svasdssvasds

น้ำท่วมหนัก เป็นหน้าที่หน่วยงานใด ที่ต้องแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ

น้ำท่วมหนัก เป็นหน้าที่หน่วยงานใด ที่ต้องแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ

ร่วมกันหาคำตอบ เวลาประเทศไทยเจอน้ำท่วมหนัก เป็นหน้าที่หน่วยงานใด ที่ต้องแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ โดย วรรธนศักดิ์ สุปะกิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เผยว่า ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะเป็นหน่วยแรกในการแจ้งเตือนประชาชน

SHORT CUT

  • ประเทศไทยมีหน่วยงานเกี่ยวข้องกับระบบเตือนภัยมากกว่า 14 หน่วยงาน โดยมี 5 หน่วยงานหลักดูแลการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า  ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา, ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ, กรมชลประทาน, กรมทรัพยากรธรณี และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักตาม พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
  • แม้มีหลายหน่วยงาน แต่ยังพบปัญหาการประสานงานและการใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในการเตือนภัย 

ร่วมกันหาคำตอบ เวลาประเทศไทยเจอน้ำท่วมหนัก เป็นหน้าที่หน่วยงานใด ที่ต้องแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ โดย วรรธนศักดิ์ สุปะกิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เผยว่า ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะเป็นหน่วยแรกในการแจ้งเตือนประชาชน

เรื่องราวของประเด็นภัยพิบัติอย่างน้ำท่วม กลายเป็น Hot issue ที่ทุกวงแชท วงสนทนาต้องมี เพราะเรื่องน้ำท่วมถือเป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหาย สร้างไฟแห่งความเดือดร้อนในหัวใจไปทุกย่อมหญ้า 

และหนึ่งในประเด็นสำคัญ ที่มักจะถูกตั้งคำถามก็คือ เรื่องระบบการเตือนภัย ให้ประชาชนทราบ  ทราบกันหรือไม่ว่า ประเทศไทยมีหน่วยงานเกี่ยวข้องกับระบบเตือนภัยมากกว่า 14 หน่วยงาน แต่ทุกๆ ครั้งที่เกิดเหตุภัยพิบัติทำไมจึงยังถูกตั้งคำถาม การเตือนภัยยังไร้ประสิทธิภาพ  เหตุใดแต่ละหน่วยงานมีข้อมูล แต่กลับไม่ถูกนำมาใช้เตือนภัยมากนัก

ในช่วงเวลา ที่ฝนกระหน่ำ ลงมาอย่างหนักสิ่งที่ประชาชนอยากรู้ คือ น้ำจะท่วมสูงแค่ไหน ต้องขนย้ายข้าวของเครื่องใช้หรือไม่ แต่ทุกวันนี้ยังเป็นต่างหน่วยต่างเตือน การคาดการณ์ภัยที่จะมาถึงจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของคนในแต่ละพื้นที่ จึงทำให้เกิดความเสียหายครั้งใหญ่

ในช่วงเวลาหนึ่ง ประเทศไทยมีความพยายามผลักดัน พัฒนาระบบเตือนภัยฉุกเฉิน "Cell Broadcast Service" ผ่านมือถือครั้งแรก 5 ภาษา ไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และ รัสเซีย แต่นั่นคือสิ่งที่จะเริ่มต้นปี 2568 

แต่ทว่า ในปัจจุบันไทยมีระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าถึง 5 หน่วยงานดูแล ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา, ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ, กรมชลประทาน, กรมทรัพยากรธรณี และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

โดย ภารกิจ คือ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ การแจ้งเตือนล่วงหน้า การแจ้งเตือน การอพยพ และนอกจากนี้ไทยยังมีหน่วยงานเกี่ยวข้องกับระบบเตือนภัยมากกว่า 14 หน่วยงานด้วยกันที่ ปภ.รวบรวมไว้ แต่ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติความเสียหาย

น้ำท่วมหนัก เป็นหน้าที่หน่วยงานใด ที่ต้องแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ Credit ภาพ เทศบาลเวียงพางคำ

ประเด็นนี้ SPRiNG Keep the World ได้สอบถามไปยัง วรรธนศักดิ์ สุปะกิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เพื่อหาคำตอบ , ซึ่งเราก็ได้คำตอบที่น่าสนใจ 

ถ้าตามกฎหมาย ต้องบอกก่อนว่าเป็นหน้าที่ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ , แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้มีการโอนย้ายมาอยู่ภายใต้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แล้ว ดังนั้น แปลว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นี่คือหน่วยงานที่ถือ การทำงานตาม พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งการที่จะต้องมีการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า สิ่งที่จะเกิดขึ้นของคณะกรรมการภัยพิบัติแห่งชาติ ที่ได้ออกแนวทางกำหนด ที่วางไว้ให้ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีแนวทางอย่างไร

วรรธนศักดิ์ สุปะกิ่ง ตอบคำถามอย่างตรงประเด็น พร้อมกับ ขยายความด้วยว่า ในการทำงาน ตามฟังก์ชัน ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด ในการสื่อสาร การเตือนภัย ในส่วนราชการ ก็ดำเนินการได้ในระดับหนึ่งแล้ว

วรรธนศักดิ์ สุปะกิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

โซ่ข้อกลาง - ระดับจังหวัด จะช่วยให้งานแจ้งภัยพิบัติเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ผ่านมา ในสิ่งที่พบก็คือการเตือนภัยจากข้างบน การวิเคราะห์จากส่วนกลาง ลงไปสู่พื้นที่ จากระดับบนลงล่าง  อาจจะเป็นการทำงาน ขาเดียวแบบนี้ไม่ได้  หน่วยงานของไทย อาจจะต้องใช้ โซ่ข้อกลาง ที่รับสารจากหน่วยงานส่วนกลาง ลงไปทำงานในพื้นที่อีกที 

โซ่ข้อกลางนั้นต้องเป็นระดับจังหวัด  ตามฟังก์ชั่นแล้ว  ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดย ปภ. จะต้องแจ้งลงไป ว่าจะต้องมีการเตรียมการรับมือของจังหวัดต่างๆ  ก็จะถูกส่งต่อข้อมูลไปที่จังหวัดอยู่แล้ว  ทางจังหวัด หรือ ปภ. จังหวัด ก็จะแจ้งไปยังนายอำเภอ  นายอำเภอก็จะแจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จากนั้นก็ต้องขับเคลื่อนต่อว่า หลังจากนั้น เราจะสื่อสารไปยังประชาชนอย่างไร ?  การสื่อสารไปยังประชาชนนั้น ก็ต้องย้อนกลับมา 

น้ำท่วมหนัก เป็นหน้าที่หน่วยงานใด ที่ต้องแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ Credit ภาพ เทศบาลเวียงพางคำ

การแจ้งเตือนที่เกิดขึ้น ในประเด็นที่รัฐ ไม่ได้ลงรายละเอียด ไม่ได้บอกว่าให้ประชาชนทำอะไร ? 

ส่วนอีกประเด็นที่หลายคนตั้งข้อสงสัยก็คือ เพราะเหตุใด หน่วยงานต่างๆ จึงไม่ระบุลงลึกถึงรายละเอียด ในการแจ้งเตือน อาทิ ไม่ยอมบอกว่าภัยพิบัติจะรุนแรงระดับไหน ถึงเวลาไหนที่ต้องย้ายอพยพแล้ว , โดย วรรธนศักดิ์ สุปะกิ่ง ได้มีมุมมองว่า ในการแจ้งเตือนต่างๆ ควรจะเป็นการทำงานแบบ 2 ขั้นตอน  , 

• ในขั้นตอนที่ 1 ก่อน ก็คือแจ้งประชาชนในพื้นที่ให้เตรียมพร้อม  (แต่ไม่ได้หมายความให้อพยพเลย)  
• ขณะที่ ขั้นตอนที่ 2 พอสถานการณ์มันเริ่มหนักขึ้น ก็ให้ออกจากพื้นที่ได้ทันที  (เพราะมีการแจ้งเตือนให้เก็บของไว้แล้ว) ซึ่ง นี่คือระบบการทำงานแบบ จาก ข้างบนลงสู่ข้างล่าง 

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การที่จะหนักรู้ให้กับประชาชน ท้องถิ่น ให้มีความรู้ วิเคราะห์และติดตามเองได้ด้วยเช่นกัน เพราะว่า ในโลกของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อยู่ดีๆ ฝนก็ตกขึ้นมามากกว่าปกติได้ บางที คนที่อยู่ในพื้นที่อาจจะติดตามสถานการณ์ได้ด้วยตัวเขาเอง 
คนในพื้นที่ สามารถเปิดดูชุดข้อมูลของหน่วยงานรัฐ 

ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์อุทกภัย ,ก็เหมือนกับที่ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ได้จัดทำระบบติดตามสถานการณ์น้ำลงไปในตัวจังหวัดแล้ว  ตัวจังหวัดเอง สามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญ มาวิเคราะห์ และทำงานอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้น อาจจะไม่ต้องรอ หนังสือ , ทางจังหวัดเอง อาจจะเห็น ว่า อาจจะต้องดำเนินการอะไรบางอย่าง ก็น่าจะเริ่มจากจังหวัดลงไปพื้นที่ต่อได้เลย 

น้ำท่วมหนัก เป็นหน้าที่หน่วยงานใด ที่ต้องแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ Credit ภาพ เทศบาลเวียงพางคำ

แอปติดตามสถานการณ์น้ำจากหน่วยรัฐ มีอะไรบ้าง ?

อย่างไรก็ตาม สำหรับประชาชนทั่วไป สามารถใช้เทคโนโลยี ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมได้  โดยทาง สสน. และ สทนช. ก็ได้ มีการจัดทำข้อมูล ลงไปในแอปพลิเคชั่น ให้คนทั่วไปใช้งานได้ง่ายๆ แล้ว  ผ่านทางแอป , อย่างของ สสน. ใช้ แอป Thaiwater มีทั้งข้อมูลฝน ระดับน้ำ แบบเรียลไทม์เลย แล้วก็ข้อมูลการคาดการณ์ฝน 7 วัน มีอยู่ในแอปอยู่ตลอด  ดังนั้น หากประชาชนเอะใจเวลาฝนตกหนัก ก็เปิดไปดูสถานีที่อยู่ใกล้บ้าน

ขณะเดียวกัน ถ้าหากรัฐสามารถทำให้ประชาชน ได้มีองค์ความรู้  ร่วมถึงทำให้หน่วยงานท้องถิ่นมีองค์ความรู้ มันก็อาจจะทำให้  คนในพื้นที่ พร้อมที่จะออกมา จากพื้นที่ประสบภัยด้วยตัวเขาเองด้วย มันจะต้องทำทั้งสองขา ทั้งจากบนลงล่าง และ จากคนในพื้นที่ ขึ้นมาสู่ข้างบน , และมันจะเจอกันที่ตรงกลางพอดี 

ความรุนแรงความเสียหายต่อทรัพย์สินก็จะไม่หนักหนา สาหัส , อะไรที่หนัก ก็จะกลายเป็นเบา

น้ำท่วมหนัก เป็นหน้าที่หน่วยงานใด ที่ต้องแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ
 

related