ผลกระทบของขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อสิ่งแวดล้อมนั้นประเมินค่าไม่ได้ SPRiNG ชวนรู้จัก 'Swappie' สตาร์ทอัพฟินแลนด์ ผู้นำเทรนด์ และรับซ่อมมือถือเก่าใกล้พัง ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง พร้อมย้อนกลับมามองไทย มีแนวโน้มเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคได้หรือไม่...?
รู้หรือไม่...? ในแต่ละปี เราโยนมือถือทิ้งกันมากถึง 5.3 พันล้านเครื่องทั่วโลก แต่มือถือเหล่านี้กลับถูกรีไซเคิลแค่ 90 ล้านเครื่อง หรือประมาณ 17% เท่านั้นเอง ส่วนที่เหลือได้กลายสภาพเป็น ‘ขยะอิเล็กทรอนิกส์’ ศัตรูตัวฉกาจของสิ่งแวดล้อม
ปัญหานี้อาจทุเลาลงได้ เมื่อเราเปลี่ยนความคิดใหม่ และหันมาใช้มือถือมือสอง ไม่ก็มือถือจำพวกเครื่องรีเฟอร์ หรือที่เรียกว่า Refurnished เพื่อยืดอายุโทรศัพท์หนึ่งเครื่องให้มีอายุใช้งานได้นานขึ้น ปลอดภัย สบายใจ (ต่อโลก) แถมสบายเงินในกระเป๋าด้วย
SPRiNG ชวนอ่านเรื่องราว “Swappie” สตาร์ทอัพ ผู้นำเทรนด์การใช้มือถือมือสองในฟินแลนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2016 โดย “ซามิ มาร์ตติเนน” ซีอีโอ ผู้เคยถูกมิจฉาชีพโกงเงิน เพราะสั่งซื่อโทรศัพท์มือสองจากอินเทอร์เน็ต
ขอเริ่มต้นด้วยภาพกว้าง ๆ ของปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในฟินแลนด์ มีประชากร3.3 แสนคน ผลิต E-Waste ประมาณ 20 ถึง 50 ล้านตันต่อปี ซึ่งเว็บไซต์ Statista ระบุว่า ฟินแลนด์สามารถรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้มากถึง 88%
“ซามิ มาร์ตติเนน” ซีอีโอของ Swappie เคยแสดงวิสัยทัศน์ของบริษัทไว้ว่าต้องการขายมือถือคุณภาพดี และขายให้กับผู้บริโภคในราคาที่ถูก ซึ่งต้องบอกว่าถูกกว่าไปซื้อใหม่หลายเท่า
กลุ่มลูกค้าของสตาร์ทอัพรายนี้ได้ตบเท้าออกมารีวิวกันมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่ซื้อไอเดียเรื่องความยั่งยืน ไม่อยากสร้างขยะเพิ่ม และความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือโลก
โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของ Swappie จะอยู่ในสภาพเหมือนใหม่ มีประกันให้ 1 ปี แบตเตอรี่ตั้งต้นที่ 80% โดยทางบริษัทได้จำแนกคุณภาพมือถือไว้ 3 ระดับ ดังนี้
นอกจากนี้ Swappie ยังมีบริการรับซื้อมือถือไม่ใช้แล้ว โดยจะมีรถตู้ของบริษัท ขับตระเวนไปตามจุดต่าง ๆ ทั่วฟินแลนด์ ซึ่งมือถือแต่ละรุ่นถูกตั้งราคาขายไว้ไม่เท่ากัน
*หมายเหตุ ค่าเงินเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 67 หนึ่งยูโรเท่ากับ 38.4 บาท
ปัจจุบัน Swappie มีพนักงานกว่า 1,100 จาก 60 ประเทศ รวมช่างซ่อม (รวมพนักงานทุกตำแหน่งแล้ว) ออฟฟิศแห่งนี้ทำงานด้วยกันบนพื้นฐานความเท่าเทียม ไร้อคติทางเพศ ศาสนา อายุ หรือชาติพันธุ์ สะท้อนผ่านอัตราพนักงานหญิง/ชาย ที่จำนวนประมาณพอ ๆ กัน
นอกจากนี้ Swappie ยังเปิดเผยข้อมูลอีกว่าในปี 2021 ลูกค้าของบริษัทสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้รวมกันกว่า 2.3 หมื่นตัน เทียบเท่ากับไฟลท์บินจากปารีสไปนิวยอร์ก ใครจะเชื่อการหันมาใช้โทรศัพท์มือสองจะสามารถลดการปล่อยมลพิษได้มากขนาดนี้
ปัจจุบัน Swappie ขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ จัดส่งกว่า 25 ประเทศ น่าเสียดายที่ทาง Swappie ไม่จัดส่งมายังประเทศไทย แต่ถึงกระนั้น บริษัทก็ยังกวาดรายได้เฉียด 100 ล้านยูโร หรือประมาณ 3.8 หมื่นล้านบาท
นี่คือกรณีศึกษาชั้นดีเกี่ยวกับการปรับตัวของผู้บริโภค และภาคธุรกิจ เมื่อเทรนด์บริโภคนิยม (Consumerism) หรือการบริโภคเกินจำเป็น (Overconsumption) บีบบังคับให้คนทั่วโลกต้องเปลี่ยนมือถือใหม่ทุก ๆ ปีหรือสองปี แต่บทเรียนจากฟินแลนด์ และเคสของ Swappie น่าจะเป็นกรณีศึกษาให้เราย้อนกลับมามองดูตัวเองได้
ย้อนมองไทย ข้อมูลจากกองติดตามประเมิณผลสิ่งแวดล้อมเปิดเผยว่าไทยผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์ราว 4.3 แสนตัน และมีเพียง 20% เท่านั้น ที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้อง
แม้ภายหลังภาคเอกชน และภาครัฐหันมารณรงค์เรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น อาทิ การตั้งจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
Keep The World เชื่ออย่างยิ่งว่าหากภาคธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ หรือรัฐบาลสนับสนุนอัดฉีดเม็ดเงินลงไปในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น สถานการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์จะลดลงแน่นอน หากเราช่วยกันคนละไม้คนละมือ
ที่มา: Swappie
ข่าวที่เกี่ยวข้อง