svasdssvasds

ยื่นหนังสือ ถึงรับสภา ขอ #ฉลองไม่ฉลาม เลิกเสิร์ฟเมนูหูฉลามในรัฐสภาทุกโอกาส

ยื่นหนังสือ ถึงรับสภา ขอ #ฉลองไม่ฉลาม เลิกเสิร์ฟเมนูหูฉลามในรัฐสภาทุกโอกาส

องค์กรไวล์ดเอด ยื่นหนังสือถึงรัฐสภา ให้สร้างบรรทัดฐานใหม่ฉลองไม่ฉลาม หลังพบว่า รัฐสภามีการเสิร์ฟเมนูหูฉลาม ในขณะที่ฉลามเป็นสัตว์เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์

SHORT CUT

  • องค์กรไวล์ดเอดและมุลนิธิรักสัตว์ป่า ยื่นหนังสือถึงรัฐสภา ให้เลิกเสิร์ฟเมนูหูฉลามในรัฐสภาทุกโอกาส และสร้างบรรทัดฐานใหม่ #ฉลองไม่ฉลาม
  • ฉลามเป็นสัตว์เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นเพราะการทำประมงเกินขนาด
  • ในแต่ละปี มีปลาฉลามราว 80 ล้านตัวถูกฆ่า และ 1 ใน 3 เป็นฉลามใกล้สูญพันธุ์
  • ฉลามมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ สร้างสมดุลให้กับประชากรสัตว์น้ำและควบคุมโรคระบาด เหมือนเสือ
  • กินหูฉลาม เท่ากับ สะสมพิษในร่างกาย

องค์กรไวล์ดเอด ยื่นหนังสือถึงรัฐสภา ให้สร้างบรรทัดฐานใหม่ฉลองไม่ฉลาม หลังพบว่า รัฐสภามีการเสิร์ฟเมนูหูฉลาม ในขณะที่ฉลามเป็นสัตว์เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์

เกิดอะไรขึ้น?

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 องค์กรไวล์ดเอด (WildAid) และมูลนิธิรักสัตว์ป่า ยื่นหนังสือถึงรัฐสภา ผ่านนายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดแพร่ และประธานกรรมาธิการสาธารณสุขที่อาคารัฐสภา

โดยขอให้รัฐสภาร่วมกันสร้างบรรทัดฐานใหม่ด้วยการ “ฉลองไม่ฉลาม” เลิกเสิร์ฟหูฉลามในรัฐสภา และงานเลี้ยงราชการในทุก ๆ โอกาส หลังได้รับทราบว่า เมนูหูฉลาม เป็นหนึ่งในรายการอาหารที่ถูกจัดเลี้ยงให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา

องค์กรไวล์ดเอดยื่นหนังสือถึงรัฐสภา ให้เลิกเสิร์ฟเมนูหูฉลาม Cr.WildAid

องค์กรไวล์ดเอดยื่นหนังสือถึงรัฐสภา ให้เลิกเสิร์ฟเมนูหูฉลาม Cr.WildAid

ทำไมต้อง #ฉลองไม่ฉลาม ?

จริง ๆ แล้ว การรณรงค์ #ฉลองไม่ฉลาม ได้มีการรณรงค์มาเป็นระยะเวลา 6 ปีแล้วโดยองค์กรไวล์ดเอด เพื่อให้ผู้คน โดยเฉพาะคนไทยตระหนักถึงความสำคัญของฉลาม ที่ถูกตัดครีบมาทำเป็นเมนูอาหาร ซึ่งการบริโภคฉลามไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ประชากรฉลาม และกระทบต่อความสมดุลของท้องทะเล

  • ในแต่ละปีมีปลาฉลามราว 80 ล้านตัวถูกฆ่า และในจำนวนนี้ 25 ล้านตัว หรือ 1 ใน 3 เป็นฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์
  • ความเสี่ยงสูญพันธุ์ส่วนใหญเกิดจากการทำประมงเกินขนาด
  • มีผลงานวิจัย DNA ในผลิตภัณฑ์หูฉลามที่ขายในไทย พบว่า หูฉลามส่วนใหญ่ 62% มาจากฉลามใกล้สูญพันธุ์
  • ผลสำรวจความต้องการบริโภคหูฉลามในไทย ปี 66 โดย WildAid และ บริษัทวิจัย Rapid Asia พบว่า แม้ความนิยมบริโภคหูฉลามในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาจะมีแนวโน้มลดลง แต่คนไทยในเขตเมือง 57% ยังแสดงความต้องการบริโภคหูฉลามในอนาคต

เมนูหูฉลาม Cr.WildAid งานวิจัยพบ หูฉลามส่วนหนึ่งในไทยมาจากฉลามใกล้สูญพันธุ์ Cr.WildAid

ความสำคัญของฉลามต่อระบบนิเวศ ไม่ใช่ต่อท้องคนไทย

  • ฉลามทำหน้าที่รักษาความสมดุลของท้องทะเล เหมือนที่ป่ามีเสือ โดยจะทำหน้าที่ควบคุมโรคระบาด ควบคุมประชากร และพฤติกรรมสัตว์ทะเล มีการศึกษาพบว่า พื้นที่ไหนที่ประชากรฉลามหายไป พื้นที่นั้นจะมีประชากรปลาหลายชนิดลดลง และส่งผลต่อการเสื่อมโทรมของปะการัง
  • ฉลามและกระเบนเป็นสัตว์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตและเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้า ออกลูกคราวละไม่มาก และมีการเว้นช่วงเวลาในการผสมพันธุ์และการตั้งท้องที่นาน

ฉลองไม่ฉลาม

กินฉลาม ก็เหมือนกินสารพิษ

แม้บางตำราจะกล่าวอ้างว่า กินหูฉลามเท่ากับกินยาบำรุงุขภาพ แต่จริง ๆ แล้ว งานศึกษาบอกว่า กินฉลาม เท่ากับ กินเพื่อสะสมพิษในร่างกาย เนื่องจากฉลามเป็นสัตว์ที่อยู่บนยอดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร จึงมีโอกาสมากเหมือนกันที่จะสะสมสารพิษ เช่น สารหนู ปรอท แคดเมียม และ BMAA ในปริมาณที่เข้มข้นตลอดช่วงชีวิต

หมดยุคเมนูฉลาม เมนูคุกคามระบบนิเวศ #ฉลองไม่ฉลาม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related