ชวนรู้จักฉลาม เนื่องในวันที่ 14 ก.ค. เป็นวัน Shark Awareness Day ที่ไม่ได้มีขึ้นแค่ให้คนตระหนักถึงความสำคัญ แต่ยังมีขึ้นเพื่อลบล้างความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับฉลาม
รู้หรือไม่? วันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันรู้จักฉลาม (Shark Awareness Day) ที่นอกจากจะมีขึ้นเพื่อให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงความสำคัญของฉลามแล้ว ยังมีขึ้นเพื่อขจัดความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับฉลามด้วย ทุกวันนี้ คุณคิดว่า ฉลามยังเป็นนักล่าใต้ท้องทะเลที่น่ากลัวอยู่ไหม?
เชื่อว่าหลายคนยังกลัวฉลามอยู่ หากไปว่ายน้ำใกล้ ๆ มัน หรือบังเอิญเจอพวกมันเข้า แต่คุณรู้ไหมว่า แท้จริงแล้ว ฉลามส่วนมากไม่กัดคนและไม่มีนิสัยก้าวร้าวนะ มันจะจู่โจมก็ต่อเมื่อรู้สึกไม่ปลอดภัยและเป็นอันตราย
อีกเรื่องที่คุณต้องรู้ ฉลามเป็นสัตว์น้ำที่ถูกบริโภคจำนวนมากไม่ต่างจากสัตว์น้ำเศรษฐกิจเลย แล็ไม่มีกฎหมายคุ้มครองพวกมันด้วย นั่นเลยทำให้ มันกลายเป็นเมนูหูฉลามที่ยังคงมีให้หลายคนได้ชิมอยู่ตามท้องตลาดทุกวันนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อัปเดตสถานการณ์สัตว์ทะเลหายาก น้องๆ เป็นอย่างไร? เพิ่มหรือลดจำนวนแค่ไหน
ฟังแล้วโล่งใจขึ้นไหม? นักวิทย์เผยว่า ฉลามขาวไม่สนใจกินเนื้อมนุษย์
ถ้าโลกนี้ไม่มีสัตว์ จะเกิดอะไรขึ้น? ไทยจะหยุดยั้งวิกฤตการสูญพันธุ์ยังไง?
ฉลามหลายชนิดกำลังเผชิญหน้ากับความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แม้ว่ามันจะเป็นหนึ่งในหลาย ๆ สายพันธุ์ที่มีชีวิตเก่าแก่ที่สุดในมหาสมุทรตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ และมีรุ่นใหญ่อย่างเมกาโลดอน เป็นต้นตระกูลที่มีชื่อเสียงของฉลาม แต่แม้ว่าความยิ่งใหญ่และน่ากลัวในฐานะนักล่าจะสร้างความกลัวให้กับผู้คนได้ แต่ก็ไม่ใช่นักล่าสูงสุดอยู่ดี และใช่ มนุษย์อยู่เหนือพวกมันนั่นเอง
ความสำคัญของฉลามในระบบนิเวศทางทะเลมีมากกว่ามนุษย์ นอกจากบทบาทนักล่าแล้ว มันยังมีบทบาทสำคัญ นั่นคือการรักษาสมดุลของทะเลได้ด้วย จะเห็นได้จากตัวอย่างของสังคมพื้นเมืองหลายแห่ง เช่น วัฒนธรรมฮาวายที่ปัจจุบันมีการคุ้มครองฉลาม จนมีฉลามในระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์
พวกมันได้รับการดูแลจากชาวพื้นเมือง ต่างฝ่ายต่างให้ความเคารพ จนทำให้นอกจากฉลามจะชุกและไม่มีเหตุอันตรายเกิดขึ้นแล้ว ยังทำให้ระบบนิเวศบริเวณนั้นดีขึ้นอย่างมากด้วย
การศึกษาพบ สัตว์น้ำกำลังสูญพันธุ์กว่า 40% ภายในศตวรรษนี้ แก้ไขไม่ทันแล้ว
นักวิทย์พบ สุสานฉลาม ในมหาสมุทรอินเดีย พบฟันฉลามกว่า 750 ซี่ จากหลายสปีชีส์
รายงานจากการอนุรักษ์ฉลาม เผยว่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา จำนวนฉลามลดลงอย่างมากกว่า 70% ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพใต้ท้องทะเล ส่วนหนึ่งมาจากอุบติเหตุทางทะเลอย่างไม่ตั้งใจ เช่น ฉลามติดมากับอวนประมง หรือถูกพันรัดจนตาย อีกปัจจัยหนึ่งคือ การจับมันไปทำอาหาร เช่น เมนูยอดฮิตอย่าง หูฉลาม ที่มีแพร่หลายในไทยด้วย และยังไม่ผิดกฎหมาย
ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องช่วยกันฟื้นฟูประชากรฉลามให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง เพื่อระบบนิเวศทางทะเล และเพื่ออนาคตของอารยธรรมมนุษย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ที่มาข้อมูล
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง