ว่ากันว่าฝุ่น PM 2.5 ในเขตเมือง กว่า 60% เกิดมาจากยานพาหนะ และภาคการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมีการออกมาตรการเพื่อช่วยลดมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการปรับไปใช้รถไฟฟ้า หนุนคนเลิกใช้รถยนต์ส่วนตัว ส่วนประเทศไทยนั้นมีการปรับไปใช้น้ำมันมาตรฐาน Euro 5 ว่าแต่มันดีอย่างไร?
ใช้ชีวิตอยู่ดี ๆ รู้สึกตัวอีกทีก็ใกล้จะสิ้นปีแล้ว ว่ากันตามตำราสิ่งแวดล้อม นี่คือช่วงเวลาโหมโรงเข้าก่อนสู่ฤดูฝุ่นพิษอย่างเป็นทางการ ประชาชนต่างจับตาดูว่ารัฐบาลจะมีมาตรการใดเพื่อรับมือฝุ่น PM 2.5
อีกหนึ่งคำที่ประชาชนถูกพูดกรอกหูอยู่บ่อย ๆ คือให้ปรับปรุงซ่อมแซมเครื่องยนต์บ้าง (แม้จะไม่มีมาตรการช่วยเหลือเลย) รวมถึงมีกาพูดถึงน้ำมันยูโร 5 ที่ว่ากันว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดฝุ่น PM 2.5 ได้ ซึ่งประเทศไทยประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567
ในวันนี้ SPRiNG ขอพาผู้อ่านทุกคนไปรู้จักกับน้ำมันมาตรฐาน Euro 5 ย้อนความเป็นมา ไล่เรียงไปถึงต้นกำเนิดจากฝั่งยุโรป คุณสมบัติ-ข้อดี ความเคลื่อนไหวจากภาครัฐ-เอกชน ที่สะเทือนถึงเงินในกระเป๋าผู้ใช้รถใช้ถนน
มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดโดยกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อวางกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในการใช้เชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ซึ่งถูกเปลี่ยนไปตามกาล และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยสามารถแบ่งได้ ดังนี้
*หมายเหตุ วันที่ประกาศใช้ในประเทศยุโรป > ประเทศไทย
เมื่อเดือน ก.ค. 67 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยับมาตรฐานรถเบนซินขนาดเล็กจาก Euro 4 ไปสู่ Euro 6 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 68 ส่วนรถเบนซินขนาดใหญ่-รถดีเซลทั่วไป บังคับใช้ในปี 2569 เป็นต้นไป
อันที่จริงต้องบอกว่าน้ำมันมาตรฐาน Euro 5 ค่อนข้างเข้มงวดในการปล่อยฝุ่นจากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นอย่างมาก โดยรถยนต์ดีเซลทุกคันต้องติดตั้งตัวกรองฝุ่นละออง
ในขณะที่ข้อจำกัด NOx ก็เข้มงวดมากขึ้น (โดยต้องลดลง 28% เมื่อเทียบกับ Euro 4) และเป็นครั้งแรกที่มีการจำกัดปริมาณฝุ่นละอองสำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่เป็นแบบจุดระเบิดโดยตรง ส่วนคุณสมบัติน้ำมันยูโร 5 มีดังนี้
แม้ยังไม่มีใครล่วงรู้อนาคตว่าปีนี้ฝุ่น PM 2.5 จะหนักหนาแค่ไหน เพื่อนบ้าน หรือแม้ใต้คนในบ้านจะลักลอบเผาอีกหรือไม่ แต่สิ่งที่รู้ร่วมกันคือยังไงสิ้นปีฝุ่นก็มาแน่ ยกเว้นปี 2020 ที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ฝุ่นฟุ้งตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่เกิดได้ไม่บ่อยนัก
คำถามเมื่อครู่ที่ว่าเหตุใดน้ำมันยูโร 5 จึงบรรเทาปัญหาฝุ่นได้ ข้อมูลจากหลายแห่งว่าไว้ไม่ตรงกัน สำหรับกทม. ระบุว่าฝุ่น PM 2.5 ในเมืองหลัก ๆ มีต้นตอมาจากภาคการขนส่งกว่า 60%
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในปี 2566 คนไทยป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศรวมกว่า 9,200,000 คน กล่าวคือการยกระดับมาตรฐานน้ำมันยูโร 4 เป็น 5 ถือเป็นหนึ่งในมาตรการสู้ฝุ่นจากภาครัฐ แล้วฟากของเอกชนล่ะ ขยับตัวรับมาตรการนี้อย่างไรบ้าง
ปั้มน้ำมัน 5 แห่งหลัก ๆ ของประเทศไทย ได้แก่ เชลล์ พีที ปตท. บางจาก คาลเท็กซ์ ได้ลงทุนผลิตน้ำมันมาตรฐานยูโร 5 กันหมดทุกเจ้าเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม มีโรงกลั่นทั้งหมด 6 แห่งที่ผลิตน้ำมันยูโร 5 ดังนี้
คิดว่านี่คือคำถามที่คนอยากรู้มากที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด SPRiNG จึงหาคำตอบมาให้ อย่างที่กล่าวไปว่าน้ำมันมาตรฐาน Euro 5 ต้องมีการติดตั้งเครื่องกรองฝุ่นละอองเพิ่มเข้าไป สิ่งนี้จะไปเพิ่มต้นทุนการผลิตรถ ซึ่งกระทรวงพลังงานประเมินไว้คร่าว ๆ คือรถที่ผลิตใหม่มีต้นทุนเพิ่มคันละ 25,000 บาท
ทางฟากของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยข้อมูลว่า 9 ค่ายรถยอดนิยมในประเทศไทยประกาศยกระดับการผลิตรถให้เป็นไปตามมาตรฐาน Euro 5 ภายในปี 2564 กล่าวคือตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา เราจ่ายเงินซื้อรถแพงขึ้นราว 2.5 หมื่นบาท หากอ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน
โดย 9 ค่ายรถที่ปรับมาตรฐานเป็น Euro 5 มีดังนี้
ที่มา: Orix, คณะกรรมการพลังงาน หอการค้าไทย, กรมธุรกิจพลังงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง