ภาษีคาร์บอน CBAM เริ่มคุ้นหูคนไทยมากขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ทำการค้ากับ EU ซึ่งภาษี CBAM จะเป็นกลไกในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก แสดงความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ล่าสุด EU ได้ประกาศให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566
CBAM หรือภาษีคาร์บอน เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนธุรกิจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและขับเคลื่อนสังคมสู่ Net Zero โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ทำการค้ากับ EU ต้องทำความเข้าใจ ตระหนักถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย
CBAM ภาษีคาร์บอน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการความเสี่ยงการรั่วไหลของคาร์บอนที่เกิดจากความแตกต่างของนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศนอก EU ซึ่ง EU มีกลไกการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในระบบ Emission Trading Scheme (ETS) ด้วยการบังคับให้บริษัทผู้นำเข้าต้องซื้อใบรับรอง CBAM เพื่อชำระส่วนต่างระหว่างราคาคาร์บอนในประเทศที่ผลิต และราคาในระบบ ETS ซึ่งจะทำให้ประเทศนอก EU เพิ่มความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่ากับยุโรป
สินค้าในขอบเขตของ CBAM มีอะไรบ้าง
ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าในขอบเขตของ CBAM แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก
กลุ่มสอง
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
สรรพสามิต เล็งรีดภาษี “Carbon Tax” สินค้าปล่อยก๊าซคาร์บอนสูง
TGO เผยสถานการณ์ตลาดคาร์บอนเครดิต โครงการพัฒนาพลังงานทดแทนมาแรง
CBAM ภาษีคาร์บอนจะเริ่มวันที่ 1 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน (Transition period) ที่ผู้นำเข้าต้องรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น สำหรับช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน และการบังคับใช้จริงจะมีการหารือกันต่อไป
ได้มีการประเมินเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน CBAM หากมีการผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ จะผลกระทบต่อไทยหรือไม่ โดยเฉพาะด้านความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลง และผู้นำเข้าจาก EU อาจเปลี่ยนไปนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นที่มีกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่น้อยกว่า
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ