ภาวะและแนวโน้มตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการ T-VER เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยช่วง 8 เดือนแรก ปี 2565 โต 425% คิดเป็นเพียง 0.3% ของก๊าซเรือนกระจกจากประเทศไทยปล่อยทั้งหมดต่อปี
ประเทศไทยซื้อขายคาร์บอนเครดิตโครงการ “T-VER” 8 เดือนแรกปี 2565 โต 425% เมื่อเทียบกับปริมาณทั้งปี 2564 แม้ว่าตลาดซื้อขายคาร์บอนในไทยยังมีขนาดเล็กในช่วง 8 เดือนแรกปี 2565 คิดเป็นเพียง 0.3% ของก๊าซเรือนกระจกจากประเทศไทยปล่อยทั้งหมดต่อปี
ภาวะและแนวโน้มตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่มีการเข้าร่วมโครงการ T-VER เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 อบก. ได้รับรองปริมาณก๊าซได้รับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกภายใต้โครงการ T-VER กว่า 3 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
สำหรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตไนไทยขยายตัวในระดับสูงโดยใน 2564 มีปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้น 61% ขณะที่ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 ก็เพิ่มมากถึง 425% เมื่อเทียบกับปริมาณทั้งปี 2564 เมื่อหากพิจารณาในเชิงมูลค่าพบว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 124.8 ล้านบาท ขยายตัวสูงถึง 1,228% เมื่อเทียบกับทั้งปี 2564 หลังจากราคาคาร์บอนเครดิตปรับตัวสูงขึ้นมากจากปี 2564 ที่เฉลี่ย 34 บาทต่อตันคาร์บอนฯ เป็น 107 บาทต่อตันคาร์บอนฯ ในปี 2565
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
“จักรยานแชร์ใช้” หนุนให้จีนบรรลุเป้าหมายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
BIG ทุ่มงบกว่า 5 แสนล้านบาท สร้างศูนย์ผลิตพลังงานไฮโดรเจนปลอดคาร์บอนฯ
ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 ก็คิดเป็น 99.6% ของทั้งปี 2564 แล้ว อย่างไรก็ดีหากดูข้อมูลทั้งปี 2564 พบว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกในโครงการ T-VER คิดเป็นเพียง 0.9% ของก๊าซเรือนกระจกที่ไทยปล่อย ทั้งหมดต่อปีสะท้อนว่ายังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก ทั้งนี้ในช่วงปี 2558 ถึงสิงหาคม 2565 โครงการ T-VER ส่วนใหญ่กว่า 63% คือโครงการพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น โครงการผลิตพลังงานชีวมวลมิตรผล (ด่านช้าง) โดย บริษัท มิตรผล ไบโอเพาเวอร์ จำกัด (ด่านช้าง) และโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่นครสวรรค์ ประเทศ ไทย โดย บริษัท อีเอ โซล่า นครสวรรค์ จำกัด
อย่างไรก็ตามตลาดซื้อขายคาร์บอนในไทยยังมีขนาดเล็ก โดยในปี 2564 คิดเป็นเพียง 0.1% และในช่วง 8 แรกของปี 2565 คิดเป็นเพียง 0.3% ของก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศไทยปล่อย ทั้งหมดต่อปีตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่ามาตรการ ด้านราคาคาร์บอนในต่างประเทศอยู่มาก เช่น ระบบ Emissions Trading Scheme (ETS) ของยุโปที่ครอบคลุม 36% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในยุโรป 2 ขณะที่งานวิจัยของ World bank ล่าสุดชี้ว่ามาตรการด้านราคา คาร์บอน ทั้งการเก็บภาษีคาร์บอน และระบบ ETS ในปัจจุบันน้ันครอบคลุม 23% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งโลก