svasdssvasds

ไทยประกาศจุดยืนเรื่องโลกร้อน บนเวที COP28 ย้ำ! ไทยทำตามสัญญาแล้ว

ไทยประกาศจุดยืนเรื่องโลกร้อน บนเวที COP28 ย้ำ! ไทยทำตามสัญญาแล้ว

คำแถลงของ พัชรวาท เรียกร้องประเทศร่ำรวยช่วยแก้โลกร้อน บนเวที COP28 พร้อมย้ำ ไทยทำตามสัญญาแล้ว หวังเห็นความชัดเจนของนานาประเทศในการชดเชยความเสียหายต่อประเทศกำลังพัฒนา

วันที่ 9 ธันวาคม 2566 พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมันตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP28) ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมันตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Photo by COP28 / Christophe Viseux

โดย พลตำรวจเอกพัชรวาท ได้กล่าวกับนานาประเทศในที่ประชุมว่า

  • ประเทศไทยและคนไทยตื่นตัวเรื่องโลกร้อนมากขึ้น ขอยืนยันว่า ประเทศไทยได้กระทำตามสัญญาที่ให้ไว้อย่างแน่นอน วันนี้ประเทศไทยมาเข้าร่วมประชุม COP 28 เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าการดำเนินงาน ในประเทศที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม และพร้อมให้ความร่วมมือเพื่อยกระดับการดำเนินงานต่อไป
  • ประการแรก ประเทศไทยได้ปรับปรุงแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก ตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศ กำหนด 2030 ครอบคลุมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด ภายในปี 2025 โดยจะต้องปรับเปลี่ยนระบบนิเวศเศรษฐกิจให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่คำนึงถึงประชาชนทุกภาคส่วน

  พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมันตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Photo by COP28 / Christophe Viseux

  • ประการที่สอง รัฐบาลไทยเร่งผลักดันพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวฯ โดยมีกลไกการเงิน ที่เหมาะสมและเข้าถึงได้เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็นศูนย์อย่างเป็นระบบ
  • ประการที่สาม ประเทศไทยได้จัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อเป็น กรอบหลักในการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืนให้กับประชาชน และจะสนับสนุนเป้าหมายระดับโลกด้านการปรับตัวฯ อีกด้วย
  • ประเทศไทยกำลังผลักดันตัวอย่างของการปรับตัวในภาคเกษตร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่กับการรักษาความมั่นคงทางอาหาร ผ่านโครงการเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  •  ปี 2023 ทุบสถิติ คาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • COP28 ถูกกล่าวหา มีไว้ล็อบบี้เพื่อตกลงเรื่องน้ำมัน แจงแล้ว เป็น Fake News!

  • การระดมเงิน 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ภายในปี 2025 จะเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการบรรลุเป้าหมายของประเทศกำลังพัฒนา
  • ทั้งนี้ ประเทศไทย ในฐานะรัฐภาคียินดีที่จะได้เห็นความชัดเจนของกองทุนสำหรับการสูญเสียและความเสียหายฯ (Loss and Damage Fund) ใน COP28 และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การประเมินสถานการณ์การดำเนินงานระดับโลก จะสะท้อนให้เห็นเส้นทางสู่ 1.5 องศาเซลเซียส ตามเป้าหมายของความตกลงปารีส
  • โลกใบเดียวของเราส่งสัญญาณแล้วว่า ปี 2023 กำลังจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุด ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะต้องร่วมกันลงมือทำ เพื่อให้ลูกหลานของเรามีโลกใบนี้ที่อาศัยอยู่ได้ต่อไป

อย่างไรก็ตาม การประชุม COP28 ยังคงดำเนินต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 10 วันแล้ว ข้อเรียกร้องของนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้มุ่งเน้นไปที่กองทุนเพื่อการปรับตัว (Adaptation Fund) และกองทุนความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage Fund) เพื่อให้ประเทศพัฒนาแล้ว นำเงินมาชดเชยตามสัญญาปีละประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ปัจจุบัน ก้อนเงินดังกล่าวยังไม่ได้ถูกแจกจ่าย เนื่องจากการจัดตั้งคณะกรรมการยังไม่ลุล่วง แต่ผู้รับหน้าที่ดูแลบริหารกองทุนชั่วคราว คือ ธนาคารโลก ที่กำลังหารือเรื่องการตั้งกฎเกณฑ์การขอรับเงินชดเชยว่าควรจะแจกจ่ายอย่างไรให้เป็นธรรม จึงต้องติดตามต่อไปจนกว่าจะจบสิ้นการประชุมในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related