svasdssvasds

เร่งผลิตอาหารเสริมให้พะยูน หลังหญ้าทะเลเสื่อมโทรม

เร่งผลิตอาหารเสริมให้พะยูน หลังหญ้าทะเลเสื่อมโทรม

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทดลองนำผักมาเป็นแหล่งอาหารเสริมให้พะยูนในท้องทะเลตรัง หลังพบว่า หญ้าทะเล แหล่งอาหารสำคัญของพวกมันเสื่อมโทรมอย่างหนัก

SHORT CUT

  • ส่องวิธีการกู้วิกฤตหญ้าทะเลเสื่อมโทรม ทำให้อาหารของพะยูนในท้องทะเลตรังขาดแคลน โดยนักวิจัย นำผักสดๆ มาสร้างแหล่งอาหารเสริมให้พะยูน
  • ผักมีทั้งผักกาดขาว ผักบุ้ง คะน้า เพื่อล่อให้พะยูนมากิน และ เป็นการวิจัยด้วยว่าพะยูนชอบผักชนิดไหนที่พอทดแทนหญ้าทะเลได้ 
  • โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จะติดตามผลการดำเนินงาน และ พัฒนาแนวทางการเสริมอาหารให้กับพะยูนในช่วงสถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรมต่อไป

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทดลองนำผักมาเป็นแหล่งอาหารเสริมให้พะยูนในท้องทะเลตรัง หลังพบว่า หญ้าทะเล แหล่งอาหารสำคัญของพวกมันเสื่อมโทรมอย่างหนัก

หลังหญ้าทะเลเริ่มเสื่อมโทรม ทำให้บรรดาพะยูน เริ่มขาดแคลนอาหารตามมาด้วย ทางศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จึงเริ่มทดลองวางแปลงอาหารธรรมชาติ เพื่อเป็นอาหารเสริมให้กับพะยูนในสถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรม

จุดที่วางแปลงอาหารธรรมชาติ เป็นแหล่งหญ้าทะเลท่าเทียบเรือหาดราไวย์ ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

เร่งผลิตอาหารเสริมให้พะยูน หลังหญ้าทะเลเสื่อมโทรม

เจ้าหน้าที่จัดวางแปลงด้านข้างของสะพานท่าเทียบเรือหาดราไวย์ในช่วงเวลาน้ำทะเลลงต่ำสุดซึ่งเป็นบริเวณใกล้แหล่งหญ้าทะเลเดิมที่พะยูนเข้ามาหากิน ในแนวขนาดกับสะพาน ด้านละ 2 แปลง ขนาดแปลงละ 1 ตารางเมตร รวมจำนวน 4 แปลง

อาหารเสริมจากธรรมชาติ ใช้ผักแปลงละ 1 ชนิด ได้แก่ ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า และผักกาดขาว เพื่อทดสอบชนิดผักที่พะยูนมีความสนใจ

เร่งผลิตอาหารเสริมให้พะยูน หลังหญ้าทะเลเสื่อมโทรม

หลังจากนั้นจะติดตามผลในช่วงเวลาน้ำขึ้น โดยการบินสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับ เพื่อสำรวจการเข้ามากินอาหารของพะยูน เบื้องต้นพบพะยูนเข้ามาหากินในบริเวณดังกล่าวแล้ว 1 ตัว แต่ไม่ได้เข้ามากินผักในแปลงทดลอง

ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามผลการดำเนินงาน และ พัฒนาแนวทางการเสริมอาหารให้กับพะยูนในช่วงสถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรมต่อไป

ภาพและข้อมูล : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน

related