svasdssvasds

รีคอฟ ปลุกพลังป่าชุมชน ส่งเสริมคนในพื้นที่เข้าใจป่า รับมือโลกรวน

รีคอฟ ปลุกพลังป่าชุมชน ส่งเสริมคนในพื้นที่เข้าใจป่า รับมือโลกรวน

องค์กรไม่แสวงผลกำไร รีคอฟ (RECOFTC) จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพนักจัดการป่าไม้ภาคพลเมือง ให้ชุมชนช่วยกันอนุรักษ์ป่าให้มีความยั่งยืน ด้วยระบบที่มีประสิทธิภาพ รับมือโลกเดือด

SHORT CUT

  • โลกเดือด ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพในป่าไทยลดลง
  • ป่าชุมชนคือด่านหน้าของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • รีคอฟ ร่วมมือกับองค์กรภาคี สร้างนักจัดการป่าไม้ภาคพลเมือง
  • สร้างความแข็งแกร่งให้ชุมชน เข้าใจระบบนิเวศป่าและเข้าใจความต้องการใช้ทรัพยากรให้มีความยั่งยืน

องค์กรไม่แสวงผลกำไร รีคอฟ (RECOFTC) จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพนักจัดการป่าไม้ภาคพลเมือง ให้ชุมชนช่วยกันอนุรักษ์ป่าให้มีความยั่งยืน ด้วยระบบที่มีประสิทธิภาพ รับมือโลกเดือด

อยากให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน คนต้องเข้าใจป่า สปริงนิวส์ในคอลัมน์ Keep The World ชวนรู้จัก รีคอฟ (RECOFTC) องค์กรไม่แสวงผลกำไร ที่จะเป็นผู้ช่วยให้มนุษย์เข้าใจระบบนิเวศของป่าไทยมากขึ้นและอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

รีคอฟ ได้จับมือเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอนประเทศไทย และองค์กรภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ในการมาช่วยกันสร้าง “กระบวนการพัฒนาศักยภาพนักจัดการป่าไม้ภาคพลเมือง (Citizens Forest Master หรือ CF Master)”

รีคอฟ ปลุกพลังป่าชุมชน ส่งเสริมคนในพื้นที่เข้าใจป่า รับมือโลกรวน โดยจะเป็นก้าวแรกของการยกระดับความสามารถของชุมชนในด้านของการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในป่าของตนเอง โดยรีคอฟจะเข้าไปช่วยจัดสรรระบบให้มีการเก็บข้อมูล แล้วนำข้อมูลมาทำเป็นแผนการจัดการป่าให้เหมาะสมและสอดคล้องต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

เนื่องจากปัจจุบัน โลกของเรากำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือโลกเดือด นำไปสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศของเราเสียสมดุลจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนรุนแรง ทรัพยากรพืชและสัตว์ต่าง ๆ ลดปริมาณลงไปมาก บางชนิดถึงขั้นเสี่ยงสูญพันธุ์ ส่งผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้าง โดยเฉพาะคนในชุมชนที่ดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาป่าไม้ ไม่ว่าจะในฐานะแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร หรือแหล่งหารายได้

รีคอฟ ปลุกพลังป่าชุมชน ส่งเสริมคนในพื้นที่เข้าใจป่า รับมือโลกรวน

นอกจากนี้ พื้นที่ป่าไม้ไทยกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเป้าหมายที่ไทยตั้งไว้ว่าจะเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ แต่ปัจจุบันเรายังไม่สามารถทำได้ตามเป้า หนึ่งในสาเหตุของปัญหาคือ ชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดป่ายังมีบทบาทที่จำกัดในการมีส่วนร่วมเข้าดูแลและจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

อีกทั้งยังไม่ได้รับการสนับสนุนเพียงพอ เนื่องจากป่าชุมชน ถือว่าเป็นด่านหน้าในการปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ป่าหลากหลายชนิด แต่ทุกวันนี้ ชุมชนไม่มีกรรมสิทธิ์มากพอที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน

และถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562จะกำหนดให้ป่าชุมชนทำแผนการจัดการป่าชุมชนเพื่อประกอบการจดทะเบียนป่าชุมชน รวมถึงต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนโดยปรับปรุงแผนการจัดการป่าชุมชนทุก 5 ปีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ แต่ชุมชนยังพบความท้าทายในการออกแบบแผนตามบริบทและการนำไปปฏิบัติจริง

รีคอฟ ปลุกพลังป่าชุมชน ส่งเสริมคนในพื้นที่เข้าใจป่า รับมือโลกรวน อีกปัญหาหนึ่งที่ทีมรีคอฟพบ คือ ป่าชุมชนจำนวนมากยังขาดความรู้และทักษะในการเก็บข้อมูลทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นระบบ เช่น การจำแนกชนิดพันธุ์พืช และสัตว์ที่พบเป็นกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงทรัพยากรที่มีค่าหรือหายาก การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณของทรัพยากรในป่า

นอกจากนี้ ชุมชนจำเป็นต้องมีทักษะในการประเมินสถานภาพของป่าและทรัพยากรที่มี รวมถึงวิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพยากรและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลต่อป่าในทุกๆด้าน หากชุมชนทำได้ จะเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การเข้าถึงและพัฒนาป่าชุมชนให้มีประสิทธิภาพและความยั่งยืน

รีคอฟ ปลุกพลังป่าชุมชน ส่งเสริมคนในพื้นที่เข้าใจป่า รับมือโลกรวน ด้วยเหตุนี้ รีคอฟจึงได้ริเริ่มกระบวนการ เข้าไปช่วยพัฒนาศักยภาพนักจัดการป่าไม้ภาคพลเมือง ให้ชุมชนมีความรู้ ทักษะ และเครื่องมือที่จำเป็นต่อชุมชนในการดำเนินการดังกล่าว มุ่งเน้นไปที่การทำจริงและการมีส่วนร่วม

โดยรีคอฟและสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอนประเทศไทย จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง คอยให้คำปรึกษาตลอดกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การเก็บข้อมูลชุมชนเพื่อเข้าใจบริบทความต้องการในการใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติ ต่อด้วยกระบวนการเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ไปจนถึงนำข้อมูลออกมาจัดทำเป็นแผนการจัดการป่าอย่างยั่งยืน เพื่อให้นำไปใช้ได้จริงในวาระต่อไป

กระบวนการพัฒนาศักยภาพนักจัดการป่าไม้ภาคพลเมืองครั้งนี้ เริ่มต้นขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 และได้เสร็จสิ้นแล้วในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ผลคือประสบความสำเร็จ สร้างนักจัดการป่าไม้ภาคพลเมืองรุ่นแรกได้ 53 รายจากป่านำร่อง 28 แห่ง ใน 10 จังหวัดทั่วไทย

รีคอฟ ปลุกพลังป่าชุมชน ส่งเสริมคนในพื้นที่เข้าใจป่า รับมือโลกรวน อย่างไรก็ตาม รีคอฟ ไม่ได้หวังเพียงแต่ว่าชุมชนจะได้ประโยชน์เพียงเท่านั้น แนวทางการทำงานนี้สามารถนำไปเรียนรู้และทำงานร่วมกันต่อไปได้ โดยได้เชิญตัวแทนจากภาครัฐ เช่น กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และองค์กรภาคประชาสังคม เข้าร่วมหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างนักจัดการป่าไม้ เพื่อให้ป่าไม้ไทยมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น โดยมาจากความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น

related