สำนักข่าว AFP รายงานว่า รัฐบาลเดนมาร์กเตรียมเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมการบิน โดยจะมีผลบังคับใช้ในปี 2025 เป็นต้นไป เพื่อนำไปชดเชยให้กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนของเครื่องบิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2030
เกิดอะไรขึ้น?
สำนักข่าว AFP รายงานว่า รัฐบาลเดนมาร์กเตรียมเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมการบิน โดยจะมีผลบังคับใช้ในปี 2025 เป็นต้นไป เพื่อนำไปชดเชยให้กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนของเครื่องบิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2030
ภาษีสิ่งแวดล้อมที่ว่านี้ จะถูก add-on ไปกับค่าตั๋วเครื่องบินที่ออกจากสนามบินในประเทศเดนมาร์กเท่านั้น ไม่นับเครื่องที่บินผ่านน่านฟ้า หรือเครื่องบินที่แวะต่อเครื่อง
เตรียมจ่ายค่าตั๋วแพงขึ้น
แถลงการณ์ของกระทรวงภาษีของประเทศเดนมาร์ก (the Danish Ministry of Taxation) ระบุว่า การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมต่อตั๋วหนึ่งใบจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่
ระยะสั้น เก็บเพิ่มจากค่าตั๋ว 7.35 ดอลลาร์สหรัฐ
ระยะกลาง เก็บเพิ่มจากค่าตั๋ว 45.33 ดอลลาร์สหรัฐ
ระยะไกล เก็บเพิ่มจากค่าตั๋ว 59.95 ดอลลาร์สหรัฐ
ในเบื้องต้น ค่า add-on จะถูกเพิ่มไปในค่าตั๋วโดยอัตโนมัติ เที่ยวบินระยะสั้นหมายถึงเที่ยวบินจากเดนมาร์กไปยังประเทศในยุโรป ส่วนระยะกลาง กับระยะไกล ต้องรอการประเมินระยะทางอีกที
ทางด้านรัฐมนตรีกระทรวงสภาพภูมิอากาศ พลังงาน และสาธารณูปโภค กล่าวถึงการเดินหน้าลุยโปรเจกต์นี้ว่า
“เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ทั่วยุโรปจะมีการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นกิจลักษณะ จนกลายเป็นเรื่องปกติ”
Keep The World ทดลองคำนวณค่าตั๋วให้ โดยอ้างอิงจากราคาที่มีการ add-on ภาษีสิ่งแวดล้อมไปแล้ว หากขึ้นเครื่องที่สนามบิน Copenhagen ประเทศเดนมาร์ก แล้วเลือก lading ที่สนามบิน Stockholm Arlanda ประเทศสวีเดน
ค่าตั๋วไป-กลับโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 261 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อบวกค่า add-on สำหรับเที่ยวบินในยุโรป คุณต้องจ่ายเงิน 9,362 บาท จากราคาปกติ 9,117 บาท
รายได้ไปไหน?
คำถามใหญ่ของเรื่องนี้คือ เงินภาษีสิ่งแวดล้อมจะถูกนำไปปันส่วนไว้ที่ใด ทางกระทรวงภาษีของประเทศเดนมารก์ ระบุว่า เงินที่ได้จากการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม จะถูกนำไปสนับสนุนการใช้พลังงานยั่งยืนของอุตสาหกรรมการบิน
จ่ายแพงขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายใหญ่
ปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมการบินคือการเดินทางที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด และหากเทียบกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนของทุกอุตสาหกรรม การเดินทางบนน่านฟ้าคิดเป็น 2% (ข้อมูลในปี 2022)
องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า การใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืน การปรับปรุงโครงสร้างของเครื่องบิน การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ คือสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งทำ เพื่อเป็นการควบคุมอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ประเทศเดนมาร์กสามารถบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2030
ที่มา: ecowatch
เนื้อหาที่น่าสนใจ