svasdssvasds

ชวนส่องแนวโน้ม การเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานของไทย ปี 2567

ชวนส่องแนวโน้ม การเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานของไทย ปี 2567

ฟังจากปากผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ถึงเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานของไทย ไทยมีอุปสรรคใดบ้าง ควรหาทางออกอย่างไร รวมถึงพาไปรู้จักเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน หรือ Carbon Capture Storage ตัวช่วยกอบกู้โลกร้อน

เวลานี้ทั่วโลกกำลังพยายามเปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล มาสู่การใช้พลังงานสะอาด สัญญาณนี้สังเกตได้จากข้อสรุปจากการประชุม COP 28 ที่ผ่านมา ประเทศเข้าร่วมเห็นพ้องต้องกันว่าต้องมีการปูทางไปสู่ความมั่นคงทางพลังงาน 

สปริงนิวส์ได้สรุปมุมมองของ แอนเดรียล มอลทิเชน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน ประจำภูมิภาคเอเชีย เอบีบี ถึงเรื่องแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานของไทย ปี 2567 มาให้อ่านกัน

ปัจจัยที่ทำให้พลังงานมีดีมานด์สูงขึ้น อุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานของไทย รวมถึงเป้าหมายต่อไปของภาคพลังงานไทยจะเป็นไปในทิศทางไหน เชิญอ่านได้ด้านล่าง

แอนเดรียล มอลทิเชน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน ประจำภูมิภาคเอเชีย เอบีบี

ประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้พลังงานก็เพิ่มขึ้น

ความต้องการใช้พลังงานของแต่ละประเทศเชื่อมโยงกับปริมาณประชากรอย่างมีนัยสำคัญ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย ประชากรหนุ่มสาวมีน้อยลง ทำให้การใช้พลังงานในประเทศก็ลดลงไปด้วย

ขณะที่ อินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากร 275 ล้านคน คาดว่าภายในปี 2050 ความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้น 300 เท่า มาเลเซียถือเป็นประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตด้านพลังงานสูง โดยในปี 2050 คาดว่าความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้น 60%

แอนเดรียส มอลเทเซน กล่าวว่า “ถ้ามีประชากรเพิ่มขึ้นความต้องการพลังงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย สิ่งที่ตามมาคือคนจะใช้แอร์มากขึ้น คนจะใช้การคมนาคมขนส่งมากขึ้น”

“แต่ถ้าเราสามารถชักจูงให้พวกเขาหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นก็อาจจะทำให้การใช้พลังงานลดลงได้บ้าง ดังนั้นสิ่งที่เราร่วมกันทั้งโลกและพยายามที่จะทำคือการที่จะหันมาใช้พลังงานทดแทนให้ได้มากที่สุด”

อุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานของไทย

แอนเดรียส มอลเทเซน มองว่าโจทย์ที่ใหญ่และท้าทายของไทยคือสิ่งที่เรียกว่า“ปัญหาสามเหลี่ยม” เหลี่ยมแหลกคือ เราจะทำยังไงให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานได้ เหลี่ยมที่สองคือ พลังงานนั้นต้องมีความยั่งยืนหรือปล่อยคาร์บอนต่ำ เหลี่ยมที่สามคือราคาจับต้องได้

ประเทศไทยเหมาะกับพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุด

คำถามคือไทยสามารถบาลานซ์สามเหลี่ยมนี้ได้หรือยัง ยกตัวอย่างเช่นเรื่องราคา สุดท้ายแล้วต้นทุนที่ภาคธุรกิจแบกรับก็จะวนกลับมาที่ประชนอยู่ดี แต่ประชาชนจะยอมจ่ายค่าไฟแพงกว่าเดิม 2 เท่าเพื่อมีพลังงานสะอาดใช้หรือไม่ หรือน้ำมัน SAF รักษ์โลก ประชาชนจะได้บินอย่างสบายใจ แต่ต้องยอมจ่ายค่าตั๋วเพิ่ม ถึงจุดนี้ คนจะแคร์โลกหรือเงินในกระเป๋ามากกว่ากัน

อีกหนึ่งโจทย์คือการเชื่อมกริดระหว่างประเทศ แอนเดรียส มอลเทเซน มองว่า ประเทศไทยยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่มีสเถียรภาพมากเพียงพอที่จะทำการเชื่อมกริดระหว่างประเทศ

ถามว่าทำไมการเชื่อมกริดระหว่างประเทศถึงสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น บางประเทศอาจจะสามารถสร้างพลังงานทดแทนได้เยอะหรือมีไฟฟ้าที่มีกระแสแรงสูงมาก ในขณะที่บางประเทศอาจจะมีพลังทดแทนที่น้อย แต่มีดีมานด์สูง ทว่า ในประเทศยังไม่สามารถผลิตได้มากเพียงพอ

ชวนส่องแนวโน้ม การเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานของไทย ปี 2567

ดังนั้น หากประเทศไทยสามารถสร้างกริดที่เชื่อมระหว่างประเทศและส่งพลังงานในประเทศไปยังประเทศที่เขาต้องการได้ หรือประเทศอื่นส่งมาให้เราได้ ตรงนี้จะทำให้การใช้พลังงานของเรามีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก

มาตรการเชิงรุกจากภาครัฐช่วยได้

“เราต้องทำงานร่วมกันจากหลากหลายภาคส่วน หลากหลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษาเอง รัฐบาลเอง รวมถึงพวกเราทุกคน”

แอนเดรียส มอลเทเซน ยกกรณีตัวอย่างคือช่วงเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวภาครัฐสั่งปิดโรงงานนิวเคลียร์ทั่วประเทศ ผลลัพธ์ที่ตามมาคือการใช้ไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นลดลงทันที 30%

ชวนส่องแนวโน้ม การเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานของไทย ปี 2567

“การแก้ไขปัญหาให้ทุกคนมีฟ้าใช้ได้อย่างยั่งยืนคือรัฐบาลต้องออกกฎหมายที่เข้มงวดออกมา เพื่อให้ทุกคนร่วมมือกัน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด”

การจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Storage) : เทคโนโลยีกอบกู้โลกร้อน

CCS เป็นเทคโนโลยีที่มีมาตั้งแต่ปี 1952 มีไว้เพื่อดักจับก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากภาคอุคสาหกรรม แล้วนำก๊าซคาร์บอนที่ได้ไปเก็บไว้ใต้ดิน ซึ่งเทคโนโลยีชนิดนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยสำคัญ

ฟังดูเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะภาคอุตสาหกรรมเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลก็สิ้นเรื่อง เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนมาที่ปล่อยออกมาเกิดจากการที่เราเผาพวกถ่านหิน ก๊าซ และน้ำมัน

ชวนส่องแนวโน้ม การเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานของไทย ปี 2567

นั่นหมายความว่าถ้าหากสามารถทำให้อุตสาหกรรมหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าโดยเฉพาะพลังงานที่มาจากพลังงานทดแทน แทนที่จะใช้การเผาถ่านหินหรือพวกเชื้อเพลิงฟอสซิลต่างๆก็จะทำให้เป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเกิดขึ้นได้อย่างมหาศาล

แต่กระบวนการมันไม่ได้ง่ายแบบนั้น อย่างที่บอก ขณะนี้โลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน ดังนั้น มันยังคงอยู่ในช่วงฝุ่นตลบ การมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอีกแรงก็ดีกว่าไม่มีเลย

ข้อมูลจาก ABB ระบุว่า 3 ภาคอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุดได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า (29.2%) ซีเมนต์ (26.9%) และเคมีภัณฑ์ (14.8%)

กลับมามองไทย การศึกษาและพัฒนาโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ในประเทศไทย ซึ่งริเริ่มโดยบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.)

ในปี 2564 ปตท.สผ. เป็นผู้นำในความพยายามของโครงการ CCS ของไทยโดยมีศูนย์กลางขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งจะสามารถดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 6-10 ล้านตันต่อปีภายในปี 2573

ควบคู่ไปกับโครงการระดับชาติโครงการแรกที่แหล่งก๊าซอาทิตย์ ที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2570 โดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 1 ล้านตันต่อปี

เป้าหมายด้านพลังงานของไทยตอนนี้คืออะไร? ในมุมมองของ ABB

แอนเดรียส มอลเทเซน กล่าวว่า “สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำคือต้องเร่งอัตราการใช้พลังงานทดแทนให้สูงขึ้น และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกริดให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆในการที่จะแบ่งปันพลังงานระหว่างกัน”

“สำหรับทางฝั่งรัฐบาลเองผมก็มองว่ามีอยู่ 2 ส่วนที่จะต้องทำคือ 1.จะต้องหวังนโยบายให้ประชาชนช่วยกันเปลี่ยนพฤติกรรมของเราในการลดการใช้พลังงานและ 2 คือการที่เราจะต้องมีแรงจูงใจให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เขาจะปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบไฟฟ้า”

“เขาอาจจะได้อินเซนทีฟต่างๆในการที่ลงทุนยกระดับประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ถ้าหากว่ารัฐบาลทำทั้ง 2 อย่างนี้จะทำให้กระบวนการลดคาร์บอนของเราทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น”

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related