svasdssvasds

ไฟกระถางคบเพลิงโอลิมปิก ไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล - เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ไฟกระถางคบเพลิงโอลิมปิก ไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล - เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ชวนรู้จัก ไฟในกระถางคบเพลิงโอลิมปิก 2024 ที่อยู่บนพื้นฐานรักษ์โลก Keep The World นี่คือครั้งแรกที่ ไร้เปลวไฟ และใช้พลังงานหมุนเวียน และไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

โอลิมปิก 2024 ถือว่าเป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ทั้งในแง่การแข่งขันต่างๆ ในแง่เทคโนโลยีที่พัฒนา เรื่องราว Side Story มากมายที่คนให้ความสนใจ ทั้งการสร้างแรงบันดาลใจต่างๆ 

ส่วนในแง่ของสิ่งแวดล้อมนั้น หลายๆคนก็ให้ความสนใจ และทางฝั่งเจ้าภาพปารีส Paris ก็ใส่ใจเรื่องนี้ เป็นอย่างยิ่ง สังเกตได้จากหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้องกับโอลิมปิก 2024 มีประเด็นรักษ์โลกเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ เรื่องแท่นรับเหรียญรางวัลโอลิมปิก , เรื่องคุณภาพน้ำในแม่น้ำแซน ที่เจ้าภาพใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง 

ไฟในกระถางคบเพลิงโอลิมปิก 2024 อยู่บนพื้นฐานรักษ์โลก  ไร้เปลวไฟ และใช้พลังงานหมุนเวียน และไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Credit ภาพ REUTERS

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งสิ่ง เจ้าภาพ ฝรั่งเศส พยายามรักษ์โลกให้มากที่สุด นั่นคือ เรื่อง ไฟกระถางคบเพลิงโอลิมปิก บนแนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล  โดยนี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โอลิมปิก  ที่เปลวไฟโอลิมปิกในกระถางคบเพลิง ไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล  และส่องแสงโดยการผสมผสานระหว่างเมฆหมอกและแสง ด้วยไฟสปอตไลต์ LED 40 ดวง ส่องแสงไปยังเมฆหมอกที่สร้างโดยหัวฉีดน้ำแรงดันสูง 200 จุด จากพลังงานหมุนเวียน 100% ซึ่งสนับสนุนโดย EDF (Électricité de France) สอดรับกับเจตนารมณ์ โอลิมปิกรักษ์โลก ของ ปารีส 2024
ไฟในกระถางคบเพลิงโอลิมปิก 2024 อยู่บนพื้นฐานรักษ์โลก  ไร้เปลวไฟ และใช้พลังงานหมุนเวียน และไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Credit ภาพ REUTERS

สำหรับ กระถางคบเพลิงโอลิมปิก 2024  ยังถือได้ว่า มีกิมมิกอีก นั่นคือ เป็น "กระถางคบเพลิงลอยได้"  โดยสามารถลอยได้สูงกว่า 60 เมตรจากพื้น เพื่อให้คนสามารถเห็นกระถางคบเพลิงได้ไม่ว่าจะอยู่ที่มุมไหนของกรุงปารีส

นอกจากนี้ ที่ตั้งกระถางคบเพลิงโอลิมปิก 2024 ยังแฝงนัยถึงการรำลึกประวัติศาสตร์การบินของมวลมนุษยชาติอีกด้วย เพราะการบินด้วยบอลลูนเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส โดยเมื่อปี 1783 สองพี่น้องมงกอลฟีเยร์ (Montgolfier) ได้ประดิษฐ์บอลลูนลมร้อนและนำพามนุษย์ขึ้นบินสำเร็จเป็นครั้งแรก และไม่เพียงแค่สองพี่น้องมงกอลฟีเยร์เท่านั้น ฌาก ชาร์ลส์ (Jacques Charles) ได้ประดิษฐ์บอลลูนแก๊สไฮโดรเจนและนำพามนุษย์ขึ้นบินสำเร็จไม่กี่วันหลังจากนั้น จากจุดเดียวกันในสวนตุยเลอรี (Tuileries) ซึ่งถือเป็นสถานที่ตั้งกระถางคบเพลิงโอลิมปิก 2024 ในครั้งนี้

ไฟในกระถางคบเพลิงโอลิมปิก 2024 อยู่บนพื้นฐานรักษ์โลก  ไร้เปลวไฟ และใช้พลังงานหมุนเวียน และไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Credit ภาพ REUTERS

ไฟในกระถางคบเพลิงโอลิมปิก 2024 อยู่บนพื้นฐานรักษ์โลก  ไร้เปลวไฟ และใช้พลังงานหมุนเวียน และไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Credit ภาพ REUTERS

related