SHORT CUT
น้ำจืดทั่วโลกกำลังลดลง! ภาพถ่ายดาวเทียมจากนาซา เผยว่า ปริมาณน้ำจืดบนโลก กำลังลดลงอย่างกระทันหัน อันเป็นผลมาจากภัยแล้ง และการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกษตร
ภาพถ่ายดาวเทียมของ NASA-German ได้เผยการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำจืดทั่วโลก ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งที่ปีนี้เราพบว่า ปริมาณน้ำจืดทั่วโลกกำลังลดลงกระทันหัน โดยลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2014 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลตั้งแต่ปี 2015 – 2023 เผยว่า ปริมาณน้ำจืดโดยเฉลี่ยที่กักเก็บทั้งบนบกและในผิวดิน เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำ รวมถึง น้ำในชั้นหินใต้ดิน มีปริมาณรวมกันอยู่ที่ 1,200 ลูกบาศก์กิโลเมตร ต่ำกว่าระดับเฉลี่ยก่อนหน้า ในช่วงปี 2002 – 2014
น้ำจืดหายไป เนื่องจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ควบคู่กับไปกับการขยายตัวของเกษตรกรรมชลประทาน ฟาร์มและเมืองต่าง ๆ พึ่งพาน้ำใต้ดินมากขึ้น อันส่งผลให้วงจรแหล่งน้ำใต้ดินผันผวน มีความต้องการใช้น้ำมากกว่า การเติมน้ำด้วยธรรมชาติ ที่ฝนและหิมะก็ไม่สามารถเติมน้ำจืดให้มนุษย์ได้ทัน
เมื่อแหล่งน้ำลดลง อาจนำไปสู่ความอดอยาก ความขัดแย้ง ความยากจน และโรคภัยที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อคนบางกลุ่มอาจหันไปพึ่งพาน้ำที่มีการปนเปื้อนแทน ตามรายงานของสหประชาชาติ ที่ตีพิมพ์ในปี 2024
นักวิจัยได้วิเคราะห์การลดลงฉับพลันของน้ำจืด โดยสังเกตจากดาวเทียม Gravity Recovery and Climate Experiment (GRACE) ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์การบินและอวกาศเยอรมัน ซึ่งเริ่มโคจรเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2002 – เดือนตุลาคม 2017 หลังจากนั้น จึงได้ส่งดาวเทียมตัวใหม่ (GRACE-Follow On) ขึ้นไปเก็บข้อมูลต่อ ในเดือนพฤษภาคม 2018
การลดลงของน้ำจืด เป็นผลมาจากภัยแล้งครั้งใหญ่ ที่ก่อตัวและลุกลามไปทั่วโลก อุณหภูมิของมหาสมุทรอุ่นขึ้น โดยเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน เมื่อปลายปี 2014-2016 นอกจากนี้ปรากฎการณ์เอลนีโญยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเอลนีโญจะจบลง แต่น้ำจืดทั่วโลกยังคงไม่สามารถฟื้นตัวได้ แม้ว่าภาวะโลกร้อนจะทำให้เกิดฝนตกหนักได้มากขึ้นในบางพื้นที่ แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม ปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้น้ำติดอยู่ในชั้นบรรยากาศในรูปแบบของไอน้ำมากขึ้น ทำให้เกิดสภาวะแห้งแล้ง
สุดท้ายนี้ เรายังคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด นักวิทย์เผื่อใจไว้ว่า สภาพอากาศในปัจจุบันมีความผันผวน ไม่แน่ การวัดและแบบจำลองอาจผิดพลาดได้ แต่ก็หวังว่า ปริมาณน้ำจะกลับมา เพื่อความหวังในการฟื้นฟูน้ำจืด ท่ามกลางยุคสมัยที่เราเจอสภาพอากาศที่ร้อนทีสุด เท่าที่มนุษย์เคยเผชิญมา
ที่มาข้อมูล