SHORT CUT
รู้ไหมว่านอกจากต้นไม้ที่ทำหน้าที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรยังมีส่วนช่วยในการกักเก็บคาร์บอนได้ด้วย
จากการศึกษาสัตว์ทะเลมีกระดูกสันหลังสามารถช่วยดักจับและแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้
รู้ไหมว่าสัตว์ทะเลอันดับต้นๆ ที่ช่วยกู้โลกร้อน คือ วาฬ ซึ่งปลาวาฬจะสะสมคาร์บอนในร่างกายตลอดในช่วงชีวิตที่ยืนยาว บางตัวอาจมีอายุยาวนานถึง 200 ปี เมื่อวาฬตายพวกมันจะจมลงสู่ก้นมหาสมุทรและนำคาร์บอนลงไปด้วย และการวิจัยแสดงให้เห็นว่าวาฬยักษ์แต่ละตัวกักก๊าซเก็บคาร์บอนไดออกไซด์โดยเฉลี่ยประมาณ 33 ตัน ขณะที่ต้นไม้ในช่วงเวลาเดียวกันมีส่วนช่วยในการดูดซับคาร์บอนเพียงร้อยละ 3 ของปลาวาฬเท่านั้น ซึ่งวาฬสามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าต้นโอ๊กถึง 2 เท่า
ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลังในทะเลชนิดอื่นๆ กักเก็บคาร์บอนได้ในปริมาณที่น้อยกว่าด้วยระยะเวลาที่สั้นกว่า แต่ความจุรวมเรียกว่า "คาร์บอนชีวมวล" การปกป้องและเสริมสร้างการกักเก็บคาร์บอนสีน้ำเงินในมหาสมุทรในสัตว์ทะเลอาจนำไปสู่ประโยชน์ในการอนุรักษ์และบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การศึกษานำร่องเชิงนวัตกรรมซึ่งดำเนินการในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ช่วยให้เข้าใจศักยภาพของคาร์บอนสีน้ำเงินในมหาสมุทรในการจัดการกับความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และในการสนับสนุนการประมงที่ยั่งยืนและนโยบายทางทะเล
การประเมินแหล่งกักเก็บคาร์บอนชีวมวลของสัตว์กระดูกสันหลังในทะเล มุ่งเน้นไปที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งส่วนใหญ่มีข้อมูลอยู่แล้ว จากการศึกษาพบว่าปี 2561 ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในมหาสมุทรต้องสูญเสียไป 532 ตันเนื่องจากการประมง
ที่มา : NOAA Fisheries / UN Environment Programmme
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
วาฬฮีโร่กู้โลกตัวจริง กักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าต้นไม้ 2 เท่า บรรเทาโลกร้อน
ฉลามวาฬ ว่ายน้ำใกล้หาดหมู่เกาะเสม็ด คาดหากินเพลินและไม่พบอาการบาดเจ็บใดๆ
วาฬโอมูระเผือกตัวแรกของโลก! วาฬที่ภูเก็ตผู้เชี่ยวชาญยืนยันดับเบิ้ลหายาก