เช็กเลย รายชื่อ 58 รายชื่อต้นไม้ ปลูกแล้วได้ คาร์บอนเครดิต ใครมีที่ มีพื้นที่ว่าง เตรียมตัวหารายได้จากการปลูกต้นไม้ แล้วได้ คาร์บอนเครดิต ได้เลย แถมเข้ากับเทรนด์รักษ์โลก และ keep the world ด้วย
ปัจจุบัน ประเด็นสิ่งแวดล้อมและเรื่อง คาร์บอนเครดิต เป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะคาร์บอนเครดิต นั่นคือ กลไกสำคัญใหม่ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว ที่กำลังเพิ่มมูลค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการเติบโตขึ้นมาเป็นอย่างมากในระยะหลัง
เอาแค่เฉพาะปี 2565 หรือปี 2022 มูลค่าการค้า "คาร์บอนเครดิต" โตขึ้นถึงจุด 120.3 บาท/ตัน แล้ว ซึ่งถือว่าเติบโตขึ้นมากๆ หากเทียบจากปี 2561 หรือ 2018 ซึ่ง ณ เวลานั้น มูลค่ายังอยู่ที่ 21.37 บาท / ตัน อยู่เลย
หากมองในมุมมองของประชาชนคนทั่วไปแล้ว วิธีที่ง่ายที่สุด ที่จะมี คาร์บอนเครดิต ได้ นั่นก็คือ การ "ปลูกต้นไม้" หรือ ปลูกป่าเพิ่มคาร์บอนเครดิต แต่คำถามที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ทราบทั้งหมดนั่นคือ แล้วต้องปลูกต้นไม้ แบบไหน พันธุ์ใด ชนิดใด จึงจะสามารถแปลงเป็น คาร์บอนเครดิต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"วราวุธ" ย้ำ 2568 ไทยเลิกนำเข้าขยะพลาสติก และ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ 100%
คาร์บอนเครดิตคืออะไร ? และ มูลค่าคาร์บอนเครดิต ในไทยเติบโตถึงจุดไหนแล้ว
10 ประเทศทิ้งขยะพลาสติกลงในทะเลปริมาณมากที่สุด ไทยรั้งอันดับ 5
มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ จะขายคาร์บอนเครดิตอย่างไร ? วิธีสร้างรายได้ ทำอย่างไร ?
ในประเด็นนี้ สามารถไขสงสัยได้แบบกระจ่าง จาก สำนักการปลูกป่า โดยอ้างอิงจาก นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ว่า ปัจจุบัน มี ต้นไม้ 58 ชนิด ที่มีไว้แล้ว ขายคาร์บอนเครดิต ได้
โดยประชาชนทั่วไป หากจะมองหามูลค่า จากคาร์บอนเครดิต ก็เพียงแค่มีที่ดินปลูกต้นไม้ ก็สามารถเข้าสู่ธุรกิจนี้ได้แล้ว โดยนำไม้มาคำนวณคาร์บอนเครดิต เพื่อขายในตลาดการค้าคาร์บอนเครดิต ซึ่งจากข้อมูล กรมพัฒนาธุรกิจ เมื่อวันที่ 20 พ.ค.65 ระบุว่ามีการจดทะเบียนนำต้นไม้มาเป็นหลักประกันทั้งสิ้น 146,282 ต้น เป็นจำนวนเงินค้ำประกัน 137,117,712 บาท ไปแล้ว ซึ่งนับได้ว่ามีการเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก
• 58 รายชื่อต้นไม้ ปลูกแล้วได้ คาร์บอนเครดิต มีดังนี้
1.ตะเคียนทอง
2. ตะเคียนหิน
3.ตะเคียนชันตาแมว
4.ไม้สกุลยาง (ไม่รวมยางพารา)
5. สะเดา
6. สะเดาเทียม
7.ตะกู
8. ยมหิน
9.ยมหอม
10. นางพญาเสือโคร่ง
11. นนทรี
12. สัตบรรณตีนเป็ดทะเล
13. พฤกษ์
14. ปีบ
15. ตะแบกนา
16. เสลา
17. อินทนิลน้ำ
18. ตะแบกเลือด
19. นากบุด
20. ไม้สัก
21.พะยูง
22. ชิงชัน
23.กระซิก
24.กระพี้เขาควาย
25.สาธร
26. แดง
27.ประดู่ป่า
28. ประดู่บ้าน
29.มะค่าโมง
30.มะค่าแต้
31.เคี่ยม
32 .เคี่ยมคะนอง
33.เต็ง
34.รัง
35.พะยอม
36.ไม้สกุลจำปี (จำปีสิรินธร - จำปีป่า)
37.จำปีถิ่นไทย (จำปีดง,จำปีแขก,จำปีเพชร)
38.แคนา
39.กัลปพฤกษ์
40.ราชพฤกษ์
41.สุพรรณิการ์
42.เหลืองปรีดียาธร
43.มะหาด
44.มะขามป้อม
45.หว้า
46.จามจุรี
47.พลับพลา
48.กันเกรา
49.กะทังใบใหญ่
50. หลุมพอ
51. กฤษณา
52. ไม้หอม
53 .เทพทาโร
54. ฝาง
55 ไผ่ทุกชนิด
56. ไม้สกุลมะม่วง
57.ไม้สกุลทุเรียน
58. มะขาม
ที่มา : สำนักการปลูกป่า
UPDATE : วันที่ 21 ต.ค. 65
ปัจจุบัน กลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ในประเทศไทยดำเนินการโดย องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดย ประชาชน ที่สนใจในประเด็น ปลูกต้นไม้แล้วได้เงิน ได้คาร์บอนเครดิต สามารถติดต่อขอคำแนะนำได้ที่ www.tgo.or.th หรืออ่านคู่มือภาคประชาชนได้ที่ ซึ่ง เพียงแค่มีที่ดินปลูกต้นไม้ ก็สามารถเข้าสู่ธุรกิจนี้ได้แล้ว โดยการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิตที่สามารถซื้อขายได้ จะประเมินโดยองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก