SHORT CUT
ป่าไม้ลดลง ทำให้รับมือน้ำท่วมใหญ่ปี2567 ได้กลายเป็นร้อนถกเถียงกันในโลกออนไลน์ บางคนเห็นว่าการที่ป่าลดลงนั่นแหละที่ทำให้น้ำท่วมใหญ่
แต่…บางคนกับเห็นต่างว่า ไม่มีป่า = น้ำป่า ทฤษฎีนี้ไม่เป็นความจริง และเห็นว่าป่าลดไม่ใช่สาเหตุของน้ำท่วม
พาอัปเดตมีพื้นที่ไหนลดลง พื้นที่ไหนเพิ่มขึ้นบ้าง พบว่า ปี 2567 ไทยมีพื้นที่ป่า 101,818,155 ไร่ ปี 2565 มีป่า 102,135,974 ไร่ ปัจจุบันสูญพื้นที่ป่า 317,819 ไร่
น้ำท่วมปี2567 หลายพื้นที่หนักจริง เสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน เศรษฐกิจพังพินาศ เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าสาเหตุที่รุนแรงเพราะโลกรวน ป่าไม้ถูกทำลาย วันนี้ส่องดูชีพจร “ป่าไม้ไทย” ในวันที่น้ำท่วมใหญ่ อึ้ง! ลดลงมากสุดรอบ 10 ปี
ประเด็นเรื่องป่าไม้ลดลง ทำให้รับมือน้ำท่วมใหญ่ปี2567 ของภาคเหนือได้กลายเป็นร้อนถกเถียงกันในโลกออนไลน์ บางคนเห็นว่าการที่ป่าลดลงนั่นแหละที่ทำให้น้ำท่วมใหญ่ แต่…บางคนกับเห็นต่างว่า ไม่มีป่า = น้ำป่า ทฤษฎีนี้ไม่เป็นความจริง และเห็นว่าป่าลดไม่ใช่สาเหตุของน้ำท่วม
หรือว่าเรื่องนี้? การที่ทำให้เกิดน้ำท่วมหนักจะมีหลายปัจจัยกว่าการมีป่า หรือไม่มีป่า การที่ป่าลด หรือไม่ลด หรือจะมีปัจจัยอื่นๆมากกว่านี้! แต่…ไม่ว่าป่าลดลงแล้วรับมือน้ำท่วมไม่ได้จะจริงหรือไม่จริงก็ตาม แต่ที่แน่ๆหลายคนเชื่อว่าการมีป่าไม้ไว้บนโลกใบนี้ให้มากที่สุด น่าจะเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากประโยชน์ของป่าไม้มีมหาศาลแล้ว ยังช่วยดูดซับน้ำ และเป็นรั้วป้องกันน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี
วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาสำรวจดูป่าไม้ในประเทศไทย ว่าอัปเดตมีพื้นที่ไหนลดลง พื้นที่ไหนเพิ่มขึ้นบ้าง โดยข้อมูลจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ระบุว่า
ภาคเหนือ-กลาง ป่าลดฮวบ
ส่วนสาเหตุทำให้ป่าลดลง คือ
นอกจากนี้จะพามาย้อนดูข้อมูลเมื่อปี2565 ไทยมีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,845 คดี มีพื้นที่ถูกบุกรุก 16,176.16 ไร่ โดยมีจำนวนคดีการบุกรุกลดลงจากปี พ.ศ. 2564 แต่มีพื้นที่ที่ถูกบุกรุกเพิ่มขึ้น 982.82 ไร่ การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 625 คดี มีพื้นที่ถูกบุรุก 3,461.36 ไร่ โดยมีจำนวนคดีบุกรุกและพื้นที่ที่มีการบุกรุกเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564
จากการที่ป่าไม้ไทยลดลงอย่างรวดเร็วจึงทำให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) กำหนดให้เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติให้ได้ร้อยละ 33 และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ร้อยละ 12 ของพื้นที่ประเทศภายในปี พ.ศ. 2570
พามาฟังความเห็นจากนักวิชาการเกี่ยวกับมุมมองประเทศไทยป่าไม้ลดลง โดย ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Sonthi Kotchawat" ระบุ ภาคเหนือมีพื้นที่ป่าไม้ในปี 2566 ประมาณ 37,976,519.37 ไร่ หรือ 63.24% ของพื้นที่ภูมิภาค ลดลงจากปี 2565 ถึง 171,143.04 ไร่
“โดยมีการตัดไม้ทำลายป่าเปลี่ยนภูเขามาเป็นพื้นที่เกษตรกรรมปีละเกือบสองแสนไร่ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอุทกภัยและดินถล่มครั้งใหญ่ของ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา ในปี 2567 สาเหตุฝนตกหนักกว่าเดิมแต่พื้นที่ซับน้ำไม่มี นับได้ว่าเป็นฝีมือมนุษย์ทั้งนั้น”
ด้านด้าน ผศ.ดร.สิตางค์ พิลัยหล้า จากภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า ปัญหาน้ำท่วมมีข้อติดขัดอยู่หลายประการ หนึ่งในนั้นคือการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งมีผลกระทบต่อการยึดหน้าดิน
“น้ำท่วมในรอบนี้ไม่ใช่การท่วมแบบปกติ ชาวบ้านจะพูดว่าน้ำที่ไหลมามันขุ่น ไม่ใช่น้ำใส ๆ หรือแม้แต่พี่น้องชาวชาติพันธุ์ก็บอกว่าน้ำมันขุ่น แทบทุกพื้นที่ก็จะบอกกันว่าเป็นไม่มีป่าหรือเปล่า โคลนที่ไหลมาคือถูกกัดเซาะเอาหน้าดินมา จนเราไม่รู้ว่าน้ำท่วมเสร็จรอบนี้ระดับสูงต่ำของพื้นที่จะเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่า”
พร้อมกันนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย โดยระบุว่า ประเทศไทยมีป่าไม้อยู่ประมาณ 101,818,155.76 ไร่ หรือคิดเป็น 31.47% ของพื้นที่ในประเทศ ถือว่าลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี แต่ป่าไม้ที่ประเทศไทยตั้งเป้าเอาไว้คือ 40%
“ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขพื้นป่าไม้ของไทยก็จะผันผวนอยู่ที่ 32-33% ซึ่งข้อมูลจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียรบอกว่าปี 66 ตัวเลขอยู่ที่ 31.47% ดังนั้นโอกาสที่ตัวเลขมันจะไปแตะ 40 แทบไม่มีเลยในช่วงชีวิตเรา มันลดลงเรื่อย ๆ”
ผศ.ดร.สิตางค์ อีกระบุว่า การมีป่าไม้ อย่างน้อยที่สุดช่วยชะลอการไหลของน้ำได้ เมื่อฝนตกลงมา กิ่งก้านสาขาใบไม้ ช่วยลดความแรงของฝนได้ในระดับนึง เมื่อตกลงมาถึงพื้นดิน ราก ก็ช่วยชะลอความเร็วได้ นอกจากนี้ ทั้งรากทั้งใบก็ช่วยดูดซับน้ำได้ ลดได้ทั้งเม็ดฝน ลดได้ทั้งน้ำท่า
“น้ำที่ไหลลงมาโดยไม่มีป่าช่วยชะลอนั้น แรงและเร็วมาก อำนาจการทำลายล้างสูง ยิ่งพื้นดินไม่มีอะไรปกคลุม ยิ่งชะเอาหน้าดินลงมา เห็นได้จากน้ำที่ไหลท่วมในคราวนี้ ไม่ใช่น้ำฝนใสๆ แต่เป็นดินโคลนที่ชะเอาหน้าดินลงมาด้วย แม้ว่าปัจจุบัน ฝนที่ตกจะเกินศักยภาพที่ดินจะอุ้มน้ำไว้ได้ แต่เรื่องการดูดซับน้ำบางส่วนและชะลอความเร็วการไหล เป็นเรื่อง เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องจินตนาการ”
ขณะที่ ดร.เจน ชาญนรงค์ ประธานชมรมผู้รับพระราชทานมูลนิธิอานันทมหิดล และผู้ก่อตั้ง FB Page ฝ่าฝุ่น เผยว่า ดูปริมาณน้ำฝนอย่างเดียวไม่ได้ อีกปัญหาที่เกิดขึ้นคือดินในภาคเหนือสูญเสียประสิทธิภาพในการรับน้ำฝนที่ตกในภาคเหนือถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีผิดปกติเล็กน้องในบางเวลา หรือบางพื้นที่ แต่ปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนคือเรื่องสภาพดิน ในเมื่อฝนตกตามปกติ ทำไมดินถึงถล่มลงมาอย่างหนักหน่วง สิ่งที่ผมอยากชี้ให้เห็นคือเราเผาป่ากันเยอะมาก ปี 2566 เราเผาป่ากันไปทั้งหมด 9 ล้านไร่ ทุกครั้งที่เกิดไฟป่า มันไม่ได้ไหม้แค่ขอนไม้หรือใบไม้ แต่มันเผาไบโอแมสไปด้วย
ดร.เจน ทิ้งท้ายว่า หากไม่อยากเจอปัญหาน้ำท่วม ดินถล่มแบบนี้อีก ควรมีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งย้ำว่าไม่ควรไปยุ่งกับป่าไม้ หรือลักลอบเผาอีก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
น้ำท่วมภาคเหนือ 2567 อาจไม่รุนแรงถึงเพียงนี้ หากเรามี "ป่าไม้"...?
https://www.springnews.co.th/keep-the-world/environment/849988
น้ำท่วมปี’67 ทำเกิดขยะมหาศาล แม่สายขยะรอกำจัดเฉียด 6 หมื่นตัน