SHORT CUT
เนื่องจากปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นไอเดียให้บริษัทในเยอรมนีผลิตแผงวงจรรักษ์โลกที่มีสารตั้งต้นจากพืช ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เพื่อช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์
จากรายงานการติดตามขยะอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก หรือ GEM ครั้งที่ 4 ของสหประชาชาติเปิดเผยว่า การสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ของโลกเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่บันทึกไว้ถึง 5 เท่า
บริษัท Jiva Materials สตาร์ทอัพของสหราชอาณาจักรได้พัฒนาสารตั้งต้น PCB ซึ่งเป็นสารตั้งต้นจากพืช ที่แตกตัวในน้ำเพื่อให้นำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ได้ง่ายขึ้น ขณะนี้ทางบริษัทกำลังร่วมมือกับผู้ผลิตในยุโรปเพื่อสาธิตและประเมินแผงวงจร Soluboards
การรีไซเคิลแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์นำวัสดุกลับมาใช้ใหม่อาจเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้พลังงานมาก โดยที่ Epoxy resin และ Fiberglass จะถูกฉีกเป็นชิ้นๆ และเผาทิ้ง
มีรายงานว่าแผงวงจรรักษ์โลกของ Jiva มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 7.1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในขณะที่แผงวงจรที่ทำจากไฟเบอร์กลาส (FR-4) อยู่ที่ 17.7 กิโลกรัม โดยบริษัทยังชี้ให้เห็นถึงการประหยัดพลาสติกอย่างมีนัยสำคัญที่ 620 กรัมต่อตารางเมตร
Infineon ของเยอรมนีเป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่ทำการวิจัยการใช้ Soluboard สำหรับบอร์ดสาธิตและประเมินผล จนถึงขณะนี้มีการผลิตแผงวงจรสาธิตที่แตกต่างกัน 3 ชุด โดยมีมากกว่า 500 ยูนิตที่ใช้งานแล้วในกลุ่มพาวเวอร์ดิสครีต รวมถึงหนึ่งยูนิตที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการใช้งานทำความเย็น
ขณะนี้การทดสอบอยู่ระหว่างดำเนินการ แต่หวังว่าจะพัฒนาแผงวงจรเพิ่มเติมในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ก่อนที่การใช้วัสดุสำหรับแผงวงจรทั้งหมดเพื่อทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีความยั่งยืนมากขึ้น พร้อมกับทำ คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ซ้ำและการรีไซเคิลส่วนประกอบแผงวงจรรักษ์โลก Soluboards
ที่มา : New Atlas
เนื้อหาที่น่าสนใจ :