svasdssvasds

กินอย่างไรไม่ให้เกิด Food waste? ชวนอ่านเรื่อง "กิน ๆ" ในมุมมองของ จูดี้ - แพร

กินอย่างไรไม่ให้เกิด Food waste? ชวนอ่านเรื่อง "กิน ๆ" ในมุมมองของ จูดี้ - แพร

มากินให้หมดจานกันเถอะ! ชวนอ่านเรื่อง "กิน ๆ" ในมุมมองของ จูดี้ - แพรมากินให้หมดจานกันเถอะ! ชวนอ่านเรื่อง "กิน ๆ" ในมุมมองของ จูดี้ - แพร

รู้หรือไม่ว่า ในแต่ละปี ประเทศไทยมีขยะอาหาร หรือ Food waste มากถึง 12 ล้านตันต่อปี ในขณะที่ ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า เราทุกคนสร้างขยะอาหารเฉลี่ย 254 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งตัวเลขนี้ อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมเล็ก ๆ อย่างการกินไม่หมดจาน ทิ้งเอาไว้นานจนเสีย หรือมัวแต่ทำงานจนลืมบริโภคอาหาร ข้าว หรือแกงที่เราแช่เอาไว้ในตู้เย็น

ด้วยเหตุฉะนี้ หรือการกระทำเล็ก ๆ อย่าง “กินหมดจาน” ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นต้นทางของขยะเหล่านี้ คือวิธีที่พอจะช่วยทุเลาปัญหา Food waste ได้ แต่ในขณะเดียวกัน หากเราลองนึกดูให้ดี การเริ่มต้นที่ตัวเอง อย่างเช่น การคัดสรรอาหารที่ต้องการกินจริง ๆ กินอาหารให้หมดจาน หรือแม้แต่นำขยะอาหารเหล่านี้ไปแปรรูปเป็นสิ่งอื่น เพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้ตัวเลขขยะอาหารหลายสิบล้านตันของประเทศไทยลดลง

SPRiNG ชวนฟังแนวคิดเรื่องการกิน กับ “นักกิน” ตัวแม่ ตัวมัม “จูดี้ จารุกิตติ์” อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง และอดีตพิธีกร ที่ปัจจุบันผันตัวมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์อย่าง “แพร-พิมพ์ลดา” จาก Pear aRoundP หรือ Pear is Hungry ที่ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ กินดีเริ่มที่ กินหมดจาน ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักข่าว Today

กินอย่างไรไม่ให้เกิด Food waste? ชวนอ่านเรื่อง \"กิน ๆ\" ในมุมมองของ จูดี้ - แพร

เปิบมื้ออาหารฉบับคนกรุงฯ - ต่างจังหวัด

พื้นที่ ทรัพยากร และการเข้าถึงวัตถุดิบ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่สามารถกำหนดมื้ออาหารของแต่ละบ้านได้ คนที่อาศัยอยู่ในสังคมเมือง และสังคมชนบท การจะเข้าถึงอาหาร หรือการเลือกทำอาหาร หรือแม้แต่วิธีการจัดการวัตถุดิบที่มีก็มีความแตกต่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น “แกงโฮะ” เมนูสุดล๊ำขนาด ซึ่งเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากในภาคเหนือ ก็เป็นแกงที่เกิดขึ้นจากแกงเก่า หรือแกงเหลือ ที่ถูกนำมาปรุงใหม่ จนมีรสชาตินัว น้ำลายสอ แถมกลิ่นรัญจวนลอยไป 7 บ้าน 8 บ้าน

โดยคุณแพร ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสังคมเมือง ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ว่า เธอเกิดมาในครอบครัวใหญ่ อาศัยอยู่รวมกันเป็นกงสี ดังนั้น เวลากินอาหารแต่ละครั้ง ก็จะมานั่งร่วมโต๊ะอาหารกันพร้อมหน้าพร้อมตา เมนูอาหารละลานตาก็จะถูกเสิร์ฟบนโต๊ะ ใครใคร่กินอะไรก็ตักคีบเอาได้ตามสะดวกมือ (และปาก)

กินอย่างไรไม่ให้เกิด Food waste? ชวนอ่านเรื่อง \"กิน ๆ\" ในมุมมองของ จูดี้ - แพร

ในขณะที่ จูดี้ ซึ่งเกิดและเติบโตมาในครอบครัวชนบท จังหวัดพิษณุโลก ก็จะมีวิธีการกิน หรือมีวิธีจัดการกับวัตถุดิบแตกต่างจากคนที่เติบโตมาในสังคมเมือง โดย คุณจูดี้ เล่าว่า ช่วงชีวิตที่เติบโตมาถูกจำกัดการกินด้วย ‘เงิน’ กล่าวคือ ในแต่ละวันต้องมาดูว่ามีเงินเท่าไร จะซื้อวัตถุดิบอะไรเพื่อไปทำกับข้าว และเมนูนั้นต้องเป็นเมนูที่สามารถกินด้วยกันได้ทั้งบ้านเพื่อให้คุ้มค่ามากที่สุด

“สมมติหาปลามาได้ 1 ตัว ก็ต้องคิดว่าจะทำเมนูอะไร แกงปลาช่อนหรืออะไรก็ว่าไป แต่การกินคือต้องเน้นข้าวเยอะไว้ก่อน เพราะบางที 1 เมนู เราแชร์ร่วมกินกันคนในบ้าน 5 คน” คุณ จูดี้ กล่าว

 

กินอย่างไรไม่ให้เกิด Food waste? ชวนอ่านเรื่อง \"กิน ๆ\" ในมุมมองของ จูดี้ - แพร

นอกจากนี้ คุณจูดี้ ยังแชร์ประสบการณ์ในวัยเด็กให้ฟังอีกด้วยว่า ใครก็ตามที่เป็นลูกคนเล็ก มักจะถูกหลอกให้กินข้าวเหลือ (ตั้งแต่เช้า) อยู่เสมอ เพราะกินแล้วจะฉลาด หรือแม้แต่เรื่องเล่าที่บอกว่า ใครที่กินขั้วมะเขือจะคิดเลขเร็ว

อันที่จริงต้องบอกว่าเรื่องเล่าแนวนี้ ใคร ๆ ก็ล้วนเคยเจอกันมาก่อน แต่พอมองย้อนกลับไป วิธีการ หรือพฤติกรรมเหล่านี้ ก็สามารถช่วยให้เราบริโภคอาหาร หรือวัตถุดิบได้อย่างคุ้มค่า และไม่กลายเป็นขยะอาหารได้เหมือนกัน

 

“กินดี” ในความหมายของ จูดี้-แพร

นิยามของคำว่า “กินดี” ของคุณคืออะไร กินเพื่อให้ท้องอิ่ม เสาะแสวงหาของอร่อย ๆ อยู่เสมอ หรือกินอาหารที่มีประโยชน์ ใครก็ตามที่เป็นแฟนคลับ หรือติดตามคุณจูดี้ และคุณแพรอยู่แล้ว ก็จะเห็นว่าทั้งสองเป็นนักกินตัวยง ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่ากินเยอะ แต่กินอย่างไรให้ไม่สิ้นเปลือง เปลืองทั้งทรัพยากร หรือแม้กระทั่งเงินในกระเป๋า นี่คือนิยามคำว่า “กินดี” ของทั้งสองคน

กินอย่างไรไม่ให้เกิด Food waste? ชวนอ่านเรื่อง \"กิน ๆ\" ในมุมมองของ จูดี้ - แพร

ในกรณีของคุณแพร คนอาจรู้จักเธอผ่านงานพิธีกร หรือบทบาทคอนเทนท์ครีเอเตอร์จาก “Pear is Hungy” เพจที่มักหยิบเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารมาเล่าสู่กันฟังอยู่เสมอ แถมล่าสุด คุณแพรได้เปิดตัว aRoudP แพลตฟอร์มที่เชื่อว่า ทุกคนสามารถเป็น change maker ช่วยให้โลกให้ดีขึ้นได้ในแบบของตัวเอง

กินอย่างไรไม่ให้เกิด Food waste? ชวนอ่านเรื่อง \"กิน ๆ\" ในมุมมองของ จูดี้ - แพร

ซึ่งล่าสุด ได้ผุดโปรเจกต์ที่ต่อยอดมาจากแคมเปญกินหมดจาน โปรเจกต์ Restaurant Makeover ซึ่งจัดทำ กินหมดจาน Guidebook คู่มือแนะนำร้านอาหารอร่อยจาก KOLs 50 คน และเป็นร้านที่มีการจัดการขยะอาหารที่ดี จากการเข้าร่วม

“การกินดีในมุมมองของเรามีอยู่ 2 แบบ อย่างแรกคือ กินที่ดีต่อตัวเรา กินอะไรก็ได้ที่หลากหลาย และส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย อย่างที่สองคือ กินที่ดีต่อโลก ใบนี้ ซึ่งนั่นก็คือการกินหมดจาน”

ขณะที่ ตัวแม่ตัวมัม อย่าง คุณจูดี้ ซึ่งปรากฎตัวอยู่ในคลิปของพี่จอง-คัลแลน อยู่บ่อยครั้ง และทุกครั้งเราจะเห็นคุณจูดี้ ออกตามล่าหาวัตถุดิบด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะไปสับอ้อย หรือแม้แต่เดินตลาดไปตามหาของมาประกอบเป็นอาหารเย็น ในฐานะอินฟลูเอนเซอร์ คุณจูดี้มองว่า รายการอาหารในโลกออนไลน์ มีอยู่น้อยนิดมากที่โชว์ให้เห็นว่ากินหมดนะ แต่ส่วนใหญ่จะโชว์ความเยอะ อลังการ

“ก็อยากให้อินฟลูเอนเซอร์ช่วยกันเผยคลิปให้คุณผู้ชมเห็นหน่อยว่า เวลาเราไปทำคลิปทำอาหาร เรากินหมดจาน เพื่อสร้างการรับรู้ เพราะทุกวันนี้คนเห็นว่าอินฟลูฯ ทานเหลือตั้งเยอะแยะไม่เห็นเป็นอะไรเลย”

แต่...

ทางฝั่งผู้บริโภคเองก็ใช่ว่าจะปฏิบัติตามอินฟลูฯ ไปเสียทุกเรื่อง อาหารการกินในแต่ละมื้อ เราสามารถจัดสรรได้เองว่าจะกินอะไร กินแค่ไหน ถ้าเราคะเนดี ๆ และทุกคนร่วมมือกัน ขยะอาหารหลายสิบล้านตันจะลดลงอย่างแน่นอน

“เพียงแค่คุณก้าวออกจากบ้าน ไปซูเปอร์มาร์เก็ต หรือไปตลาดสด อย่าซื้อเผื่อ กินแต่พอดี สิ่งที่ตามมาคือ ไม่มีขยะ และเมื่อร่างกายอิ่ม อาหารเหล่านั้นก็จะถูกนำไปหล่อเลี้ยงอย่างคุ้มค่า” คุณจูดี้ กล่าว

แต่...

“ทุกอย่างมันเริ่มต้นจากเราได้ แต่ที่สุดแล้ว มันไม่ใช่แค่ตัวเรา มันต้องมีภาคส่วนอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น การที่เราเริ่มต้นลงมือทำไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีความหมาย แต่มันเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อส่งเสียงไปยังผู้ที่ออกกฎ และสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้” คุณแพร กล่าวทิ้งท้าย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related