svasdssvasds

จากลอนดอนถึงกรุงเทพฯ ถอดบทเรียน Thames Barrier กู้วิกฤตน้ำท่วมได้อย่างไร?

จากลอนดอนถึงกรุงเทพฯ ถอดบทเรียน Thames Barrier กู้วิกฤตน้ำท่วมได้อย่างไร?

กว่า 40 ปีแล้ว ที่ผนังกั้นน้ำเทมส์ หรือ Thames Barrier ช่วยป้องกันน้ำท่วม ช่วยชีวิตชาวลอนดอนมาหลายทศวรรษ ท่ามกลางสถานการณ์น้ำท่วมที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ SPRiNG ชวนถอดบทเรียนจากลอนดอนถึงกรุงเทพฯ ผนังกั้นน้ำนี้มีดีอย่างไร?

SHORT CUT

  • ทศวรรษ 1950s กรุงลอนดอนเจอปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ‘หมอกซุปถั่ว’ในปี 1952 และภัยพิบัติครั้งรุนแรงในปี 1953 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนนับร้อย จนเป็นต้นตอให้ลอนดอนมีแนวคิดหาวิธีป้องกันน้ำท่วม
  • พระราชบัญญัติป้องกันน้ำท่วม ค.ศ. 1973 (Flood Protection Act 1973) ถึงคลอดออกมา ซึ่งนำมาสู่การลงทุนโปรเจกต์ผนังกั้นน้ำ Thames Barrier มูลค่า 583 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท โดยตั้งอยู่กลางแม่น้ำเทมส์ในย่านวูลวิช 
  • เมื่อไหร่ก็ตามที่น้ำทะเลหนุนสูงขึ้น ผนังกั้นน้ำจะปิดประตูกันน้ำเอาไว้เพื่อไม่ให้มวลน้ำปริมาณมหาศาลไหลท่วมลอนดอน เมื่อระดับน้ำลดลงประตูก็จะถูกพับเก็บเพื่อให้เรือสามารถสัญจรได้

กว่า 40 ปีแล้ว ที่ผนังกั้นน้ำเทมส์ หรือ Thames Barrier ช่วยป้องกันน้ำท่วม ช่วยชีวิตชาวลอนดอนมาหลายทศวรรษ ท่ามกลางสถานการณ์น้ำท่วมที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ SPRiNG ชวนถอดบทเรียนจากลอนดอนถึงกรุงเทพฯ ผนังกั้นน้ำนี้มีดีอย่างไร?

‘กรุงลอนดอน’ เมื่อ 71 ปีที่แล้ว ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ ทุกวันนี้

ทศวรรษ 1950s กรุงลอนดอนเจอปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ‘หมอกซุปถั่ว’ในปี 1952 และภัยพิบัติครั้งรุนแรงในปี 1953 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนนับร้อย จนเป็นต้นตอให้ลอนดอนมีแนวคิดหาวิธีป้องกันน้ำท่วม

Great Smog London หมอกซุปถั่ว Credit wikipedia

ต้นเหตุของน้ำท่วมลอนดอนในครั้งนั้นเกิดจากพายุที่โหมกระหน่ำ จนทำให้น้ำทะเลหนุนสูง 4.7 เมตร หนักหน่วงถึงขั้นมวลน้ำไหลท่วมสู่ใจกลางกรุงลอนดอน อาคารบ้านเรือนจำนวนนับไม่ถ้วนพังทลายลง ส่วนที่ยังอยู่ก็ถูกน้ำท่วมถึงหลังคา

ดังนั้นภาพประชาชนหอบข้าวของและอาหารขึ้นหลังคาบ้านที่เราเห็นกันทุกวันนี้ มีมาตั้งแต่ยุคนั้นแล้ว

พื้นที่หลายเอเคอร์ถูกน้ำกลืนหายไป” Pathe News ผู้ผลิตภาพยนตร์ สารคดี และข่าว ได้บันทึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมปี 1953

มีรายงานว่าภัยพิบัติในครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิต 307 ราย มูลค่าความเสียหายประมาณ 5,000 ล้านปอนด์ รัฐบาลของสหราชอาณาจักร ณ เวลานั้นจึงเริ่มพิจารณาหาวิธีป้องกันน้ำท่วม

กระทั่งเวลาผ่านไป 20 ปี พระราชบัญญัติป้องกันน้ำท่วม ค.ศ. 1973 (Flood Protection Act 1973) ถึงคลอดออกมา ซึ่งนำมาสู่การลงทุนโปรเจกต์ผนังกั้นน้ำ Thames Barrier มูลค่า 583 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท โดยตั้งอยู่กลางแม่น้ำเทมส์ในย่านวูลวิช (Woolwich)

Thames Barrier ผนังกั้นน้ำยักษ์ป้องกันน้ำท่วมให้ชาวลอนดอน

การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นในปี 1974 แล้วเสร็จในปี 1982 และเปิดใช้งานครั้งแรกในปี 1983 ซึ่งครบรอบ 40 ปีในปีนี้นี่เอง “ถ้าไม่มีผนังกั้นน้ำเทมส์ น้ำในลอนดอนต้องท่วมสูงถึงเสาไฟแน่นอน” ส่วนหนึ่งจากบทความที่เผยแพร่โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักร

ผนังกั้นน้ำ Thames Barrier Credit AFP

ว่าแต่ผนังกั้นน้ำ Thames Barrier ทำงานอย่างไร?

หลักการไม่มีอะไรซับซ้อน เมื่อไหร่ก็ตามที่น้ำทะเลหนุนสูงขึ้น ผนังกั้นน้ำจะปิดประตูกันน้ำเอาไว้เพื่อไม่ให้มวลน้ำปริมาณมหาศาลไหลท่วมลอนดอน เมื่อระดับน้ำลดลงประตูก็จะถูกพับเก็บเพื่อให้เรือสามารถสัญจรได้

ข้อมูลจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมได้เปิดเผยว่าตลอดระยะเวลา 40 ปี ผนังกั้นน้ำแห่งนี้ถูกเปิดใช้งานแล้วกว่า 221 ครั้ง และว่ากันว่าในปีเดียวต้องปิดประตูกันน้ำมากถึง 28 ครั้งเลยทีเดียว

ผนังกั้นน้ำ Thames Barrier Credit AFP

แต่อย่างไรก็ตาม กรุงลอนดอนมีแผนที่จะก่อสร้างผนังกันน้ำเพิ่มอีก 8 แห่งทั่วมหานครเพื่อให้สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ถึงปี 2100 หรืออีก 76 ข้างหน้า ซึ่งเป็นปีที่หลายหน่วยงานทั่วโลกคาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นจากปรากฏการณ์โลกเดือด

ย้อนกลับมามองที่ประเทศไทย ซึ่ง ณ เวลานี้หลายจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วม และดูเหมือนว่ายังไม่มีมาตรการรับมือที่เป็นรูปธรรมทั้งระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว

ผนังกั้นน้ำ Thames Barrier Credit AFP

สำหรับกรุงเทพมหานคร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ระหว่างล่องเรือสำรวจระดับน้ำ โดยมีใจความว่าควรมีการศึกษาการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อป้องกันกรุงเทพฯ จากน้ำท่วม

 

ที่มา: london.gov,

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related