มีเรื่องดราม่ามากมายบนโลกออนไลน์ เกี่ยวกับการทำลายสัตว์ทะเลหายาก ทำลายปะการัง ของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ไปทำลายสิ่งแวดล้อมในขณะท่องเที่ยว วันนี้จะพามาดูเทคนิคนักท่องเที่ยว ดำน้ำอย่างไร ? ให้ช่วยรักษ์โลก ดูแลสิ่งแวดล้อม
ดำน้ำชมธรรมชาติใต้ทะเล คือหนึ่งในกิจกรรมยอดฮิตของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ดำน้ำของประเทศไทย ซึ่งมีความสวยงามมากๆ แต่กิจกรรมดังกล่าวบางทีก็เหมือนจะไปรบกวนสัตว์น้ำเช่นกัน และอาจมีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ทำลายสัตว์น้ำ และทรัพยากรทางทะเล ตามที่เป็นข่าวดราม่าบนโลกออนไลน์ให้เห็นเป็นประจำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สรุปให้! นักดำน้ำคร่าชีวิตปลาวัวไททัน ปลาวัวไททันดุร้ายจริงไหม?
ทช.วอนอย่าฆ่าปลาวัวไททัน เตือนนักดำน้ำให้เมตตา ช่วงนี้วางไข่จึงก้าวร้าว !
นักดำน้ำห้ามพลาด! Go Green Active ดำน้ำอนุรักษ์ทำลายสถิติโลก
แต่…คุณ รู้หรือไม่ว่า ? การดำน้ำมี 3 ประเภท ดังนี้
1. ฟรีไดฟ์วิ่ง (Freediving
2. การดำน้ำตื้น (Snorkeling)
3. การดำน้ำลึก (Scuba diving)
หลังจากที่ทราบว่าการดำน้ำมีกี่ประเภทไปแล้ว วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไปดูว่านักท่องเที่ยวจะดำน้ำอย่างไรให้สัตว์ทะเลหายาก และปะการัง ไม่ถูกรบกวน โดยเว็บไซต์ของ กรมอนุรักษ์ธรรมชาติ และผืนดิน ได้เผยแพร่เกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า นักดำน้ำต้องปฏิบัติดังนี้
- ดำน้ำดูความงามได้ แต่ห้ามจับหรือสัมผัสกับแนวปะการังเด็ดขาด
- อย่าหักปะการังไปเป็นของที่ระลึก
- ดำน้ำแล้วห้ามทิ้งขยะต่างๆ ลงในทะเล
- ช่วยกันดูเพื่อนร่วมทริปให้ปกป้องแนวปะการัง
- แนะนำเพื่อน คนรู้จัก บอกต่อถึงความสำคัญของแนวปะการังต่อระบบนิเวศน์
นอกจากปะการังก็มีหญ้าทะเลก็มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล ดังนั้นเราจึงควรช่วยกันดูแล ล่าสุด ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ดำเนินงานสำรวจและประเมินสถานภาพแหล่งหญ้าทะเลบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนล่าง พื้นที่จังหวัดสงขลา โดยวิธี Spot check ผลการสำรวจพื้นที่ศักยภาพแหล่งหญ้าทะเล 1,720.5 ไร่ พบหญ้าทะเล 1 ชนิด คือ หญ้าเงาแคระ (Halophila beccarii) สถานภาพโดยรวมอยู่ในระดับสมบูรณ์ปานกลาง (การปกคลุมของหญ้าทะเลร้อยละ 25-50)
ทั้งนี้พบมีตะกอนดินปกคลุมในแนวหญ้าทะเล หนาประมาณ 1 เซนติเมตร คาดว่าเป็นตะกอนที่ไหลมาจากปากคลองบริเวณใกล้เคียง ลักษณะพื้นทะเลเป็นทรายปนโคลน และพบพืชน้ำชนิดต่างๆ ปกคลุมในพื้นที่ เช่น ต้นกระจูด สาหร่ายหางกระรอก และสาหร่ายไฟ ความลึกน้ำ 0.3 – 1.5 เมตร ความเค็ม 5 - 22 พีพีที ออกซิเจนละลายน้ำ 6.17 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเป็นกรด-ด่าง 7.12 อุณหภูมิ 31.5 องศาเซลเซียส พร้อมได้ดำเนินการศึกษาและเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเล สัตว์น้ำชนิดเด่น ได้แก่ ปลาบู่ (Acentrogobius sp.) ปลากระทุงเหวปากแดง (Hemiramphus limbatus) และ กุ้งตะกาดขาว (Metapenaeus moyebi) ไม่พบขยะทะเลในแหล่งหญ้าทะเล