สรุปการประชุมโลกร้อน COP28 จบลงแบบใดห์ คืบหน้าหรือถอยหลัง แต่ที่แน่ ๆ มีคนกำลังจมน้ำต่อไป เพราะการยุติเชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงเป็นเพียงฝัน
การประชุมแก้โลกร้อน COP28 ระดับนานาชาติได้จบลงแล้วในวันที่ 13 ธ.ค. 2566 แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาจะแก้ไขโลกร้อนที่กลายเป็นโลกเดือดไปแล้วได้มากขนาดไหน สปริงนิวส์ในคอลัมน์ Keep The World จะสรุปให้ฟัง
แม้ว่าการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศของ COP28 จะมีประเด็นมากมายให้ได้หารือกันถึง 12 วัน แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาก็มีทั้งน่าพึงพอใจและน่าผิดหวังไม่น้อย สรุปการประชุม COP28 เราได้อะไรบ้าง?
COP28 ที่จัดขึ้นที่ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในครั้งนี้ หลายฝ่ายมองว่ามีความคืบหน้าและประสบความสำเร็จหลายด้าน อาทิ
1.กองทุนความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage Fund) ถูกพูดถึงมากที่สุดและเริ่มลงขันกันตั้งแต่วันแรกของการประชุม รวมมูลค่า 792 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2024
2.รายงาน Global Stocktake (GST) ฉบับแรกที่เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายน มีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายด้านสภาพอากาศที่มีความทะเยอทะยานมากขึ้น เช่น มีการระบุว่าประเทศต่าง ๆ จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 43% ภายในปี 2030
3.เกือบ 200 ประเทศไฟเขียวในการเพิ่มพลังงานทดแทนทั่วโลก 3 เท่า และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็น 2 เท่าภายในปี 2030
4.เพิ่มเงิน 3.5 พันล้านดอลลาร์ในกองทุน Green Climate
5.จะมีเงินมากขึ้นในธนาคารโลก 9 พันล้านดอลลาร์ต่อปีเพื่อใช้สำหรับสนับสนุนโครงการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (2024-2025)
6.จะมีการเพิ่มทุนกว่า 150 ล้านดอลลาร์สำหรับกองทุนประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDC) และกองทุนพิเศษด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SCCF)
7. Global Cooling Pledge ได้รับการรับรองจาก 66 ประเทศ เพื่อลดการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับการทำความเย็นลง 68% ตั้งแต่วันนี้
8.การประชุม COP28 เป็นการประชุมที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมมากที่สุด เท่าที่เคยมีการจัดประชุม COP มา
9.มีการวางกรอบ Global Goal Adaptation เป็นครั้งแรก
10.มีการกล่าวถึงการปล่อยก๊าซมีเทนและกรอบเวลาการลดการปล่อยก๊าซมีเทนเป็นครั้งแรก
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่ถูกนิยามว่าประสบความสำเร็จใน COP28 แต่ทั้งหมดนี้ยังคงเป็นแค่แผนที่จะถูกพัฒนาต่อ ยังไม่มีการโอนถ่ายเงิน ยังไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการในการกำหนดกติกา และผู้พิจารณาการแจกจ่ายเงินไปยังประเทศกำลังพัฒนา
ประเด็นหลักของการขับเคลื่อนการประชุม COP คือการรณรงค์ให้ประเทศพัฒนาแล้ว ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล อันเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น และตั้งแต่ปี 2015 ที่มีการทำข้อตกลงปารีสร่วมกันของประเทศภาคี
แต่การประชุม COP28 แม้จะมีการสนับสนุนให้มีการเพิ่มพลังงานทดแทน 3 เท่าทั่วโลก แต่การยุติเชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงเป็นไปได้ยาก ส่วนหนึ่งเพราะการเจรจาในครั้งนี้ ผู้นั่งเป็นประธานคือผู้บริหารธุรกิจน้ำมันรายใหญ่ของโลก ที่มีจุดยืนในการลดการใช้เพลิงฟอสซิลลง แต่ไม่ถึงกับยุติ อีกทั้ง ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เป็นภาคอุตสาหกรรมน้ำมันด้วย การเจรจาเพื่อยุติจึงเป็นไปได้ยาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“อาเซอร์ไบจาน” ใช้การประชุม COP29 ฟอกขาวปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน จริงหรือ?
ไทยประกาศจุดยืนเรื่องโลกร้อน บนเวที COP28 ย้ำ! ไทยทำตามสัญญาแล้ว
Sanjay Vashist ผู้อำนวยการ Climate Action Network (เอเชียใต้)
“บทสรุปการประชุม COP28 ทำให้เห็นชัดว่าโลกนี้เป็นของคนร่ำรวยและมีอิทธิพลสำหรับประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศยากจน ยังคงจำเป็นต้องช่วยเหลือตนเอง และผู้ที่ทำผิดด้านสภาพอากาศที่แท้จริงไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้อย่างจริงจัง ดังนั้น เราจึงไม่มองว่า COP28 ควรจะต้องเฉลิมฉลอง”
นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ
“การกำจัดอุณหภูมิโลกให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่ตั้งไว้ในข้อตกลงปารีส แต่มันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด ยังมีความจำเป็นอีกมากในการมอบความยุติธรรมด้านสภาพอากาศให้กับผู้ที่อยู่แนวหน้าของวิกฤต”
“ประเทศที่เปราะบางหลายแห่งกำลังจมอยู่ในหนี้และมีความเสี่ยงที่จะจมในทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ถึงเวลาแล้วที่กระแสการเงินจะต้องพุ่งสูงมากกว่านี้ รวมถึงการปรับตัว ความสูญเสียและความเสียหาย และการปฏิรูปการเงินระหว่างประเทศ”
“โลกไม่สามารถทนต่อความล่าช้า ความไม่แน่ใจ หรือมาตรการเพียงครึ่งเดียว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศให้เป็นจริง ใช้งานได้จริง และมีความเหมาะสมต่อขนาดของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ”
Anne Rasmussen ตัวแทนจากชาวซามัวและผู้นำเจรจาของกลุ่มพันธมิตร รัฐเกาะเล็ก ๆ (AOSIS)
เธอคร่ำครวญ ว่าเธอไม่มีเงินเพียงพอที่จะเดินทางกลับไปยังเกาะของพวกเธอได้ แล้วกล่าวว่า COP28 นั้นล้มเหลว ความก้าวหน้าในการประชุมนี้ คือความก้าวหน้าทางธุรกิจ ไม่ใช่ความก้าวหน้าของพวกเธอ สิ่งที่พวกเธอต้องการจริง ๆ คือการเปลี่ยนแปลงขั้นทวีคูณ และการสนับสนุนพวกเธอให้สามารถปรับตัวและรับมือได้ ซึ่งปัจจุบันเงินทุนเหล่านั้นยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง และเกาะเล็ก ๆ ทั่วโลกกำลังจมน้ำเรื่อย ๆ
Mohamed Adow ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงานและสภาพภูมิอากาศ Power Shift Asia กล่าวว่า อย่างแรกเลย ผู้ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลในประเทศร่ำรวยต้องยุติการผลิตก่อน ยกตัวอย่าง สหรัฐอเมริกา ได้ให้คำมั่นจะบริจาคเงิน 24.5 ล้านดอลลาร์ให้กับกองทุน Loss and Damage Fund สหภาพยุโรปและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็เป็นผู้นำในการลงทุนมากกว่า 700 ล้านดอลลาร์
กองทุน Green Climate ได้รับสัญญาว่าจะกอบโกยเงินได้ 12.8 พันล้านดอลลาร์จาก 31 ประเทศ ในขณะที่กองทุน Adaptaion มอบเงินจำนวน 1.3 พันล้านดอลลาร์จาก 26 ประเทศ
อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินดังกล่าวยังไม่เพียงพอกับจำนวนเงินที่สัญญาไว้ว่าจะให้ปีละ 100,000 ล้านดอลลาร์จากประเทศร่ำรวยไปจนถึงประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งจริง ๆ แล้ว จากการประเมินเราต้องการเงินทุนประมาณ 2.5 ล้านดอลลาร์ต่อปี จึงจะเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาโลกร้อน
ที่มาข้อมูล
Fellowship from Earth Journalism Network
Picture at The Cover from Flickr by
COP28 / Christopher Pike / Neville Hopwood / Mahmoud Khaled / Anthony Fleyhan / Stuart Wilson
ข่าวที่เกี่ยวข้อง