svasdssvasds

บทบาทรัฐไทย พร้อมแค่ไหน แก้วิกฤตโลกเดือด?

บทบาทรัฐไทย พร้อมแค่ไหน แก้วิกฤตโลกเดือด?

เมื่อโลกไม่อาจหวนคืนแก้ไขได้อีกแล้ว ไทยพร้อมแค่ไหน รับมือโลกเดือด รัฐไทยจะแก้วิกฤตปากท้องคนไทยอย่างไร ท่ามกลางสงครามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

SHORT CUT

  • เป้าหมายรัฐคืออีก 10 ปีข้างหน้าจะเทไปแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเกือบทั้งหมด 
  • ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมีมูลค่าทางเศรษฐกิจนับร้อยกว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินทองต่าง ๆ ที่ทั่วโลกมาเสนอไว้เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ก็มีการพูดถึง มีการทวงถามขึ้นบนเวทีนานาชาติ ตอนนี้ยังต้องคุยกันต่อไป และติดตามว่าจะไปทิศทางไหน
  • กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ดำเนินการออกนโยบายระดับประเทศ จัดทำพ.ร.บ.ที่กำลังจะเกิดขึ้น ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนให้อนุกรรมการด้านกฎหมายมารีวิวอีกรอบหนึ่ง และเพื่อส่งต่อให้ประชาชนพิจารณาต่ออีกรอบหนึ่ง

เมื่อโลกไม่อาจหวนคืนแก้ไขได้อีกแล้ว ไทยพร้อมแค่ไหน รับมือโลกเดือด รัฐไทยจะแก้วิกฤตปากท้องคนไทยอย่างไร ท่ามกลางสงครามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

“ทุกอย่างคงกลับไปเป็นเหมือนเดิมไม่ได้ แต่เราจะอยู่อย่างไรกับมัน เราจะลดการเปลี่ยนแปลงของโลกให้ช้าลงได้อย่างไร ตามที่นานาชาติเค้าตั้งเป้าหมายไว้ อันนี้เป็นสิ่งที่ท้าทาย” ปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าว

ปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2567 เครือเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์ ได้จัดเวทีสัมมนา Innovation Keeping The World ณ SCBX NEXT STAGE @NEXT TECH ชั้น 4 สยามพารากอน เพื่อ “คนรักษ์โลก”

นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้ขึ้นกล่าวในหัวข้อ “เป้าหมายไทย สู้ภาวะโลกเดือด” โดยนายปวิชได้กล่าวในฐานะรัฐบาลฯว่า 

หลายท่านคงได้เห็นและได้ทราบแล้วว่า โลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป มีหลายอย่างเกิดขึ้นบนโลกของเรา เมื่อก่อนประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26.8 องศาเซลเซียส แต่ตอนนี้ทะลุไป 40 แล้ว ซึ่งประเทศที่เผชิญอุณหภูมิสูงผิดปกติก็จะได้รับผลกระทบหมด ไม่ว่าจะเป็นแล้ง น้ำท่วม การขาดแคลนเชิงเกษตรกรรมต่าง ๆ การสูญเสียทรัพยากร ทั้งบนบกและในทะเล

หน้าที่ของรัฐบาล แก้วิกฤตโลกเดือด

ซึ่งในส่วนของหน้าที่ภาครัฐ ก็คือการบอกกล่าว ว่าเราจะมีแนวทางในการรับมือในอนาคตอย่างไร ซึ่งในอีก 10 ข้างหน้า เราจะเทไปยังสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศที่เปลี่ยนแปลง การลดความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น

ปัญหาสิ่งแวดล้อม มีผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจนับร้อยกว่าล้านเหรียญสหรัฐดอลลาร์ เพราะฉะนั้น มาตรการทางเศรษฐกิจของทั่วโลกก็ได้เกิดขึ้น เช่น CBAM คาร์บอนข้ามพรมแดน ภาคการเดินเรือ ภาคการบิน และการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในระดับนานาชาติได้

ต้องแก้ร่วมกับนานาชาติ มิใช่แค่ไทย

ในการประชุม COP28 เมื่อปีที่ผ่านมา มีคนบอกว่า เราไม่เดินไปข้างหน้า การดำเนินงานของนานาชาติเหมือนย่ำอยู่กับที่ ไม่มีความก้าวหน้าอะไรเลย ซึ่งนี่ก็เป็นหน้าที่เราที่ต้องไปคุย ซึ่งรวมถึงเราเองก็ต้องเปลี่ยน มาตรการต่าง ๆ ที่มีการพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มการใช้พลังงานทางเลือก การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การยกเลิกการใช้พลังงานที่สกปรก เช่น ถ่านหิน เป็นกระบวนการที่ไม่สามารถควบคุมได้ อันนี้เราจะต้องยกเลิกไปให้หมด เงินทองต่าง ๆ ที่ทั่วโลกมาเสนอไว้เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ก็มีการพูดถึง มีการทวงถามขึ้นบนเวทีนานาชาติ ตอนนี้ยังต้องคุยกันต่อไป และติดตามว่าจะไปทิศทางไหน

cop28

นโยบายแก้โลกเดือดรัฐไทยถึงไหนแล้ว?

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ดำเนินการออกนโยบายระดับประเทศ จัดทำพ.ร.บ.ที่กำลังจะเกิดขึ้น ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนให้อนุกรรมการด้านกฎหมายมารีวิวอีกรอบหนึ่ง และเพื่อส่งต่อให้ประชาชนพิจารณาต่ออีกรอบหนึ่ง

อีกอย่างคือการเงินการลงทุนก็เป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่เรากำลังมองอยู่ในอนาคต เช่น การเปลี่ยนผ่านพลังงาน ก็ต้องใช้นวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน นวัตกรรมดูดจับก๊าซคาร์บอน หรือการทำไฮโดรเจน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีเงินสนับสนุน

ปัจจุบันเราเริ่มมี Green financing ของภาคสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนภาคธุรกิจ SMEs ต่าง ๆ ที่มีเป้าขับเคลื่อนประเทศให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังขาดความพร้อมด้านการเงินและเทคโนโลยี

เทคโนโลยีก็ต้องใช้เงิน ใช้งบประมาณต่าง ๆ เราก็ต้องคุยว่า เราจะเพิ่มสัดส่วนงบประมาณทุนงานวิจัยของประเทศไทยในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร

Vision ของประเทศไทย เราจะไปถึง Net Zero ได้อย่างไร?

ภายในปี 2030 เรามีเป้าหมายว่าจะบรรลุเป้า NDC 1 (NDC : Nationally Determined Contributions การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด) ให้ได้ 30-40% ส่วนอีก 10% ที่เหลือจะมาจากนานาชาติ  ที่มาจากความช่วยเหลือในระดับทวิภาคีเอง หรือการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภายใต้ข้อตกลงปารีส

บทบาทรัฐไทย พร้อมแค่ไหน แก้วิกฤตโลกเดือด?

ปีหน้า ไทยมีการบ้าน โดยจะต้องส่งเป้าหมาย NDC 2 ให้กับ UNFCCC สิ่งท้าทายคือ จาก 40% เราจะเพิ่มก้าวกระโดดให้เป็น 50-60% ได้อย่างไร ซึ่งทุกภาคส่วนต้องมีการปรับเปลี่ยน ไม่ว่าจะปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่ป่า การนำเทคโนโลยีมาใช้ และในปี 2050 เป้าหมายของไทยคือ เลิกใช้ถ่านหิน 100%

นายปวิช ทิ้งท้ายไว้ว่า “โควิดว่าหนักแล้ว Climate change กับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจะหนักกว่า ขอให้ทุกท่านได้ตระหนัก ท่านปลัดพูดเสมอ ว่ามนุษย์ไม่สามารถอยู่ได้ หากปราศจากธรรมชาติ ดังนั้นเราต้องอิงไปอยู่กับธรรมชาติ ใช้ชีวิตอิงกับธรรมชาติ ก็ดำเนินชีวิตต่าง ๆ ก็ขอให้คิด ว่าเราจะทำอย่างไรให้เราเป็นประชากรโลก ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย วิธีการที่เราใช้ ณ ปัจจุบัน มันไม่ได้กระทบแค่ประเทศไทย แต่กระทบต่อทั่วโลก เพราะฉะนั้น กิน อยู่ รู้ คิด เราถึงจะอยู่ยนสังคมที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน และสังคมคาร์บอนต่ำ และเราถึงจะอยู่กับ Blue Planet ใบนี้ได้อีกนาน”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related