svasdssvasds

หญ้าทะเล พืชดึกดำบรรพ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนแหล่งอาหาร ที่อยู่ให้สัตว์ทะเล

หญ้าทะเล พืชดึกดำบรรพ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนแหล่งอาหาร ที่อยู่ให้สัตว์ทะเล

มาทำความรู้จักหญ้าทะเล พืชดึกดำบรรพ์ที่มีความสำคัญกับระบบนิเวศทางทะเลเป็นอย่างมาก และอุปสรรคสำคัญในการเติบโตของหญ้าทะเลคือ ตะกอน ซึ่งเกิดจากฤดูกาลและกิจกรรมตามชายฝั่งของมนุษย์ หลายบริษัทและองค์กรจึงมีร่วมมือกันทำกิจกรรมปลูกหญ้าทะเล เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ

ลัดดาวัลย์ แสงสว่าง นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตะวันออก รับผิดชอบเกี่ยวกับหญ้าทะเล ใน 4 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ให้ความรู้เกี่ยวกับ "หญ้าทะเล" ว่า หญ้าทะเลเป็นพืชดอกที่เจริญเติบโตอยู่ในทะเล โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อว่าดั้งเดิมของพืชมีกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เรียกว่าไดอะตอมที่อยู่อาศัยในทะเล ต่อมาวิวัฒนาการเป็นพืชบกซึ่งมีพัฒนาการถึงขั้นสูงสุดเป็นพืชดอก แต่หญ้าทะเลป็นกลุ่มพืชมีดอกกลุ่มเดียวเท่านั้นที่พัฒนากลับลงไปสู่ทะเล

หญ้าทะเล พืชดึกดำบรรพ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนแหล่งอาหาร ที่อยู่ให้สัตว์ทะเล

หญ้าทะเลแพร่กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเขตน้ำตื้นชายฝั่งทะเลทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น หญ้าทะเลสามารกสืบพันธุ์ได้ 2 วิธีการ คือ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ โดยการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนั้น หญ้าทะเลจะแตกกิ่งก้านหรือยอดใหม่จากเหง้าหรือไรโซม ส่วนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ หญ้าทะเลจะผลิตดอกและมีการถ่ายละอองเกสโดยใช้น้ำและคลื่นลมเป็นตัวพัดพา จากนั้นเมื่อมีการปฏิสนธิดอกตัวเมียจะพัฒนาเป็นผลซึ่งภายในมีเมล็ดที่ใช้ในการแพร่ขยายพันธุ์ต่อไปได้

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

หญ้าทะเล พืชดึกดำบรรพ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนแหล่งอาหาร ที่อยู่ให้สัตว์ทะเล

หญ้าทะเลมีลักษณะโครงสร้างภายนอกคล้ายคลึงกับหญ้าที่เจริญอยู่บนบกซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1. ราก เป็นส่วนที่ใช้ในการดูดซึมสารอาหารและแร่ราตุจากในดิน ทั้งยังช่วยในการ

ยึดเกาะกับพื้นดินทำให้หญ้าทะเลมีความมั่นคง

2. เหง้า เป็นส่วนของลำต้นที่เจริญคืบคลานไปใต้พื้นผิวดิน

3. ใบ เป็นส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร มีรูปร่างแตกต่างกันตามแต่ชนิดของหญ้าทะเล มีทั้งชนิดที่ใบมีลักษณะเป็นแผ่นแบนและชนิดที่เป็นท่อกลม ใบของหญ้าทะเลถูกนำมาใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกชนิดของหญ้าทะเล

ในไทยมีหญ้าทั้งหมด 13 ชนิด ประกอบด้วย กลุ่มที่มีใบแบน หรือ ใบกลมยาว ได้แก่ หญ้าคาทะเล, หญ้าต้นหอมทะเล, หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้ากุยช่ายเข็ม, หญ้าตะกานน้ำเค็ม, หญ้าชะเงาใบมน, หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย และหญ้าชะเงาเต่า

กลุ่มที่มีใบแบนสั้นรูปรี ได้แก่ หญ้าเงา หรือหญ้าใบมะกรูด หรือหญ้าอำพัน, หญ้าเงาใบเล็ก, หญ้าเงาใบใหญ่, หญ้าเงาใส และหญ้าเงาแคระ

หญ้าทะเล พืชดึกดำบรรพ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนแหล่งอาหาร ที่อยู่ให้สัตว์ทะเล

แต่ในจังหวัดระยองมีหญ้าทะเลที่เด่นๆ 2 ชนิดคือหญ้ากุ่ยช่ายทะเลขึ้นในบริเวณน้ำตื้น และหญ้าใบมะกรูด ลักษณะใบกลม จะอยู่แนวด้านนอกคืออยู่ในพื้นที่ที่จมน้ำตลอดเวลา ในส่วนของอ่าวมะขามป้อม จ.ระยอง ที่มาทำกิจกรรมวันนี้ หญ้าทะเลบริเวณนี้เรียกว่าอ่าวมะขามป้อม-เนินฆ้อ คือมีความยาวตั้งตั้งอ่าวมะขามป้อม ไปจนถึงเนินฆ้อ มีพื้นที่ที่เป็นศักยภาพหญ้าทะเลอยู่ที่ 1,480 ไร่ หญ้าชนิดเด่นของบริเวณนี้คือหญ้ากุ่ยช่ายทะเล

การเลือกฟื้นฟูหญ้าทะเลควรเลือกพื้นที่ที่เป็นอ่าวหลบลม เมื่อไหร่ที่หญ้าลงดิน ฟื้นตัวได้ จะค่อยๆ แผ่ขยายตัวออกไปเอง เช่นเดียวกับการปลูกต้นไม้ คือถ้าไม่ยึดดินบวกกับคลื่นลมแรง หญ้าก็จะหลุดลอยไปได้ เพราะฉะนั้นการเลือกพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญในการปลูกหญ้า

หญ้าทะเล พืชดึกดำบรรพ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนแหล่งอาหาร ที่อยู่ให้สัตว์ทะเล

วิธีการปลูกหญ้าทะเล คือ ขุดหลุมแล้วเอาหญ้าลงไปทั้งถ้วยกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ แต่ต้องเจาะรูให้ถ้วยพรุนก่อน เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้ให้มีการหมุนวียน เพราะถ้าเราไม่เจาะรูดินด้านในถ้วยจะเน่า พยายามให้ดินเสมอกับขอบถ้วย อย่าให้เป็นหลุมเพราะตะโกนซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการฟื้นฟูหญ้าทะเลจะมาทับถมได้ ซึ่งหากทับในปริมาณมากเป็นเวลานานจะทำให้การสังเคราะห์แสงน้อยลง หรือไม่อาจทำได้ทำให้หญ้าทะเลค่อยๆ ตายและหายไปจากพื้นที่นั้น

หญ้าทะเล พืชดึกดำบรรพ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนแหล่งอาหาร ที่อยู่ให้สัตว์ทะเล

การที่เราจะฟื้นฟูหญ้าทะเลจะดูจากหญ้าทะเลเดิมเป็นหลักว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นหญ้าชนิดไหนที่จะโตได้ อย่างโซนระยองเป็นหญ้ากุ่ยช่าย แต่มีหญ้าอีกชนิดหนึ่งที่เราทำการฟื้นฟูคือหญ้าคาทะเล ลักษณะใบใหญ่ปลูกง่าย และค่อนข้างเห็นผลว่าอัตรารอดจะดี แต่ในจังหวัดระยองไม่มี ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเลนนิดหน่อย ส่วนใหญ่จะอยู่ที่อ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี และที่อ่าวธรรมชาติ จ.ตราด

ถ้าพื้นที่ไหนยังไม่เคยมีหญ้าทะเลมาก่อน แต่เราอยากทดลองเอาหญ้าไปฟื้นฟู อย่างแรกเลยที่ต้องดูคือพื้นที่นั้นควรมีลักษณะเป็นเลนปนทรายจะเหมาะกับหญ้ามากกว่า เพราะถ้าเป็นทรายล้วนๆ เหมือนชายหาดหญ้าจะโตยาก แต่ถ้าเป็นเลนมากๆ หญ้าจะไม่สามารถยึดเกาะได้ อย่างพื้นที่ตรงนี้เป็นเลนปนทราย

หญ้าทะเล พืชดึกดำบรรพ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนแหล่งอาหาร ที่อยู่ให้สัตว์ทะเล

หญ้าทะเล พืชดึกดำบรรพ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนแหล่งอาหาร ที่อยู่ให้สัตว์ทะเล

บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณมณีสุดา ศิลาอ่อน ประธานเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร และพนักงานจิตอาสา 33 คน ร่วมกับ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตะวันออก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตะวันออก สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดย คุณสุรศักดิ์ ทองสุกดี ผู้อำนวยการ พร้อมกันนี้ ยังได้รับเกียรติจาก คุณบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกิจกรรมปลูกหญ้าทะเลในโครงการ “S&P ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนคุณค่าสู่ท้องทะเล” เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกและวันทะเลโลก ด้วยการร่วมกันปลูกหญ้าทะล เพื่อเป็นแหล่งอาหาร ที่พักพิง และแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล เมื่อสัตว์ทะเลมีคุณภาพชีวิตที่ดีจะส่งผลดีต่อการขยายพันธุ์ต่อไป นอกจากนี้ หญ้าทะเลยังมีคุณสมบัติสำคัญสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สาเหตุของภาวะโลกร้อนได้ดีกว่าป่าบกถึง 4 เท่า อันเป็นการช่วยสร้างสมดุลให้ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ณ หาดน้ำแดง จ.ระยอง