SHORT CUT
สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว SPRiNG ได้พาผู้อ่านไปสำรวจวิธีการทิ้งขยะชิ้นใหญ่ และมีจำนวนไม่น้อยที่สอบถามกันมาว่าแล้วญี่ปุ่นมีวิธีจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-waste อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว
ในทศวรรษที่ผ่านมา เครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่นได้รับความนิยมอย่างมาก รายงานที่เผยแพร่โดย Nikkei เมื่อปี 2017 ระบุว่ามูลค่าตลาดค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
แต่ดูเหมือนว่าวิธีคิดของชาวญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนไป รัฐบาลญี่ปุ่นได้เก็บข้อมูลเชิงสถิติของวงจรการเปลี่ยนสินค้า 11 ประเภท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2548 ถึงเดือนมีนาคม 2566 สิ่งที่พบคือระยะเวลาเฉลี่ยการเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 9.2 ปี ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดตั้งแต่เคยเก็บสถิติมา
เมื่อชาวญี่ปุ่นใช้สินค้ากันนานขึ้น ไม่ทิ้งง่าย ๆ เหมือนที่ผ่านมา แล้วทำไมถึงยังมีขยะอิเล็กทรอนิกส์อยู่เกลื่อนไปหมด เว็บไซต์ geeksforgeeks เปิดเผยว่าญี่ปุ่นติดอันดับ 4 ประเทศที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดในโลก ด้วยจำนวน 2,569 กิโลตัน แต่มีอัตราการรีไซเคิลอยู่ที่ 22% เท่านั้น
มีการตั้งข้อสังเกตว่าในเมื่อชาวญี่ปุ่นใช้สินค้าอย่างคุ้มค่า นาน ๆ เปลี่ยนที แต่ทำไมยอด E-waste ยังพุ่งสูงติดอันดับโลกอยู่ เหตุผลคือเครื่องใช้ไฟฟ้าในญี่ปุ่นมีล้นตลาด มีรุ่นใหม่ออกมาอยู่เสมอ
เว็บไซต์ SpringerLink ระบุว่าชาวญี่ปุ่นมีอำนาจการจับจ่ายติดอันดับสองของโลก แถมเมืองใหญ่ ๆ อย่างเช่นโตเกียวก็มีสินค้าพรีเมียมออกมาให้เลือกสรรอยู่เสมอ แต่เหตุผลอีกข้อคือ กระบวนการรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้าในญี่ปุ่น “ยุ่งยาก และซับซ้อน” เกินไป
ประเทศญี่ปุ่นมีกฎว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้น อาทิ ทีวี เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ ไม่สามารถทิ้งเองได้ แต่ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2023 กระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นประกาศเพิ่มปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่รวบรวมได้ให้เป็นสองเท่า ภายในปี 2030 จากเดิม 2.1 แสนเมตริกตัน เพิ่มเป็น 4.2 แสนเมตริกตัน
โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะถูกนำไปรีไซเคิล และนำกลับมาใช้ใหม่ในทุกสิ่ง อาทิ มือถือ ทีวี รถยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ มีอีกหนึ่งสถิติที่น่าสนใจ (และน่าเสียดาย) รู้หรือไม่ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนทั้งหลาย มีวัสดุที่เป็นเงิน ทองคำ ทองแดง และอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน ซึ่งเหล่านี้ถูกทิ้งไปเสียเปล่า จากการประเมินในปี 2020 คาดว่าญี่ปุ่นอาจทิ้งทองคำไปร่วม 6,800 ตัน ซึ่งมากกว่าทองคำที่ขุดได้ในแอฟริกาใต้เสียอีก
ที่มา: Japan Living Guide, dw, Nikkei, geeksforgeeks
ข่าวที่เกี่ยวข้อง