svasdssvasds

ไทยเร่งเดินหน้าพันธกิจด้าน "ความยั่งยืน" นำประเทศสู่…เป้าหมาย Net Zero 2065

ไทยเร่งเดินหน้าพันธกิจด้าน "ความยั่งยืน" นำประเทศสู่…เป้าหมาย Net Zero 2065

ไทยเดินหน้าพันธกิจเข้มข้น พร้อมนำประเทศสู่…เป้าหมาย Net Zero 2065 กรมสรรพสามิต เตรียมเสนอ ครม.เห็นชอบ ภาษีคาร์บอน ด้านกรมลดโลกร้อน เร่งออก พ.ร.บ.เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้ง climate fund ขณะที่ตลท. เตรียมยกระดับเรตติ้งความยั่งยืนโดยใช้ FTSE Russell ในปี 2569

SHORT CUT

  • ประเทศกำลังไทยเดินหน้าพันธกิจด้านความยั่งยืนอย่างเข้มข้น พร้อมนำพาประเทศไปสู่…เป้าหมาย Net Zero ใน2065
  • กรมสรรพสามิต เตรียมเสนอ ครม.เห็นชอบ ภาษีคาร์บอน ด้านกรมลดโลกร้อน เร่งออก พ.ร.บ.เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้ง climate fund
  • ส่วน ตลท. เตรียมยกระดับเรตติ้งความยั่งยืนโดยใช้ FTSE Russell ในปี 2569

ไทยเดินหน้าพันธกิจเข้มข้น พร้อมนำประเทศสู่…เป้าหมาย Net Zero 2065 กรมสรรพสามิต เตรียมเสนอ ครม.เห็นชอบ ภาษีคาร์บอน ด้านกรมลดโลกร้อน เร่งออก พ.ร.บ.เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้ง climate fund ขณะที่ตลท. เตรียมยกระดับเรตติ้งความยั่งยืนโดยใช้ FTSE Russell ในปี 2569

ในเวที Sustainability Forum 2025 : Synergizing for Driving Business จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ  ระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคม 2567 ณ สยามพารากอน มีการพูดถึงแผนการเดินหน้าพันธกิจที่เข้มข้นยิ่งขึ้นไป พร้อมที่จะนำประเทศไทยสู่…เป้าหมาย Net Zero 2065 ให้ได้ หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ คือ “ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร” รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ Government's Mechanisms to Achieve SDGs ว่า จะพยายามจะโปรโมทเรื่องความยั่งยืน ให้ฝังอยู่ใน DNA ของตลาดทุน เพราะอยากให้ตลาดทุนเป็นตัวช่วยในการสร้างความยั่งยืน โดยเกี่ยวข้องในสองส่วนด้วยกันคือ ส่วนของผู้ประกอบการ และส่วนของนักลงทุน

ทั้งนี้จะเน้นให้ผู้ประกอบการสร้างการตระหนักรู้ และการสร้างวิธีคิด ซึ่งในส่วนของการสร้างการตระหนักรู้นั้นไม่มีปัญหาเพราะว่ามีหลายเวทีที่แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่บริษัทจะต้องทำในเรื่องของความยั่งยืน แต่ในเรื่องของการสร้างวิธีคิด มักจะมีการคิดว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องของบริษัทใหญ่ ซึ่งไม่จริง ความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน แต่จะทำอย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง โดยมองว่าความยั่งยืนนั้นไม่จำเป็นต้องทำทุกเรื่อง แต่ควรเลือกเรื่องที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง และหลายอย่างหากมีการทำร่วมกันจะเกิดประโยชน์มากขึ้น

“ตลาดหลักทรัพย์ก็มีการให้อินเซนทีฟ เพื่อจูงใจให้บริษัททำเรื่องความยั่งยืน มีการให้รางวัลเกี่ยวกับความยั่งยืนในปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงบริษัทเล็กๆ ที่เป็น Supply Chain ที่มีส่วนช่วยให้บริษัทใหญ่มีความยั่งยืนมากขึ้นด้วย และอีกส่วนหนึ่งที่ทำคือการให้อินเซนทีฟแก่บริษัทที่รายงานเรื่องข้อมูลด้านความยั่งยืน”

อย่างไรตามที่ผ่านมาสำนักงานกลต.ให้บริษัทจดทะเบียนรายงานการปล่อยคาร์บอนแล้วนะครับ คือในรายงานประจำปีที่เรียกว่าวันรีพอร์ต ซึ่งมี 850 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มี 400 บริษัทที่รายงานคาร์บอนว่าปล่อยเท่าไหร่ มี 200 บริษัทที่รายงานข้อมูลคาร์บอนที่เป็นข้อมูลที่ยืนยันโดยบุคคลที่สามแล้ว และปีที่แล้วมี 64 บริษัทที่รายงานข้อมูลที่ยืนยันแล้วและมีการประกาศ Net Zero ซึ่งจะพบว่าไม่ถึง 10% ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ปัจจุบันที่ยังไม่มีการรายงานข้อมูล

ทั้งนี้ในส่วนฝั่งของนักลงทุน จะทำอย่างไรให้นักลงทุนลงทุนในหุ้นที่ลงทุนในความยั่งยืน ก็ต้องกลับไปที่ข้อมูล และการสร้างเรตติ้งขึ้นมา ตลาดหลักทรัพย์จะยกระดับ ESG เรตติ้งให้เป็นมาตรฐานโลกในปี 2569  โดยร่วมมือกับ FTSE Russell ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้วัดความยั่งยืนแล้วกว่า 8,000 บริษัททั่วโลก ทำให้นักลงทุนทั่วโลกคุ้นชินกับเรตติ้งดังกล่าว และเพื่อให้นักลงทุนมั่นใจว่าข้อมูลที่ได้ของตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นไปตามมาตรฐานของโลก

สุดท้ายเชื่อว่าหากทำ3 ปัจจัย 'ยั่งยืน' ให้สำเร็จ จะต้องทำตามนี้

  • ปัจจัยด้านการตระหนักรู้
  • ความชัดเจนเรื่องกฎระเบียบ เช่น อินเซนทีฟ เพราะตั้งแต่มี Thai ESG เข้ามาทำให้มีบริษัทที่รายงานคาร์บอนมาขึ้นกว่า 30%
  • การลดรายจ่าย เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนและ Supply Chain ทำเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น

ไทยเร่งเดินหน้าพันธกิจด้าน \"ความยั่งยืน\" นำประเทศสู่…เป้าหมาย Net Zero 2065

ต่อมาพามาฟังมุมของ “ปวิช เกศววงศ์” รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวในวงสัมมนา “Panel Discussion: Government's Mechanisms to Achieve SDGs” ว่า สิ่งที่จะทำเร่งดำเนินการ คือ พ.ร.บ.เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะเป็นส่วนขับเคลื่อนให้เราบรรลุเป้าหมายได้ เพราะทุกอย่างเชื่อมโยงกับกฎหมายทั้งหมด

ทั้งนี้ฎหมายจะมีการผนวกในเชิงสถาบัน การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัว และกลไกทางการเงิน โดยจะจัดตั้งเป็น climate fund เพื่อนำมาสนับสนุนให้กับเอสเอ็มอี หรือภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยได้ทำงานร่วมกับกรมสรรพสามิต บีโอไอ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยเป็นธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ได้มากที่สุด

พร้อมกันนี้ได้มีการรายงานผลประชุม COP29 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับเป้าหมายการเงินใหม่ ซึ่งเรียกร้องให้ภาคีทั้งหมดระดมทุนอย่างน้อย 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2035 ถือเป็นเป้าหมายการระดมทุนรวมทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุด โดยมุ่งหวังที่จะได้รับการสนับสนุนจากทุกแหล่ง ทั้งแหล่งสาธารณะและเอกชนสำหรับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศในประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ยังขยายเป้าหมายการระดมทุนร่วมกันของประเทศพัฒนาแล้ว จาก 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ที่กำลังจะหมดเขตในปี 2025 เป็น 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2035

สำหรับไทยได้รับเงินสนับสนุนโครงการสีเขียวเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF) ที่จัดสัดส่วนการเงินให้ประเทศกำลังพัฒนา 2 รูปแบบ ได้แก่ เงินสำหรับเตรียมความพร้อม และเงินสำหรับดำเนินโครงการต่าง ๆ

ปิดท้ายกันที่ “กุลยา ตันติเตมิท” อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวในหัวข้อ “Government's Mechanisms to Achieve SDGs” ว่า กรมสรรพากร เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันอังคารที่ 10 ธ.ค.67 พิจารณาเห็นชอบการเก็บภาษีคาร์บอน Carbon Tax โดยการเก็บภาษีดังกล่าวจะครอบคลุมสินค้าเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมด แต่ยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับประชาชน และภาคธุรกิจ โดยเร่งให้มีผลบังคับใช้ภายในปี 2567

ทั้งนี้เก็บภาษีคาร์บอนต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเกิดขึ้น แต่จะไม่เป็นภาระผู้ประกอบการต้องแบกต้นทุนเพิ่มขึ้น ภาระผู้บริโภคไม่เพิ่มขึ้น เพราะภาษีจะถูกฝังในราคาผลิตภัณฑ์น้ำมัน ราคาจะเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค และผู้ผลิตให้หันไปผลิต และบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนสู่โลก

อย่างไรก็ตามมีข้อมูลจาก World Economic Forum (WEF) เผยว่า 10 ปีประเทศที่มีกลไกลเก็บภาษีคาร์บอน ปริมาณการปล่อยคาร์บอนสู่โลกเพิ่มขึ้นปีละ 2% ประเทศไม่มีภาษี ปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้น 3% แก็ปจะกว่างขึ้น 5%  และหากดูจากประเทศที่ชำนาญ มีประสบการณ์ และประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ เช่น สวีเดิน สิงคโปร์ ที่การเก็บจากน้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานอยู่ที่127 เหรียญต่อตันคอร์บอน ญี่ปุ่นเก็บในอัตราน้อยประมาณ 42 เหรียญต่อตันคาร์บอน

โดยสวีเดนเก็บภาษีคาร์บอน และนำรายได้เข้ารัฐ เพื่อนำไปใช้จ่ายจ่ายผ่านกระบวรการงบประมาณ ส่วนญี่ปุ่นเก็บเพื่อนำเข้ากองทุนเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม สำหรับไทยจัดเก็บจากภาษีน้ำมัน ส่วนพลังงานทดแทนไม่เก็บภาษี ขณะที่ไบโอดีเซล 100 ไม่เก็บจากพลังงานทดแทน เพื่อสนับสนุนสิ่งแวดล้อม โดยนำเงินภาษีนี้นำเข้ารัฐ เข้าสู่กระบวนการงบประมาณ และนำเงินไปสนับสนุนโครงการลดโลกร้อนต่างๆ

ที่มา:  งานสัมมนาSustainability Forum 2025 : Synergizing for Driving Business จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

related