อุตสหกรรมยางพาราไทยรักษ์โลกได้! Keep The World ชวนรู้จัก ยางแผ่นรมควัน การแปรรูปน้ำยางสดแบบใหม่ที่เก็บรักษาได้นานขึ้น เพิ่มรายได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ล้อรถ ได้ถูกวิวัฒนาการมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีอารยธรรม ตั้งแต่ล้อไม้ ล้อหิน มาจนถึงล้อยางในปัจจุบัน ซึ่งยุคสมัยใหม่ มันจำเป็นกับเรามากในการเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ เพราะล้อยางแทบจะอยู่ในทุก ๆ ยานพาหนะทั้งหมดที่มีบนโลก ไม่ว่าจะจักรยาน รถจักรยาน รถยนต์ สกู๊ตเตอร์ รถบรรทุก ไปจนถึง เครื่องบิน
แน่นอนว่า ยางพาราที่ใช้ผลิตล้อรถ เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมทำเงินชั้นดีของประเทศไทยเราด้วย
ในปี 2565 ไทยเป็นผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก โดยตลาดการส่งออกสำคัญ คือ จีน มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
อุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป หรือยางพาราขั้นกลาง สามารถสร้างมูลค่าตลาดได้มากถึง 3.4 แสนล้านบาท จากการวิเคราะห์ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า อุตสาหกรรมยางพาราปี 2566-2568 มีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งในด้านผลผลิตและความต้องการใช้ เนื่องจากภาวะฟื้นตัวของอุตสาหกรรมขั้นปลายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อาทิ กลุ่มยานยนต์ ถุงมือยาง อุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น
กว่าร้อยละ 90 ของการผลิตยางธรรมชาติของประเทศไทยมาจากเกษตรกรรายย่อย ซึ่งยางพารามีผลต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยกว่า 1.6 ล้านคนทั่วประเทศ และความเป็นอยู่ของเกษตรกรเหล่านี้ยังขึ้นอยู่กับราคายางที่ผันผวนตามราคาน้ำมัน
ด้วยเหตุนี้ภาครัฐจังได้สนับสนุนให้มีการแปรรูปน้ำยางสด ให้เป็นยางแผ่นรมควันที่สามารถเก็บรักษาได้นาน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ยางพาราจะเป็นวัตถุดิบที่เราได้จากธรรมชาติ ดีต่อสิ่งแวดล้อมเพราะสามารถย่อยสลายตัวเองได้ภายใน 2-3 ปี และ กระบวนการผลิตยางแผ่นรมควัน มักใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง มีต้นทุนสูง และบางครั้งยางที่ได้ก็ไม่ได้คุณภาพตามต้องการ แถมยังปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมักสร้างกลิ่นเหม็นและน้ำเสียสู่ชุมชนโดยรอบด้วย
ด้วยเหตุนี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และ สถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเข้ามาช่วยส่งเสริมให้เกษตรกร ณ สหกรณ์บ้านทรายขาวและสหกรณ์ยูงทอง จ.สงขลา เป็นต้นแบบในการผลิตยางแผ่นรมควันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ด้วยการนำระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์มาติดตั้งให้ เพื่อลดค่าไฟในการผลิต และพัฒนาเทคนิคการหมุนเวียนน้ำทิ้ง มาบำบัดและหมักในระบบปิด ให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งช่วยขจัดกลิ่นรบกวน และเกษตรกรยังสามารถนำก๊าซชีวภาพที่ได้นี้ไปใช้ในการรมควันยางแผ่นร่วมกับฟืน ทำให้ลดต้นทุนการใช้ไม้ฟืนและลดก๊าซเรือนกระจกไปพร้อมกัน นอกจากนี้ ก็ได้มีการนำน้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิต ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหาร แปลงเป็นปุ๋ยให้กับสวนยางพาราโดยรอบ
โครงการนี้ดำเนินมาแล้ว 7 ปี ผลที่ได้คือ
นี่เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยตอบโจทย์ทั้งคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ดีขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นแนวทางที่ช่วยให้อุตสาหกรรมยางไทยรักษ์โลกไปด้วยกันได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง