ช่วงนี้มีข่าวการพบเห็นสัตว์ทะเลหายากบ่อยๆหลายคนคงอยากรู้ว่าสถานการณ์สัตว์ทะเลหายากในประเทศไทยเป็นอย่างไร? เรามาอัปเดตกันหย่อยดีกว่าว่าน้องๆ เป็นอย่างไรกันบ้างเพิ่มหรือลดจำนวนแค่ไหน?
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊คส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat อัปเดตสถานการณ์สัตว์ทะเลหายากในประเทศไทย ซึ่งมีข่าวดีหลายอย่างเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก ทั้งการเพิ่มจำนวนและแผนการอนุรักษ์
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
เพราะเหตุใด ไวรัล Keep The World ลูกพะยูนเกาะหลังเต่าตนุ จึงเกิดขึ้นได้
ภูเก็ต พบโลมาปากขวด หลงเข้าคลองท่าจีน ล่าสุด ต้อนน้อนออกปากอ่าวได้สำเร็จ
ออกตรวจสุขภาพสัตว์ทะเลหายาก อ่าวปากพนังฝั่งตะวันตก พบโลมาหลังโหนก
การอนุรักษ์ - พื้นที่คุ้มครองพะยูนที่ตรังเรียบร้อยแล้ว กำลังจะประกาศเพิ่มที่กระบี่และพังงา การอนุรักษ์รายตัวเริ่มจากมาตรการท่องเที่ยววาฬบรูด้า ในอนาคตจะหาทางขยายไปตัวอื่นๆ
การสำรวจ - ตอนนี้ได้โดรนใหญ่ 4 ตัว (UAV ปีกนิ่ง) ประจำการ 4 ศูนย์ (ระยอง ชุมพร ตรัง ภูเก็ต) แต่ละตัวครอบคลุมพื้นที่ 15 ตร.กม. ยังมีโดรนตัวเล็กประจำการทุกศูนย์
ผมเชื่อว่าใน 1-2 ปีนี้ เราจะก้าวกระโดดในเรื่องการสำรวจสัตว์หายาก เพราะอุปกรณ์ที่ได้จาก MMPA (เคยเล่าให้เพื่อนธรณ์ฟังหลายหนแล้ว) ช่วยทำให้เรารุดหน้าไปได้ แต่แน่นอนว่า อาสาสมัครนักบินอย่างลุงเอ๊ด คุณทอม ช่วยเราได้มากๆ จุดเปลี่ยนสำคัญอีกประการคือการสำรวจสัตว์ทะเลหายากห่างฝั่ง เป็นกลุ่มที่เราแทบไม่เคยมีข้อมูล แต่ต่อจากนี้เราจะเริ่มแล้วครับ เรากำหนดพื้นที่ไว้แล้ว เอาไว้จะเล่าให้ฟังเป็นระยะ
"สรุปง่ายๆ คือ 8-9 ปีที่ทำมา เราก้าวไปข้างหน้าครับ แม้งบประมาณด้านนี้จะจำกัด (มากๆ) แต่กระแสสัตว์หายากมีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะวนกลับไปช่วยสนับสนุนงบประมาณในอนาคต ขอบคุณเพื่อนธรณ์ทุกท่านที่ช่วยกัน หากอยากแนะนำอะไร ขอเชิญเลยนะครับ"
ที่มา : FB Thon Thamrongnawasawat