หุ่นยนต์ โรโบฟิช (Robo-Fish) หรือ กิลเบิร์ต (Gilbert) ถือได้ว่าเป็น นวัตกรรมรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะเป็นหุ่นยนต์ปลารักษ์โลก ที่มีความสามารถ กินไมโครพลาสติกเป็นอาหารได้ นั่นหมายความว่า หุ่นยนต์มีส่วนช่วยกำจัดขยะและช่วยดูแลแหล่งน้ำได้
หุ่นยนต์ โรโบฟิช (Robo-Fish) หรือ กิลเบิร์ต (Gilbert) ถือได้ว่าเป็น นวัตกรรมรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะเป็นหุ่นยนต์ปลารักษ์โลก ที่มีความสามารถ กินไมโครพลาสติกเป็นอาหารได้ นั่นหมายความว่า หุ่นยนต์มีส่วนช่วยกำจัดขยะและช่วยดูแลแหล่งน้ำได้
สำหรับ หุ่นยนต์ โรโบฟิช (Robo-Fish) ที่เป็นหุ่นยนต์ปลารักษ์โลก กินไมโครพลาสติกเป็นอาหารนั้น เป็นผลงานที่ชนะการประกวดนวัตกรรม ใน University of Surrey โดยคิดค้นขึ้นมาเพื่อ แก้ไขปัญหาเรื่องขยะพลาสติกในแหล่งน้ำเป็นปัญหาสำคัญ
โดย Robofish หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก กินไมโครพลาสติกเป็นอาหาร รูปลักษณ์คือ มีความยาว 50 เซนติเมตร ขนาดพอๆกับปลาแซลมอน เคลื่อนที่โดยการส่ายหางไปมา แม้จะดูน่ารัก แต่ก็ทรงประสิทธิภาพ โดยหุ่นยนต์จะอ้าปากและใช้เหงือกกรองน้ำ และสามารถกรองไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กถึง 2 มิลลิเมตรได้ นอกจากนี้ ในเวลากลางคืนยังสามารถเรืองแสงได้อีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว ช่วยลดโลกร้อนทันไหม
Power Green Camp ชวนตะลุยบ้านขุนสมุทรจีน Unseen เมืองไทยในสมุทรปราการ
ทั้งนี้ ปัญหาขยะพลาสติกในแหล่งน้ำ ที่เป็นปัญหาใหญ่ของโลก รวมถึงที่ไทยด้วย ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อมหาสมุทร กระทบกระแสน้ำ ทะเลสาบ หนองบึง ซึ่งโรโบฟิช หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก กินไมโครพลาสติกเป็นอาหาร ที่ทำงานได้แบบอเนกประสงค์ ก็จะช่วยแก้ไขปัญหามลภาวะในน้ำได้โดยตรง
สำหรับรุ่นต้นแบบของโรโบฟิชในปัจจุบัน ยังใช้รีโมตคอนโทรลแบบมีสาย แต่รุ่นต่อไปที่กำลังเร่งพัฒนาอยู่ จะสามารถดักจับอนุภาคไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กยิ่งขึ้น และจะว่ายน้ำได้เร็วขึ้น และใช้ระบบควบคุมแบบไร้สาย
ทั้งนี้ ไมโครพลาสติก คือ เศษชิ้นส่วนพลาสติกที่มีขนาดเล็กมาก ๆ จนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร เกิดจากการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติก ซึ่งไมโครพลาสติกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ไพรมารี่ ไมโครพลาสติก (Primary Microplastics) 2. เซนเคินดารี่ ไมโครพลาสติก (Secondary Microplastics)
และไมโครพลาสติกเป็นอันตรายต่อมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ โดย The Guardian เพิ่งจะรายงานข่าว การค้นพบไมโครพลาสติกในร่างกายมนุษย์เป็นครั้งแรก เมื่อ มี.ค. 2022 โดย ผลวิจัยและการทดสอบจาก Vrije Universiteit Amsterdam เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดแบบสุ่ม ซึ่งผลออกมาเป็นที่น่าตกใจ เพราะ 80% จากกลุ่มตัวอย่าง ตรวจจับการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในเลือดได้ และเมื่อวิจัยให้ลึกลงไปอีก ทราบได้ว่า ไมโครพลาสติกในร่างกาย สามารถเดินทางไปได้ในทุกๆ ส่วน ผ่านทางหลอดเลือดในร่างกายมนุษย์ และอาจจะไปสะสมอยู่ที่อวัยวะภายในส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้
ดังนั้น เมื่อมี นวัตกรรม Robofish หุ่นยนต์ปลารักษ์โลก กินไมโครพลาสติกเป็นอาหาร ออกมา ย่อมถือเป็น สัญญาณที่ดี เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการตระหนักถึงปัญหาไมโครพลาสติก
Plastic eating robot fish is here to clean our waters