้อยลง ทำให้แสงอาทิตย์ทะลุผ่านมาถึงพื้วผิวโลกได้มากขึ้นกว่าในอดีต
ริชาร์ด อัลลัน นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศจากมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง (University of Reading) กล่าวว่า การเมฆที่สะท้อนแสงน้อยลง แสงแดดจะส่องลงมาที่พื้นผิวโลกมากขึ้น และนี่เองที่กระตุ้นให้โลกร้อนขึ้น ทั้งยังส่งผลให้มหาสมุทรทั่วโลกอบอุ่นขึ้นด้วย
การศึกษาเมฆบนท้องฟ้าถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหลายทศวรรษที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงแดดที่ทะลักเข้ามาในโลก จากนั้น เมื่อสภาพอากาศโลกร้อนขึ้น เมฆก็จะลอยตัวสูงขึ้น และก็จะเก็บความร้อนไว้ดังที่กล่าวไป
แต่ถึงอย่างนั้น นักวิจัยก็ยืนยันว่าเมฆเป็นวัตถุอย่างหนึ่งบนโลกที่มีความซับซ้อน และยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อหมูมวลเมฆ อาทิ ละอองลอย นโยบายด้านสภาพอากาศ มลพิษ ฯลฯ
ถ้าพูดถึงความหน้าในการศึกษา ต้องบอกว่าถือเป็นสัญญาณดี เพราะมีหลายชาติที่ให้ความสำคัญในการศึกษาเมฆ ยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น หรือ ยุโรป ที่ได้ส่งดาวเทียม EarthCARE ซึ่งเป็นดาวเทียมปฏิวัติวงการที่สามารถบันทึกรายละเอียดการทำงานของเมฆภายในได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน
อย่างไรก็ดี แวดวงวิทยาศาสตร์ต้องติดตามและศึกษากันต่อไปว่าเมื่อภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น มีผลต่อเมฆอย่างไร
ที่มา: Japan Times
ข่าวที่เกี่ยวข้อง