SHORT CUT
Climeworks เปิดตัว แมมมอธ (Mammoth) โรงงานดักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ประเทศไอซ์แลนด์
หากเปิดให้บริการเต็มรูปแบบจะสามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 36,000 ตันต่อปี
Climeworks ใช้วิธีการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไว้ใต้ดิน โดยผสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเข้าด้วยกัน แล้วฉีดเข้าไปในหินบะซอลต์ที่ระดับความลึก 1,000 เมตร
พาชม! โรงงานเก็บคาร์บอนไอซ์แลนด์ ใหญ่สุดในโลก ความหวังใหม่ลดโลกร้อน ใช้กระบวนการดักจบอากาศโดยตรง หรือ DAC และวางจะสร้างโรงงานอีกในหลายพื้นที่ทั่วโลก
ทั่วโลกเดินหน้าลดโลกร้อน ล่าสุด บริษัทเทคโนโลยีสภาพอากาศของสวิส Climeworks เปิดตัว แมมมอธ (Mammoth) โรงงานดักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่เมืองเฮลลิสไฮดิ ประเทศไอซ์แลนด์ โดยใช้กระบวนการดักจบอากาศโดยตรง หรือ DAC และวางจะสร้างโรงงานอีกในหลายพื้นที่ทั่วโลก
ทั้งนี้ DAC เป็นหนึ่งวิธีที่ใช้ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ แต่ยังคงต้องพิสูจน์ว่าจะสามารถนำไปใช้จริงได้มากเพียงใด และช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้มากเท่าไหร่
โดย Mammoth นับเป็นโรงงาน DAC ขนาดใหญ่ที่สุดที่ดำเนินกิจการอยู่ แต่โดยรวมแล้วถือว่าค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับโครงการอื่น ๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ของ Climeworks ซึ่งจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้โลกเห็นว่าเทคโนโลยีนี้สามารถใช้งานได้จริง และเป็นธุรกิจที่สามารถเติบโตได้
สำหรับโรงงาน DAC สำหรับดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ครั้งแรกในไอซ์แลนด์ โดยมีให้บริการแก่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ภายนอกโรงงานจะมีตู้คอนเทนเนอร์แบบแยกส่วนวางเรียงราย พร้อมพัดลมดูดอากาศทำหน้าที่คอยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อดูดก๊าซจนเต็มแล้ว แผ่นกรองอากาศจะได้รับความร้อนประมาณ 100 องศาเซลเซียส ในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
อย่างไรก็ตามกลไกการทำงาน จะมีผสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเข้าด้วยกัน แล้วฉีดเข้าไปในหินบะซอลต์ที่ระดับความลึก 1,000 เมตร จากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับหิน จนกลายเป็นแร่ตระกูลคาร์บอเนตอยู่ใต้ดินนอกจากนี้ Climeworks ยังใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพที่มีอยู่มากมายและแหล่งกักเก็บคาร์บอนใต้ดินใน เฮลลิสไฮดิ ทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายท่อขนาดใหญ่สำหรับขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับได้ ตลอดจนมีพลังงานทดแทนในการขับเคลื่อนโรงงาน
โดยปัจจุบันแมมมอธได้รับการติดตั้งตู้คอนเทนเนอร์ไปแล้ว 12 ตู้ โดยทาง Climeworks จะติดตั้งตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มอีก 60 ตู้ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2024 หากแมมมอธเปิดให้บริการเต็มรูปแบบจะสามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 36,000 ตันต่อปี คิดเป็นเกือบ 10 เท่าของออร์ก้า แต่ก็ยังไม่มากพอเมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซคาร์บอนเกือบ 13 ล้านเมตริกตัน ที่ Microsoft ปล่อยออกมาในปี 2022
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วาฬฮีโร่กู้โลกตัวจริง กักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าต้นไม้ 2 เท่า บรรเทาโลกร้อน
เร่งศึกษาศักยภาพ “กักเก็บคาร์บอน” อ่าวไทยตอนบน ดันไทยสู่ Net Zero
เผยไม้ตาย ปตท.สผ. เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน อีกหนึ่งทางเลือกกู้โลก