คาร์บอนต่ำ เราทำได้ เชฟรอนแชร์ไอเดีย ทำยังไง บริษัทพลังงานจึงประสบความสำเร็จลดคาร์บอนได้ 15% ภายใน 2 ปี มั่นใจว่า ก๊าซเป็นพลังงานเปลี่ยนผ่านที่จะอยู่กับประเทศไทยอีกนาน
บริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ผู้ผลิตพลังงานระดับโลก เชื่อมั่นว่า ก๊าซธรรมชาติ จะเป็นพลังงานเปลี่ยนผ่านที่อยู่คู่กับประเทศไทยอีกนาน และเชฟรอนมีวิธีทำให้การผลิตพลังงานของเชฟรอนปล่อยคาร์บอนต่ำ ช่วยลดโลกร้อนได้
คุณปัณวรรธ์ นิลกิจศรานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายวิศวกรรมโครงสร้าง บริษัท เชฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ได้แชร์ไอเดียการบริหารความยั่งยืนภายในบริษัทพลังงาน บนเวทีสัมมนา POSTTODAY Thailand Smart City 2025 โดยในช่วงแรกของการแชร์ไอเดีย คุณปัณวรรธ์ เล่าว่า
บริษัทเชฟรอน อยู่คู่กับประเทศไทยมา 60 ปีแล้ว เป็นผู้บุกเบิก Oil and Gas ในประเทศไทย โดยในการผลิตต่อวัน ไม่ว่าจะก๊าซหรือน้ำมัน เชฟรอนสามารถผลิตได้ 30,000 บาเรลต่อวัน ก๊าซที่ส่งไปยัง Power plant เป็นส่วนสำคัญในการผลิตไฟฟ้า และช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และที่ภูมิใจอีกอย่างหนึ่งคือ ถึงแม้เชฟรอนจะเป็นบริษัทต่างชาติ แต่พนักงานของเรา 99% เป็นคนไทย
คุณปัณวรรธ์ เล่าว่า การผลิตก๊าซเป็นเชื้อเพลิง การนำก๊าซไปเผา แน่นอนว่า กระบวนการมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งถ้าถามว่า บทบาทบริษัท Oil and Gas fossil fuel จะลดคาร์บอนได้อย่างไร
ผมมองว่า เรื่องพลังงานเราไม่สามารถมองได้มิติใดมิติหนึ่ง ผมว่าต้องมองเป็น 3 มิติ ซึ่งผมเรียกมันว่า Energy Trilemma เราต้องมองอะไรบ้าง คือ
สิ่งที่เหมาะสมคือ 3 มิตินี้ต้องบาลานซ์กัน เพราะประเทศต้องการความมั่นคงพลังงาน เราไม่อยากให้ไฟฟ้าดับ ไม่อยากให้โรงพยาบาลไม่มีไฟฟ้าใช้ยามฉุกเฉิน เศรษฐกิจของประเทศต้องการราคาพลังงานที่เหมาะสม และสิ่งแวดล้อมต้องการพลังงานที่สะอาด ปล่อยคาร์บอนในระดับต่ำ
ปัญหาคือ 3 มิตินี้ ไม่มาพร้อมกัน อย่างมาก เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำให้เกิดได้ 2 ใน 3 หรือแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น แต่ไม่สามารถทำให้ 3 มิตินี้เกิดขึ้นพร้อมกันได้ ดังนั้น สิ่งที่บริษัทพลังงานและผู้เกี่ยวข้องต้องช่วยกันคือใช้เทคโนโลยี ทำให้ 3 มิตินี้ เข้าใกล้กันมากขึ้น
อยากให้ลองคิดภาพตาม หากปี 2040 หรืออีก 26 ปีต่อจากนี้ คุณคิดว่า น้ำมันและก๊าซ เชื้อเพลิงฟอสซิล จะเป็นอย่างไร หลายคนอาจคิดว่า มันอาจจะหมดไป แต่เราคาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2040 ความต้องการน้ำมันและก๊าซ ยังมากกว่า การผลิต และอาจมากกว่าในปัจจุบัน สาเหตุเพราะว่า ความต้องการยังสูงอยู่ ประชากรโลกจะเพิ่มมากขึ้นจาก 8,000 ล้านคน เป็น 9,000 ล้านคน
และที่สำคัญอยากให้โฟกัสสีแดง นั่นคือก๊าซ ในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ก๊าซถูกระบุว่าเป็น Energy Transition เพราะถ้าเทียบกันต่อหนึ่งหน่วยพลังงาน การเผาถ่านหิน เทียบกับก๊าซ ก๊าซปล่อย Co2 น้อยกว่าประมาณ 30% แถมสร้างราคาที่เหมาะสม มีความมั่นคง เหมาะสมกับประเทศไทย ตอนนี้เราพูดว่า Oil and Gas จะอยู่อีกนาน แต่ผมมองว่า ในอนาคต ก๊าซจะเป็น Energy Mix (พลังงานผสมผสาน) ที่จะอยู่นานเช่นเดียวกัน
ทางเชฟรอน มีแนวทางความยั่งยืนที่ขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนแรก พลังงานเดิมที่เรามีอย่าง Oil and Gas เราโฟกัสให้กระบวนการผลิต ปล่อยคาร์บอนออกมาให้ต่ำที่สุด ให้ได้ 40% ในปี 2028
อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ เชฟรอนได้สร้างบริษัทใหม่ขึ้นมา เรีกยว่า Chevron new energies เป็นกลุ่มพลังงานใหม่ที่ปล่อย Co2 ในระดับต่ำอยู่แล้ว เช่น ไฮโดรเจน, Carbon capture and Storage (CCS), Renewable Fuel ซึ่งมีหลายโครงการที่ได้เริ่มทำไปแล้ว โดยมองว่าเป็นการลงทุนระยะยาว เรามีเงินลงทุน 10 Billion dollar ในการพัฒนาพลังงานใหม่ รวมไปถึงลด Co2 ใน Oil and Gas ตั้งแต่ปี 2021-2028
สำหรับในประเทศไทย เราโฟกัส 2 ประเด็นเพื่อมุ่งสู่คาร์บอนต่ำโดยเฉพาะคือ
ประเด็นแรก“คน” คนของเราต้องมีมายเซ็ทที่ดี แต่ก่อนเรื่องการลดคาร์บอน เราคิดว่าเป็นเรื่องของโปรเจกส์ใหญ่ เรื่องของคนบริหาร ผู้คิดโปรเจกส์ หรือเป็นเรื่องของอนาคต แต่เราต้องเปลี่ยนใหม่ คาร์บอนต่ำเป็นเรื่องของทุกคน ทำเล็ก ๆ แต่ต่อเนื่อง และเป็นเรื่องของปัจจุบัน
เชฟรอนมีแคมเปญสร้างการตระหนักรู้ให้กับคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการออกจดหมายทุก ๆ 2 เดือน อัปเดตเรื่องคาร์บอน ว่าเราช่วยกันลดไปได้เท่าไหร่ เรามีทีมที่เรียกว่า Green Squad คือเอาทีมจากแต่ละแผนกมาคุยกันมาแชร์กัน และนำความรู้ที่ได้ไปแชร์ต่อให้กับคนในแผนกของตนเอง
ประเด็นที่สองคือ เทคโนโลยี ก็สำคัญ ก่อนหน้านี้เราใช้เวลาหลายปีในการทำ Carbon Footprint แต่ไม่ใช่ทำเพื่อรีพอร์ต แต่ทำเพื่อหาต้นตอของคาร์บอนว่ามันมาจากส่วนไหน ซึ่งเราได้ทำ Dashboard online ไว้
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ Facility lifecycle management คิดตั้งแต่ดีไซน์ มีการ Reuse อุปกรณ์ขนาดใหญ่ได้ง่าย เหมือนเราใช้ถุงผ้า ซึ่งถ้าอยากรู้ว่าง่ายแบบไหน ชมเทปบันทึกภาพการสัมมนาของคุณปัณวรรธ์ ได้ที่วิดีโอที่ขึ้นด้านล่างนี้ >>>