SHORT CUT
ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ตรวจสอบแปลงอาหารธรรมชาติที่นำผักชนิดต่างๆ มาวางเป็นอาหารเสริมให้พะยูน ในท้องทะเลภูเก็ตกินทดแทนหญ้าทะเลที่เสื่อมโทรมจนทำให้พะยูนเริ่มขาดแคลนอาหาร
ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ผลการตรวจสอบแปลงอาหารธรรมชาติ ที่บริเวณแหล่งหญ้าทะเลท่าเทียบเรือหาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ที่จัดวางไว้จำนวน 4 แปลง โดยใช้ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้า และ สาหร่ายผมนาง พบว่า มีร่องรอยการกินของพะยูนที่ยังคงสดใหม่
หลังจากนั้นได้จัดวางแปลงอาหารใหม่บริเวณตำแหน่งแปลงเดิม จำนวน 4 แปลง และพบว่ามีพะยูนเข้ามาหากินจากแปลงอาหารเสริมภายหลังจากการวางแปลงเพียง 2 ชั่วโมง แต่ไม่สามารถถ่ายภาพด้วยอากาศยานไร้คนขับได้ เนื่องจากน้ำขุ่น
นอกจากนี้ จากสำรวจและติดตามในบริเวณดังกล่าว พบว่า มีพะยูนอีก 1 ตัวเข้ามาหากินหญ้าทะเลหาดราไวย์ จึงวางแผนวางแปลงทดลองจำนวน 6 แปลง เพิ่มเติมจากของเดิม ในวันนี้(9 พ.ย.)อีกด้วย
เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน สำรวจสัตว์ทะเลหายากและสถานภาพหญ้าทะเล โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ บริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พบพะยูนจำนวน 12 ตัว เป็นคู่แม่ลูก 1 คู่ สามารถตรวจความสมบูรณ์ร่างกายได้ จำนวน 5 ตัว โดยแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำขึ้นหายใจบนผิวน้ำ ความสมบูรณ์ร่างกายอยู่ในระดับค่อนข้างผอม จำนวน 1 ตัว
ระดับสมบูรณ์ดี 3 ตัว ระดับสมบูรณ์อ้วน 1 ตัว และ พบพะยูนขณะดำน้ำและกินหญ้าทะเลจึงไม่สามารถตรวจความสมบูรณ์ร่างกายได้ จำนวน 7 ตัว เต่าทะเล 10 ตัว สามารถตรวจความสมบูรณ์ร่างกายได้ 3 ตัว ความสมบูรณ์ร่างกายอยู่ในระดับสมบูรณ์ดี
บริเวณอ่าวบางแป สำรวจพบพะยูน 2 ตัว สามารถตรวจความสมบูรณ์ร่างกายได้ 1 ตัว ความสมบูรณ์ร่างกายอยู่ในระดับสมบูรณ์ดี เต่าทะเล 1 ตัว ความสมบูรณ์ร่างกายอยู่ในระดับสมบูรณ์ดี
บริเวณอ่าวตั้งเข็ม พบพะยูน 2 ตัว ความสมบูรณ์ร่างกายอยู่ในระดับสมบูรณ์ดี พบเต่าทะเล 1 ตัว ขนาดโตเต็มวัย ความสมบูรณ์ร่างกายอยู่ในระดับสมบูรณ์ดี
นอกจากนั้นยังได้ดำเนินการสุ่มสำรวจสถานภาพหญ้าทะเลพื้นที่อ่าวราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ด้วยวิธีการ Spot check พบหญ้าทะเล 5 ชนิด ได้แก่
พบว่าหญ้าชะเงาใบมนใบสั้นและกุด แต่ยังคงสภาพความสมบูรณ์ของรากและเหง้า สถานภาพการปกคลุมเล็กน้อย