SHORT CUT
เห็นด้วยหรือไม่...รัฐเตรียมเก็บ 'ค่าธรรมเนียมรถติด' ตามเส้นแนวรถไฟฟ้า SPRiNG พาไปดูโมเดลจากกรุงลอนดอน ที่เริ่มเก็บมาตั้งแต่ปี 2003 สิ่งแวดล้อม หรือเมือง ยั่งยืนขึ้นแค่ไหน?
มีอยู่หลายประเทศชั้นนำในโลก ที่ประสบความสำเร็จในการออกนโยบายส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างยั่งยืน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือ อังกฤษ โดยหนึ่งในมาตรการที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) และไทยกำลังพิจารณานโยบายดังกล่าวเช่นกัน
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาดำเนินนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย และจะจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชน ระยะเวลา 30 ปี คาดว่าต้องใช้งบประมานราว 2 แสนล้านบาท โดยเม็ดเงินจะมากจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
ใน 5 ปีแรก รัฐจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดคันละ 40-50 บาท และอาจเพิ่มขึ้นในอนาคต เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเก็บค่าธรรมเนียมรถติดได้วันละ 7.5 แสนคัน รวมเม็ดเงิน 1.2 หมื่นล้านต่อปี ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะโดยรถไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งยังช่วยแก้ปัญหามลภาวะ และฝุ่น PM2.5
ย้อนกลับไปในทศวรรษ 2000 ณ เวลานั้นท้องถนนในลอนดอนนับว่าเลวร้ายเข้าขั้นวิกฤต รถเยอะ ฝุ่นละอองเฟื่องเต็มถนน และประชาชนจำนวนมากป่วยเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ กรุงลอนดอนจึงคิดหาวิธีอยู่ถึง 3 ปี ว่าจะทำอย่างไรเพื่อจะแก้ปัญหานี้
จนกระทั่งปี 2003 นายกเทศมนตรีลอนดอน เคน ลิฟวิงสโตน ได้ประกาศว่า จะเก็บค่าธรรมเนียมรถติดในพื้นที่เขตจราจรติดขัด ใครก็ตามที่ขับเข้ามาจะต้องจ่ายเงิน 15 ปอนด์ต่อรถหนึ่งคัน โดยจะเริ่มเก็บตั้งแต่ 07.00-18.00 น. ในวันจันทร์ถึงศุกร์ และจะเริ่มเก็บตั้งแต่ 12.00-18.00 น. ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
ทั้งนี้ ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถจ่ายผ่านออนไลน์ หรือตัดผ่านบัตรก็ได้ หากใครจ่ายช้าไป 3 วัน จะต้องจ่ายในราคา 17.50 ปอนด์ และหากใครตีเนียนไม่จ่ายจะถูกปรับ 160 ปอนด์
*หมายเหตุ จนบัดนี้ ลอนดอนเก็บค่าธรรมเนียมรถติดมาร่วม 20 ปีแล้ว
ที่มา: Intelligent Transport, Transport for London
ข่าวที่เกี่ยวข้อง