svasdssvasds

ไทยปรับ “มาตรฐานปล่อยน้ำเสีย” ใหม่คุมเข้มโรงงาน 68 ประเภท-บ่อสัตว์น้ำจืด

ไทยปรับ “มาตรฐานปล่อยน้ำเสีย” ใหม่คุมเข้มโรงงาน 68 ประเภท-บ่อสัตว์น้ำจืด

คณะกรรมการควบคุมมลพิษ เห็นชอบ ประกาศ ทส. เพื่อควบคุมน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจืด - โรงงานที่มีจำนวนคนงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไปด้วย เพื่อเป็นการควบคุมการปล่อยน้ำทิ้งจากโรงงานทุกประเภท

SHORT CUT

  • น้ำเสียในประเทศไทยส่วนหนึ่งมาจากโรงงานอุตสาหกรรม และวงการปศุสัตว์ ประมง จึงทำให้ต้องมีมาตรฐานในการควบคุมอุตสาหกรรมเหล่านี้
  • ล่าสุด คณะกรรมการควบคุมมลพิษ เห็นชอบ ประกาศ ทส. เพื่อควบคุมน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจืด - โรงงานที่มีจำนวนคนงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป
  • มีการปรับปรุงในประเด็นคำนิยามประเภทและขนาดของบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด พารามิเตอร์และค่ามาตรฐานควบคุม วิธีการตรวจสอบค่ามาตรฐาน

คณะกรรมการควบคุมมลพิษ เห็นชอบ ประกาศ ทส. เพื่อควบคุมน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจืด - โรงงานที่มีจำนวนคนงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไปด้วย เพื่อเป็นการควบคุมการปล่อยน้ำทิ้งจากโรงงานทุกประเภท

ปัญหาน้ำเสียในประเทศไทยส่วนหนึ่งมาจากโรงงานอุตสาหกรรม และวงการปศุสัตว์ ประมง จึงทำให้ต้องมีมาตรฐานในการควบคุมอุตสาหกรรมเหล่านี้ ล่าสุด นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมมลพิษ (กก.คพ.) ครั้งที่ 5/2567 ที่ผ่านมาได้เห็นชอบการปรับปรุงมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ซึ่งมีการปรับปรุงในประเด็นคำนิยามประเภทและขนาดของบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด พารามิเตอร์และค่ามาตรฐานควบคุม วิธีการตรวจสอบค่ามาตรฐาน

ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันผลกระทบต่อแหล่งน้ำและสัตว์น้ำซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และได้เห็นชอบการปรับปรุงการกำหนดประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม ที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 โดยกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะที่มีน้ำเสียจากกระบวนการผลิตรวม 68 ประเภท และรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทหรือชนิดของโรงงานที่มีจำนวนคนงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไปด้วย เพื่อเป็นการควบคุมการปล่อยน้ำทิ้งจากโรงงานทุกประเภท

นางสาวปรีญาพร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในที่ประชุมได้มีการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2570) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้มาตั้งแต่ปี 2565 โดยมีผลการดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่การจัดการขยะที่ต้นทาง อาทิ กำหนดระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางการส่งเสริมให้ผู้ผลิตปรับเปลี่ยนและเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ของตนเองตามหลักการ EPR การออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ไทยปรับ “มาตรฐานปล่อยน้ำเสีย” ใหม่คุมเข้มโรงงาน 68 ประเภท-บ่อสัตว์น้ำจืด

อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพระบบกำจัดขยะ อาทิ กำหนดแนวทางการยกระดับสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างไม่ถูกต้องทั่วประเทศ ส่งเสริมให้เอกชนร่วมลงทุนในการกำจัดขยะ การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรม

สำหรับการพัฒนาเครื่องมือและกลไกที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการขยะทุกประเภทที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนากฎหมายการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน กฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แนวทางการควบคุมกำกับกิจการสะสมวัสดุหรือสิ่งของที่ชำรุดใช้แล้ว หรือเหลือใช้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related