svasdssvasds

โลกกำลังหยุดฟื้นฟูตัวเอง ดิน-น้ำ-ป่า แทบไม่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว

โลกกำลังหยุดฟื้นฟูตัวเอง ดิน-น้ำ-ป่า แทบไม่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว

ผลวิจัยชี้ ปี 2023 แหล่งธรรมชาติบนโลกแทบไม่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ หวั่นเป็นสัญญาณอันตรายว่าโลกจะหยุดฟื้นฟูตัวเอง

จากผลการวิจัยของปี 2023 ซึ่งเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา แสดงให้เห็นว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลก แทบจะไม่ถูกดูดซับผ่านกระบวนการธรรมชาติของทั้งผืนดิน ผืนป่า และมหาสมุทรเลย ซึ่งนับเป็นสัญญาณอันตรายที่กำลังบอกมนุษย์ว่า โลกของเราอาจไม่สามารถแบกรับการช่วยฟื้นฟูปัญหาโลกร้อนได้อีกต่อไป

ในช่วง 12,000 ปีที่ผ่านมา สภาพอากาศของโลกมีความสมดุลที่ค่อนข้างเปราะบาง โดยปกติแล้วต้นไม้ในป่าจะต้องช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เช่นเดียวกับผืนดิน และมหาสมุทรซึ่งมีแพลงตอนรวมถึงสัตว์ทะเลหลายชนิด ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์และนำมันลงสู้ก้นลึกของท้องทะเล

แม้ต่อมามนุษย์จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น แต่ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ธรรมชาติดูดซับก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เหมือนโลกที่กำลังเผชิญความเครียด ก็แอบช่วยเหลือเราอยู่เงียบๆ แต่สมดุลดังกล่าวกำลังจะเปลี่ยนไปเนื่องมาจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น

โลกกำลังหยุดฟื้นฟูตัวเอง ดิน-น้ำ-ป่า แทบไม่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว

งานวิจัยระบุว่า เมื่อปีที่แล้ว ต้นไม้และพื้นดินดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศได้น้อยมาก ขณะที่เราได้สูญเสียพื้นที่ป่าสำคัญไปมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งยังยังมีสัญญาณเตือนในทะเล เมื่อธารน้ำแข็งของกรีนแลนด์และแผ่นน้ำแข็งในอาร์กติกกำลังละลายเร็วกว่าที่คาดไว้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระแสน้ำในกระแสกัลฟ์สตรีมและทำให้การดูดซับคาร์บอนในมหาสมุทรช้าลงไปด้วย

โยฮัน ร็อคสตรอม ผู้อำนวยการสถาบัน Potsdam Institute for Climate Impact Research กล่าวว่า เรากำลังเห็นรอยร้าวในการฟื้นตัวของระบบต่างๆของโลก  ระบบนิเวศบนบกกำลังสูญเสียแหล่งกักเก็บคาร์บอนและความสามารถในการดูดซับคาร์บอนฯ ส่วนมหาสมุทรก็แสดงสัญญาณของความไม่มั่นคงด้วยเช่นกัน

“ธรรมชาติได้สร้างสมดุลให้กับการกระทำของมนุษย์มาจนถึงตอนนี้ และมันกำลังจะสิ้นสุดลง”

อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวของการดูดซับคาร์บอนฯ ในปี 2023 อาจเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราว เพราะหากไม่มีแรงกดดันจากภัยแล้งหรือไฟป่า ธรรมชาติก็น่าจะกลับมาดูดซับคาร์บอนฯ ได้อีกครั้ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของระบบนิเวศ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวิกฤตด้านสภาพอากาศ

ที่สำคัญคือ การบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนฯ เป็นศูนย์นั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีธรรมชาติคอยช่วยเหลือ เนื่องจากปัจจุบันเรายังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถกำจัดคาร์บอนฯ ในชั้นบรรยากาศได้ในระดับใหญ่ การพึ่งพาป่าดิบ ทุ่งหญ้า หนองบึง และมหาสมุทรของโลก จึงเป็นทางเลือกเดียวในการดูดซับมลพิษคาร์บอนจากมนุษย์ ซึ่งในปี 2023 มีการปล่อยคาร์บอนฯ เป็นสถิติสูงสุดถึง 37.4 พันล้านตัน 

โลกกำลังหยุดฟื้นฟูตัวเอง ดิน-น้ำ-ป่า แทบไม่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว