ระดมไอเดียที่จะทำให้โลกดีขึ้น! เวที Innovation Keeping the World 2024 นวัตกรรม ยั่งยืน สู้ภาวะโลกเดือด รวมพลคนรักษ์โลกที่อยากให้โลกพ้นวิกฤตจากภาวะโลกเดือดที่เป็นอยู่
วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 - เมื่อโลกของเราร้อนจนเกินจนทนไหว โลกเดือดไม่ใช่เรื่องโกหกอีกต่อไป มหันตภัยโลกทะลุปรอท สัญญาณเตือนภัยมาแล้ว รับมืออย่างไรให้ “รอด” ด้วยเหตุนี้ สปริงส์ นิวส์ SPRiNG News รวมพล ชวน "คนรักษ์โลก" มา MEET UP ในเวที Innovation Keeping the World นวัตกรรม ยั่งยืน สู้ภาวะโลกเดือด ใน วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567เวลา 13.30-18.00 น. SCBX NEXT STAGE @ NEXT TECH ชั้น 4 สยามพารากอน
โดยในงานพบปะแลกเปลี่ยนมุมมองของคนรักษ์โลก และอยากเห็นโลกดีขึ้น แบ่งออกเป็น 3 เซสชั่นหลักๆ ได้แก่ 1. ขับเคลื่อน Climate Tech สู่เป้าหมาย Net Zero 2. Show Case นวัตกรรมทางธุรกิจ “เปลี่ยน” เพื่อโลกยั่งยืน และ 3. เสวนานวัตกรรมรักษ์โลก กับ KOL ตัวจริง
โดย นายสมชาย มีเสน รองประธานกรรมการบริหาร บมจ.เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) ได้เปิดมุมมองว่า เรื่องโลกร้อนจำเป็นที่ทุกองค์กรต้องตระหนักถึงความรุนแรงและต้องรีบแก้ไข เรื่อง Climate Change องค์กรชั้นทั่วโลกจำเป็นต้องทำอย่างจริงจัง จำเป็นต้องตะหนักถึงเรื่องพวกนี้ไว้ เพราะในอดีตองค์กรชั้นนำทำบาปไว้ เพราะปล่อยคาร์บอนไว้เยอะ ขณะที่ในไทยจำเป็นต้องทำ ต้องทำความดีในการควบคุมการปล่อยคาร์บอน เพราะมีเรื่องของการส่งออก เรื่องลดโลกร้อนมันคือเป้าหมายที่ต้องไปด้วยกัน และสื่อในเครือเนชั่น เห็นความจำเป็นที่ต้องให้คนตะหนักถึงการลดโลกร้อน ทั้งในองค์กรก็ทำเป็นตัวอย่าง ทั้งการ ใช้รถ EV ลดกระดาษ เป็นต้น ในฐานะที่ เนชั่นเป็นสื่อ เรามีภารกิจที่ต้องถ่ายทอดไปให้ถึงทุกคน ให้รู้ว่า มีสิ่งใดบ้างที่เราจะช่วยลดโลกร้อนได้บ้าง
ขณะที่ เซสชั่นพิเศษ ในงานนี้ได้รับเกียรติ จาก ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แสดงวิสัยทัศน์ Special Talk ในประเด็น วิกฤตทะเลเดือด โลกจะอยู่ อย่างไร ? โดย ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี ได้ฉายภาพ ปัญหาโลกเดือด ตอนนี้มันรุนแรงมากแค่ไหนแแล้ว และได้ยกตัวอย่างที่อยากให้ทุกคนตะหนักถึงปัญหาโลกเดือดได้แล้ว ถึงขึ้น António Guterres อันโตนิโอ กูร์เตียเรซ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติยังเรียกร้องให้ มองปัญหาเรื่องโลกเดือดเป็นเรื่องเร่งด่วนของมนุษย์โลกแล้ว , ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น มนุษย์ล้วนแล้วแต่ทำให้โลกเดือดขึ้น เมื่อโลกร้อนขึ้น ปะการังก็ฟอกขาว และที่สำคัญ ปีนี้เป็นปีแรก ที่เกิด "โลกรวน" ฝนตกเยอะสุด ขณะที่แล้งก็แล้งสุดทาง
ปีนี้เป็นปีที่หญ้าทะเลไทยตาย เต่าทะเลเป็นเพศเมียมากขึ้น และไม่มีการผสมพันธุ์เพิ่ม สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นและกระทบกับเป็นมนุษย์ด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆอย่างภาพการท่องเที่ยว กระทบต่อความเป็นอยู่ชายฝั่ง ปัญหาโลกเดือดมันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นทางแก้คือ รัฐและเอกชนต้องวางแผนร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ ในภาพรวมแล้ว การแก้นั้น ต้องทำทีละนิดทีละขั้นตอน เพียงเราทุกคนช่วยกันทุกอย่างจะดีขึ้น
ขณะที่ อีกหนึ่งเซสชั่นพิเศษ มี ปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดมุมมอง Special Talk ในหัวข้อ : เป้าหมายไทย สู้ภาวะโลกเดือด ไว้อย่างน่าสนใจ
โดย ปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้ฉายให้เห็นว่า ทางกรมฯ มี 4 กลไกสำคัญในการช่วยให้ประเทศไทย สู้ภาวะโลกเดือดให้ได้ นั่นคือ 1. กรมจะทำหน้าที่วางนโยบายระดับประเทศ , 2 สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วม , 3 การเงินการลงทุน การสร้างนวัตกรรมเพื่อสู้กับโลกร้อน และ 4 เรื่องเทคโนโลยี โดยทั้ง 4 กลไลจะทำให้ไทยมีโอกาสไปถึงเป้าหมาย ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 ขณะที่ ภาคประชาชน ทางกรมก็จะต้องสร้างความเข้าใจให้ได้ ให้คนเข้าใจให้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ เราจำเป็นต้องคิดว่า เราเป็นประชากรโลก ไม่ใช่เป็นประชากรของแค่ประเทศไทย
โดย ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รักษาการ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ให้มุมมองว่า ประเทศไทยกับเรื่องเทคโนโลยีแก้เรื่องวิกฤตนั้น จะต้อง เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน ดังนั้นต้องมีเทคโนโลยีเพื่อให้เข้ากับพลังงานหมุนเวียน อาทิ เรื่องรถ EV ที่จะเป็นเทรนด์ของโลกใน 10 ปีนี้ เพื่อมุ่งสู่ Net Zero และในอนาคตต้องมุ่งสู่กรีนไฮโดรเจน เทคโนโลยี การดูดกลับคาร์บอนฯ ก็ควรเป็นอีกสิ่งหนึ่งควรให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นด้วย แต่ปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ ต้องพึ่งพาเรื่องการเงิน การลงทุนจากภาครัฐ และเอกชน
ด้าน ศิวัช แก้วเจริญ ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก กรมการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มองว่า คำนึงถึงว่าเทคโนโลยี ที่จะเอามาใช้นั้น เหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่ การจะเลือกแต่ละเทคฯ มาต้องไม่กระทบต่อรัฐ และ เอกชน เป้าหมายหลักเลยคือเรื่องของ Fade down goal กล่าวคือ การค่อยๆเขยิบการพัฒนาเทคโนโลยี , เทคโนโลยีไหนสะอาดน้อยที่สุดก็เอาออกไปก่อน แล้วก็ค่อยๆเขยิบไป , การที่ไทยจะไปถึง net zero ภายในปี 2065 นั่น ไทยต้องได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศด้วย ไม่ใช่ว่า ไทยจะเร่งทำแต่ของเทคฯตัวเอง
ส่วน วฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และการพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีในการต่อสู้โลกเดือด โดยระบุว่า ทุกประเทศทั่วโลกต้องเทหมดหน้าตักเพื่อคิดค้นหรือพัฒนาเทคโนโลยีสู้โลกร้อน เพราะไม่ว่าจะเป็นแผนเทคโนโลยีของประเทศใด ก็ยังไม่สามารถการันตีได้ว่าเทคโนโลยีจะสามารถแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้
นอกจากนี้ วฤต รัตนชื่น เปิดเผยว่า ปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ใช้ต่อสู้หรือกอบกู้โลกจากสถานการณ์โลกเดือดมีอยู่ด้วยกัน 3 เฟส ได้แก่
• เฟสที่ 1 – เทคโนโลยีที่พร้อมใช้งาน อาทิ พลังงานหมุนเวียน โดยพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะกับประเทศไทยมากที่สุดคือ พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)
• เฟสที่ 2 – เทคโนโลยีที่ทำได้แล้ว แต่มีต้นทุนสูง และยังไม่ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย อาทิ ไฮโดรเจน หรือเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน
• เฟสที่ 3 - เทคโนโลยีที่ยังไม่สำเร็จ อาทิ ดวงอาทิตย์เทียม
นี่คือภาพรวมของภาพเทคโนโลยีที่ทาง กฟผ.มีส่วนร่วมในการทำนวัตกรรมเหล่านี้ และทุกวันนี้ (กฟผ.) พยายามต่อยอดและไปต่อ เพื่อให้ทันกับการการเดินไปให้ถึงเป้าหมาย Net Zero
นที ศรีรัศมี ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส DIGITAL RETAIL & STRATEGIC ALLIANCE บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ได้ให้ความสำคัญกับ ESG มานานกว่า10ปีแล้ว เช่น โครงการไม่แจกถุงพลาสติก ห้างสรรพสินค้าแรก และซูเปอร์มาร์เกตปลอดถุงพลาสติกแห่งแรกในประเทศไทย เปิดตัวโครงการ เดอะมอลลั กรุ๊ป โก กรีน (THE MALL GROUP GO GREEN) : GREEN EVERYDAY งดบริการถุงพลาสติกทุควัน และรณรงค์ให้ลูกค้านำถุงผ้ามาช้อปปิ้ง หากลูกค้ามีความจำเป็นใช้ถุงพลาสติก ขอความร่วมมือ บริจาค 1 บาท ต่อถุงเพื่อน้ำไปสนับสนุนการทำงาน ด้านการอนุรักษ์สั่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังโครงการอื่นๆ มากมาย เช่น โครงการชวนบริจาคขวดพลาสติก PET แยกขวดช่วยหมอ เพื่อตัดเป็นชุด PPE ให้บุคคลากรทางการแพทย์
นอกจากนี้ยังจะเร่งส่งเสริมนวัตกรรมในการรับมือโลกร้อน ในรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการประกวดนวัตกรรมการจัดการพลาสติกเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและทะเล พร้อมกันนี้ได้ร่วมกับกทม. ผนึกกำลัง เดอะมอลล์ กรุ๊ป เปิดตัวโครงการ "The First Bangkok Zero Waste Park"ต้นแบบสวนสาธารณะบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนแห่งแรกในประเทศไทย ณ อุทยานเบญจสิริ และยังมีโครงการอื่นๆอีกมากมาย
ขณะที่ อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานขับเคลื่อนนวัตกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด หรือ เอไอเอส เปิดมุมมองว่า ที่จริงแล้ว 1 ใน 3 บริษัทที่มีอยู่นั้น มีความต้องการอยากช่วยแก้ แก้ไขปัญหาโลกเดือดหรือโลกร้อนจริงๆ แต่ก็ยังทำได้ยากและมีหลายสาเหตุ จริงๆ แล้ว เราควรต้องเริ่มจากตัวเรา เอาในส่วนของหัวใจในการดูแลสิ่งแวดล้อมมาใช้
อราคิน รักษ์จิตตาโภค เปรียบเทียบว่า ถ้าเรามองว่าโลกเราเป็นบ้านหลังหนึ่ง อยากให้คนที่ยังไม่ได้เริ่ม เริ่มสร้างแรงกระเพื่อม แนวความคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ยังมีสิ่งใดอีกไหม ที่เราจะสามารถช่วยโลกนี้ได้ มาดูแลบ้านหลังนี้ด้วยการสร้างพาร์ทเนอร์ เยอะๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน
ส่วน วสุ กลมเกลี้ยง Executive Vice President บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมแชร์มุมมองว่า Global trends หรือ เทรนด์ของโลก ณ ตอนนี้คือเรื่องของการลดคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะว่าโลกเราในปีที่แล้วมีการปล่อยคาร์บอนฯ จำนวนมหาศาล ดังนั้น จึงมีการตั้งคำถามว่าจะแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวอย่างไร ซึ่งคำตอบก็คือ สิ่งที่ง่ายๆ อย่างการลดการใช้คาร์บอนฯ ที่ผลิตจากพลังงานฟอสซิล และกันมาใช้พลังงานรักโลกมากขึ้นเช่น โซลาร์เซลล์หรือพลังงานลม โดย EA จึงมีนวัตกรรมหลายอย่าง เช่นน้ำมันสีเขียวคือพลังงานที่สำคัญของประเทศ ขับเคลื่อนพลังงานทางน้ำ ทางรถ ทางราง ลดคาร์บอนได้ แบตเตอรี่ของ EV สามารถ recycle reuse รวมถึงใช้งานในสนามบินได้ เรามีสถานีชาร์จ เพื่อมาแก้ปัญหาการปล่อยคาร์บอนฯ ได้
ในเซสชั่นนี้เต็มไปด้วยมุมมองพลังของคนรุ่นใหม่จาก Gen Y และ Gen Z โดย ท็อป พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน และผู้ก่อตั้ง Platform ECOLIFE บริษัท คิดคิด จำกัด ได้ให้มุมมองในฐานะที่เป็น Influencer รุ่นแรกๆของเมืองไทยในประเด็นสิ่งแวดล้อม โดย คุณท็อป มองว่า ทุกวันนี้ เรื่องทำเพื่อโลก ทำเพื่อสิ่งแวดล้อมนั้น เป็น สิ่งที่ Must have , Must do ซึ่งถือว่ามีการขยับในการรับรู้มากว่าอดีตมากๆ และเช่นเดียวกันบริษัทต่างๆจำเป็นต้องทำเพื่อสิ่งแวดล้อม ตอนนี้สังคมอยู่ในภาวะที่ดีกว่าอดีต และเรื่องความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม คนในสังคมต้องเพิ่มดีมานด์ความต้องการเพิ่มขึ้น แล้วจากนั้น ผู้ผลิตต่างๆก็จะหาวิธีการมาช่วยในการลดต้นทุนการผลิต และสินค้ารักษ์โลกก็จะมีราคาถูกลง
ด้าน ชณัฐ วุฒิวิกัยการ หรือ KongGreenGreen Influencer เปิดมุมมองว่า การลดขยะนั้น ให้มองเรื่องใกล้ๆตัว และทำสิ่งที่ง่ายที่สุด อาทิ การลดขยะจากขวดน้ำ ที่เราดื่มแต่ละสัปดาห์ เมื่อเราเห็นปริมาณขยะที่ลดลงไปมากเราก็จะมีกำลังใจ และ ทุกคนในโลกจำเป็นต้อง "ขยับ" ทำเพื่อโลก ,ด้วยสถานการณ์ที่เป็นอยู่ตอนนี้ หากคนทั้งโลกไม่ช่วยกันลดโลกร้อน ปัญหาต่างๆมันจะรุนแรงขึ้น
ขณะที่ ปัง-อาย EV Girl Influencer ขอเป็นตัวแทน Influencer จากคนรุ่นใหม่ เล่าความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมว่า ในความจริงแล้ว เด็กรุ่นใหม่เติบโตมาจิตสำนึกของการรักษ์โลกอยู่แล้ว และการรณรงค์เรื่องเหล่านี้ มันสามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้สังคมได้ ยกตัวอย่างเช่น การรณรงค์เรื่องการใช้ EV จากในอดีตที่มีรถให้เลือกน้อย แต่ตอนนี้ มีรถ EV ให้เลือกมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งนั่นมาจากความต้องการของผู้บริโภคและการรับรู้ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น
และการใช้สินค้ารักษ์โลกต่างๆ ในทุกวันนี้ ถือว่าเป็นเทรนด์ที่ดี เพราะสินค้าเหล่านี้ มีสตอรี่ มีเรื่องเล่าที่ทำให้มูลค่ามันเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมรักษ์โลกอย่างเข้าถึงได้ง่าย อาทิ AIS e-waste นำขยะอิเล็กทรอนิกส์ มาทิ้งที่บูธ AIS เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ด้าน The Mall Group Go To Zero : PET Bottle Machine นำขวดพลาสติกใส PET โดยไม่ต้องแกะฉลากออกมาหยอด ตู้คืนขวดอัตโนมัติ (PET Bottle Machine) แลกรับ โค้ก PET ขนาด 1 ลิตร ฟรี เพื่อเป็นการนำพลาสติกกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล นอกจากนี้ ยังมี บอร์ดเกม "รักษ์โลก" ที่ทำให้กิจกรรมเต็มไปด้วยความสนุกไปด้วยรักษ์โลกไปด้วย