svasdssvasds

น้ำท่วมซัดขยะลงทะเล! สถิติเผยพบ "ขวดพลาสติก" มากสุด ตามด้วยถุงพลาสติก

น้ำท่วมซัดขยะลงทะเล! สถิติเผยพบ "ขวดพลาสติก" มากสุด ตามด้วยถุงพลาสติก

น้ำท่วมซัดขยะลงทะเล! พาไปสำรวจสถิติ พบว่า ขยะที่พบในทะเลไทยมากที่สุด คือ ขวดพลาสติกเครื่องดื่ม 22 % ต่อมาคือ ถุงพลาสติก 19.42% ตามด้วย ขวดเเก้ว 10.96% ถุงขนม 7.97% เศษโฟม 7.55%) กระป๋องเครื่องดื่ม 7.46% กล่องอาหารประเภทโฟม 6.92% หลอด 6.45% ฝาพลาสติก 5.67% เชือก 5.61% ตามลำดับ

SHORT CUT

  • น้ำท่วมภาคเหนือทำเศรษฐกิจเสียหายมหาศาล  ในแง่ของสิ่งแวดล้อมจะมีขยะจำนวนมากไหลลงสู่ทะเลในปริมาณที่มากขึ้น
  • กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานว่าที่ผ่านมา ขยะที่พบในทะเลไทยมากที่สุด คือ ขวดพลาสติกเครื่องดื่ม 22 % ต่อมาคือ ถุงพลาสติก 19.42%
  • กรมควบคุมมลพิษ รายงานว่าในปี 2022 ที่ผ่านมา คนไทยสร้างขยะมูลฝอยรวมกันถึง 116 ล้านตัน

น้ำท่วมซัดขยะลงทะเล! พาไปสำรวจสถิติ พบว่า ขยะที่พบในทะเลไทยมากที่สุด คือ ขวดพลาสติกเครื่องดื่ม 22 % ต่อมาคือ ถุงพลาสติก 19.42% ตามด้วย ขวดเเก้ว 10.96% ถุงขนม 7.97% เศษโฟม 7.55%) กระป๋องเครื่องดื่ม 7.46% กล่องอาหารประเภทโฟม 6.92% หลอด 6.45% ฝาพลาสติก 5.67% เชือก 5.61% ตามลำดับ

น้ำท่วมภาคเหนือที่ผ่านมาแน่นอนว่าสร้างความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สิน บ้านเรือนประชาชน ทำเศรษฐกิจเสียหายมหาศาล นอกจากความเสียหายที่กล่าวมาเบื้องต้นแล้ว ในแง่ของสิ่งแวดล้อมจะมีขยะจำนวนมากไหลลงสู่ทะเล ซึ่งปัญหาขยะในทะเลก็เป็นปัญหาที่ไทยยังแก้ไม่ตกอยู่แล้ว มีแต่จะทวีความรุนแรง

ทั้งนี้มีผลสำรวจของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รายงานว่า ขยะที่พบในทะเลไทยมากที่สุด คือ ขวดพลาสติกเครื่องดื่ม 22 % ต่อมาคือ ถุงพลาสติก 19.42% ตามด้วย ขวดเเก้ว 10.96%  ถุงขนม 7.97% เศษโฟม 7.55% กระป๋องเครื่องดื่ม 7.46% กล่องอาหารประเภทโฟม 6.92% หลอด 6.45% ฝาพลาสติก 5.67% เชือก 5.61% ตามลำดับ

จากปัญหาขยะไหลลงทะเลในปริมาณที่มากขึ้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้ แนะ 5 แนวทางแก้ปัญหาทิ้งขยะพลาสติกลงทะเล (Motion Graphic) ดังนี้

  • การรณรงค์ ร่วมกันเก็บขยะตกค้างในระบบนิเวศชายหาด ปะการัง และป่าชายเลน เพื่อลดปริมาณขยะลงสู่ทะเล
  • 2. ใช้วัสดุอื่นทดแทนพลาสติก ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้ถ้วย จาน และหลอดกระดาษ ใช้โฟมชานอ้อย หรือใบตองในการห่ออาหาร
  • 3. รีไซเคิล นำผลิตภัณฑ์พลาสติกเก่านำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle และ Reuse)
  • 4. ติดตั้งทุ่นดักขยะ ในบริเวณคลองท่อระบายน้ำโดยใช้ตาข่ายและอวน หรือแห ดักขยะ จากบริเวณปากแม่น้ำหรือปากคูคลองระบายน้ำป้องกันไม่ให้ขยะพลาสติกหลุดไหลลงทะเล
  • 5. เผาทำลายอย่างถูกวิธี เผาทำลายเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เตาเผาขยะที่ถูกหลักวิชาการและนำพลังงานมาผลิตกระแสไฟฟ้า

น้ำท่วมซัดขยะลงทะเล! สถิติเผยพบ \"ขวดพลาสติก\" มากสุด ตามด้วยถุงพลาสติก

ส่วนความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าภาครัฐเองควรเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะเหล่านี้ เพื่อลดภาระของชุมชนชายทะเล และรักษาระบบนิเวศน์ป่าชายเลน การควบคุมการทิ้งขยะและกำจัดขยะอย่างเหมาะสมทั่วประเทศเพื่อลดปัญหาขยะล้นและรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำ

 

สอดคล้องกับ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า ปัจจุบันประชากรโลกผลิตขยะเป็นจำนวนร้อยล้านตันต่อปี และยังไม่มีวิธีจัดการขยะที่เหมาะสม ทำให้ขยะส่วนมากเข้าไปในสิ่งแวดล้อม กลายเป็นมลพิษทั้งในอากาศ ดิน น้ำ ขณะเดียวกัน กรมควบคุมมลพิษ รายงานว่าในปี 2022 ที่ผ่านมา คนไทยสร้างขยะมูลฝอยรวมกันถึง 116 ล้านตัน และมีเพียง 51.7% เท่านั้น ที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้อง และมีเพียง 26.6% เท่านั้นที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์

ขณะที่ 21.7% ได้รับการกำจัดแบบไม่ถูกต้อง ซึ่ง 12%  ของที่ได้กำจัดขยะแบบไม่ถูกต้องส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติกถึง 10% จะกลายเป็นขยะพลาสติกในทะเล คิดเป็นปริมาณถึง 3 หมื่นล้านตัน ส่วนผลกระทบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล  ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ พบว่า พลาสติกในเต่าทะเล 100%, ปลาวาฬ 59%, แมวน้ำ 36% และ 40% ของสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่สำรวจ และนั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเต่าทะเลราว 100,000 ตัว และนกทะเล 1 ล้านตัวตายในทะเลทุกปี

นอกจากนี้ พลาสติก หรือ ขยะทะเล คือ ไมโครพลาสติกหรือพลาสติกจิ๋ว ที่แตกตัวออกไปปะปนอยู่ในระบบนิเวศ หรือกระทั่งในตัวเรามีนักวิทยาศาสตร์คาดว่าน่าจะมีอยู่ราว 5 หมื่นชิ้นนั้นเป็นเพียงส่วนเดียวของโศกนาฏกรรมความพังพินาศของทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง

โดยเฉพาะในอาณาบริเวณกว่า 3.5 แสนตารางกิโลเมตรของไทย โดยที่ผ่านมามีนกทะเล ตายจากขยะพลาสติกแข็งมากที่สุด ซึ่งนกเหล่านี้จะนึกว่าขยะพลาสติกแข็งจำพวก แก้วพลาสติก หรือถ้วยพลาสติกที่ลอยเหนือผิวน้ำเป็นอาหารจึงกินเข้าไป เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ไม่เพียงเท่านี้ขยะในทะเลยังทำให้ปะการังฟอกขาวอีกด้วย โดยปะการังฟอกขาว (coral bleaching) เป็นปรากฏการณ์ที่เนื้อเยื่อปะการังมีสีซีดหรือจางลงจากการสูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) เกิดจากสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย เช่น อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินไป มีน้ำจืดไหลลงมาทำให้ความเค็มลดลง ตะกอนที่ถูกน้ำจืดไหลพัดพามาจากชายฝั่ง หรือแม้แต่มลพิษที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทางทะเลของมนุษย์ เช่น เป็นการปล่อยน้ำเสีย การทิ้งขยะตามแนวชายหาด ล้วนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่ง

ต้องยอมรับว่าน้ำท่วมปี2567 ในหลายพื้นที่จะทำให้ขยะไหลลงสู่ทะเลจำนวนมาก และไปเพิ่มพูนให้ขยะในทะเลมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือปัญหาสิ่งแวดล้อมจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related