SHORT CUT
เรารู้กันดีว่าต้นไม้ช่วยในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่รู้ไหมว่าในมหาสมุทรมีสัตว์ชนิดหนึ่งที่ช่วยกู้โลกร้อนด้วยการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ นั่นคือวาฬนั่นเอง
วาฬสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือโลกร้อนได้ โดยการกักเก็บคาร์บอนในร่างกาย และขนส่งสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อห่วงโซ่อาหารในมหาสมุทร
วาฬเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีอายุยืนยาวที่สุดในโลก และจำนวนประชากรของวาฬก็กำลังลดลงเนื่องจากการล่าวาฬเชิงพาณิชย์ในช่วงทศวรรษปี 1800 ซึ่งการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรวาฬสามารถบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการเพิ่มการดักจับคาร์บอน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสัตว์ทะเลและสัตว์บก
มนุษย์ฆ่าวาฬมานานหลายศตวรรษ ร่างกายของวาฬมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ตั้งแต่เนื้อสัตว์ น้ำมัน ไปจนถึงกระดูกวาฬ บันทึกการล่าวาฬเชิงพาณิชย์ที่เก่าแก่ที่สุดคือในปีคริสตศักราช 1000 ตั้งแต่นั้นมา มีวาฬหลายสิบล้านตัวถูกฆ่าตาย และผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าจำนวนประชากรอาจลดลงมากถึง 66-90%
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าวาฬมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดกลไกกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่นเดียวกับต้นไม้ในป่าฝนหรือสาหร่ายทะเล วาฬมีประสิทธิภาพในการดักจับและกักเก็บคาร์บอนในชั้นบรรยากาศโดยตรงในร่างกายขนาดใหญ่ตลอดชีวิตอันยาวนาน
เมื่อวาฬตายซากที่อุดมด้วยคาร์บอนของพวกมันมักจะจมลงสู่ก้นทะเล คาร์บอนที่ถูกดักจับและป้องกันไม่ให้กลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้วาฬยังมีส่วนช่วยในการดักจับคาร์บอนทางอ้อมด้วยการจัดหาของเสียที่อุดมด้วยสารอาหารให้กับแพลงก์ตอนพืช ซึ่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก
วาฬย่อยและกักเก็บเหยื่อที่อุดมด้วยคาร์บอนในปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศเพียงเล็กน้อยเท่านั้น กระบวนการนี้ทำให้วาฬกักเก็บคาร์บอนในร่างกายได้มากกว่าต้นไม้ ซึ่งวาฬ 1 ตัว สามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 33 ตันตลอดอายุขัย ต้นโอ๊กที่มีชีวิตซึ่งเป็นหนึ่งในต้นไม้ดักจับคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 12 ตันในช่วงอายุสูงสุด 500 ปี
หลังจากที่วาฬตาย ซากของพวกมันมักจะจมลงสู่ก้นทะเล เพื่อดักจับคาร์บอนที่สะสมอยู่ในร่างกายของพวกมันที่ก้นมหาสมุทร ซากวาฬที่อยู่ใต้มหาสมุทรสามารถกักเก็บคาร์บอนได้นานนับร้อยหรือหลายพันปีเลยทีเดียว
สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลลึกจำนวนมากวิวัฒนาการโดยอาศัยสารอาหารจากซากสัตว์ที่จมลงในมหาสมุทร เมื่อซากสัตว์สลายตัวและถูกสัตว์ทะเลย่อยสลาย คาร์บอนนั้นก็จะถูกแยกออกเป็นตะกอนและหมุนเวียนไปตามระบบนิเวศใต้ทะเลลึก เพื่อป้องกันไม่ให้กลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับสัตว์ทะเล NOAA Fisheries เป็นองค์ที่มุ่งมั่นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์คุ้มครองที่เผชิญกับภัยคุกคามที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งการพัฒนาวิทยาศาสตร์และการจัดการที่มุ่งเน้นสภาพภูมิอากาศ
การประเมินความเปราะบางต่อสภาพภูมิอากาศสำหรับสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าชนิดพันธุ์ใดมีความเสี่ยงมากที่สุดและเพราะเหตุใด การวางแผนสถานการณ์เพื่อจัดการกับความไม่แน่นอน คาดการณ์ผลกระทบ และจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการบรรเทาและฟื้นฟู
ที่มา : NOAA Fisheries / BBC
เนื้อหาที่น่าสนใจ :