ใครกำลังวุ่นอยู่กับการคัดแยก หรือจัดการขยะอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นขยะพลาสติก หรือแม้แต่อาหารแสนอร่อยที่สุดท้ายก็กลายเป็นขยะอาหาร หรือ food waste เร็ว ๆ นี้ SPRiNG ได้มีโอกาสได้เดินเยี่ยมชมงาน SX Expo 2024 บทความชิ้นนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปดูกันไว้มีอะไรบ้าง
ก่อนจะไปดูนวัตกรรมเจ๋ง ๆ มาสำรวจกันหน่อยดีกว่าว่าเราสร้างขยะกันมากแค่ไหนในแต่ละปีเพื่อเป็นการย้ำเตือนความจำ อย่างแรกคือขยะพลาสติก รู้หรือไม่ว่า ในปี 2566 ประเทศไทยสร้างขยะพลาสติกกันมากถึง 1.2 ล้านตันต่อปี
อย่างที่สองคือขยะอาหาร (food waste) รู้หรือไม่ว่าคนไทยผลิตขยะอาหารคนละ 146กิโลกรัมต่อปี รวม ๆ แล้วเรามีอาหารส่วนเกินอีกประมาณ 4 ล้านตัน ซึ่งแน่นอนว่าครัวเรือนคือแหล่งเกิดขยะอาหารอันดับต้น ๆ
ชูชก
ชื่อแบรนด์อ่านว่าชูชกจริง ๆ ว่ากันแบบเข้าใจง่าย ๆ มันคือเครื่องย่อยเศษอาหาร ซึ่งเครื่องดังกล่าวของชูชกมีอยู่ 2 ไซซ์คือความจุ 25 กิโลกรัม และ 100 กิโลกรัม
สำหรับตัวถังทำมาจากพลาสติกฟู้ดเกรด จากนั้นคุณก็แค่นำอาหารใส่ลงไป และรอ 24 ชม. เพียงเท่านี้จากเศษอาหารไร้ค่าคุณก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์นำไปใส่รวมกันต้นไม้ใบหญ้ารอบ ๆ บ้านได้แล้ว
โอ๊คลิน
หากใครมีโอกาสได้ไปเดินเที่ยวงาน SX Expo 2024 ในโซนอาหารที่ชั้น G ของศูนย์สิริกิติ์ บริเวณจุดทิ้งขยะคุณจะเห็นบูธของโอ๊คลิน (Oklin) ซึ่งระบุว่าสามารถกำจัดเศษอาหารในครัวเรือนได้มากถึง 90% และเมื่อคุณนำเศษอาหารเทลงไปแล้ว รอ 24 ชั่วโมง คุณก็จะได้ปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใส่ต้นไม้สืบไป
นวัตกรรมชิ้นนี้ได้รับการพัฒนาจากหลายภาคส่วนด้วยกัน อาทิ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับจังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการ Saraburi sandbox ทีนี้มาดูกันว่าเครื่องนี้มันเจ๋งยังไง
หลักการง่าย ๆ ของเครื่องนี้คือหยอดขวดลงไปแล้วเซนเซอร์จะตรวจจับว่าขวดที่เราทิ้งลงไปนั้นคือขยะประเภทใด โดยสามารถจำแนกขวดได้ 5 ประเภท ได้แก่ ขวด PET ใส, ขวด PET สี, ขวด HDPE, กระป๋องอะลูมิเนียม, กระป๋องเหล็ก
แค่แยกขยะยังไม่พอ แต่ผู้ใช้งาน อาทิ นักเรียน สามารถแลกไว้เป็นเงินแล้วนำไปแลกกับครูได้ ขยะลด ได้เงินเพิ่มถือเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์สุด ๆ ไปเลย
หุ่นยนต์แยกขยะ
แยกเก่งกว่าใครก็ต้องให้หุ่นยนต์ หุ่นยนต์อัจฉริยะตัวนี้มีชื่อว่า RoCycle มันมีหน้าที่ตรวจจับว่าวัตถุที่เลื่อนผ่านไปบนสายพานเป็นกระดาษ โลหะ หรือพลาสติก ได้รับการวิจัยโดย Computer Science and Artificial Laboratory หรือ CSAIL ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยชั้นน้ำด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ที่ MIT
จุดที่ RoCycle สามารถช่วยได้ก็คือขับเคลื่อนกระบวนการรีไซเคิลให้เป็นไปโดยสะดวกเรียบร้อย มีอัตราการปนเปื้อนต่ำลง ซึ่งแน่นอนว่ามนุษย์ก็เสี่ยงน้อยลงด้วยเช่นกัน
ของที่ไม่ใช้แล้วอย่าทิ้ง บริจาคเป็นของมือสองได้
ภายในงาน SX Expo 2024 มีอีกหนึ่งบูธที่มีผู้คนตบเท้าเข้าไปไม่ขาดสายนั่นคือจุดบริจาคของมือสอง กล่าวคือเราเอาของไปหย่อนใส่กล่องสีส้ม ๆ โดยเจ้าหน้าที่จะนำสินค้านั้นไปวางขายต่อ และนำรายได้ในส่วนนี้ไปบริจาคต่อไป
โดยข้าวของที่คนนำมาบริจาคก็มีหลากหลาย ตั้งแต่ รองเท้า เสื้อผ้า แก้วน้ำ ชุดสูท ผ้าพันคอ จาน ชาม มีทั้งหมด เอาเป็นว่าใครอยากสานต่อการใช้งานข้าวของเหล่านี้ก็สามารถไปจับจองกันได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง