svasdssvasds

แบนไม่ส่ง “เมนูหูฉลาม” อาหารทำลายระบบนิเวศ ทำฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์

แบนไม่ส่ง “เมนูหูฉลาม” อาหารทำลายระบบนิเวศ ทำฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์

เป็นที่รู้กันว่าเมนูหูฉลามแต่ละจานต้องทำให้ฉลามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลอย่างรุนแรง การที่เราไม่สั่งอาหารเมนูหูฉลามถือเป็นการช่วยชีวิตเจ้าแห่งท้องทะเล อย่าง ฉลาม อีกทาง

ผลสำรวจขององค์กร WildAid ในปี พ.ศ. 2560 พบว่าฉลามสายพันธุ์ต่างๆ ทั่วโลกถูกฆ่ากว่า 100 ล้านตัวในแต่ละปี และฉลามกว่า 73 ล้านตัวถูกนำไปใช้ทำเมนูหูฉลาม และในประเทศไทยยังมีร้านอาหารในกรุงเทพฯ มากกว่า 100 ร้านที่ยังมีเมนูหูฉลามจำหน่ายอยู่ ราคาตั้งแต่ 300 – 4,000 บาท

จากการประเมินสถานภาพทางการอนุรักษ์ของฉลามในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2563 โดยสำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พบว่า ฉลามที่พบได้ในน่านน้ำไทยกว่าครึ่ง หรือ 47 ชนิด จาก 87 ชนิด มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable) ไปจนถึงใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered) จากการทำประมงเกินขนาด และการถูกจับเป็นสัตว์น้ำพลอยได้

แบนไม่ส่ง “เมนูหูฉลาม” อาหารทำลายระบบนิเวศ ทำฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์ แอปพลิเคชั่นเดลิเวอรี่อาหารของกินของใช้ อย่าง foodpanda ประเทศไทยได้ตอกย้ำจุดยืนในการส่งเสริมเรื่องการบริโภคอย่างยั่งยืน (Food Sustainability) ได้ร่วมมือกับ WWF หรือ World Wide Fund for Nature ประกาศจุดยืนไม่จำหน่ายเมนู “หูฉลาม” บนแอปฯ foodpanda กับแคมเปญ “KEEPING SHARKS OFF OUR PLATES” พร้อมรณรงค์ให้เห็นถึงผลเสียของการบริโภคเมนูหูฉลาม ที่ทำให้ “ฉลาม” ในธรรมชาติเสี่ยงสูญพันธุ์ และส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศทางทะเลอย่างรุนแรง

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

foodpanda ก้าวเข้ามามีบทบาทในการรณรงค์ไม่จำหน่ายเมนูหูฉลามบนแพลตฟอร์ม ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะ foodpanda ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึง foodpanda ฮ่องกงและสิงคโปร์ที่ได้ร่วมแคมเปญมาแล้วก่อนหน้านี้

แบนไม่ส่ง “เมนูหูฉลาม” อาหารทำลายระบบนิเวศ ทำฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์

พิมพ์ภาวดี พหลโยธิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WWF ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า “WWF ประเทศไทย เริ่มรณรงค์เกี่ยวกับมากว่า 3 ปีแล้ว แต่ในประเทศอื่น ๆ เราทำเรื่องนี้มานานกว่า 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นในจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย รวมถึงมาเลเซีย WWF ยินดีอย่างยิ่งที่ได้ภาคเอกชนอย่าง foodpanda มาร่วมแคมเปญ ในฐานะผู้ให้บริการเดลิเวอรี่อาหารซึ่งสามารถเป็นกระบอกเสียงในการสื่อสารกับร้านอาหารและผู้บริโภคโดยตรงได้เป็นอย่างดี

ก่อนหน้านี้ foodpanda ฮ่องกงและสิงคโปร์ ก็ได้ร่วมกับ WWF รณรงค์ไม่จำหน่ายเมนูหูฉลามบนแอปฯ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของทั้งสององค์กร และยังทำให้เราสามารถสานต่อกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมกันได้ในอนาคต” พิมพ์ภาวดี กล่าว

แบนไม่ส่ง “เมนูหูฉลาม” อาหารทำลายระบบนิเวศ ทำฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์ สำหรับแนวทางความยั่งยืนของ foodpanda ประเทศไทย คือการเริ่มต้นที่ตัวองค์กรเอง โดยเน้นขับเคลื่อน จากภายในสู่ภายนอก อาทิ

● ร่วมกับองค์กรพันธมิตรและร้านค้า รณรงค์การใช้ภาชนะใส่อาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและย่อยสลายได้

● ร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร สนับสนุนให้ไรเดอร์ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

● foodpanda มีฟังค์ชั่นให้ลูกค้าเลือกไม่รับช้อนส้อมพลาสติก

● ให้ความสำคัญกับการจัดการ food waste มอบของกินของใช้จาก pandamart ให้กับผู้ที่ต้องการ เพื่อขจัด ปัญหาอาหารเหลือทิ้ง

● ที่ออฟฟิศ foodpanda มีจุดแยกขยะทั้ง เศษกระดาษ พลาสติก โลหะ และเศษอาหาร เป็นต้น เพื่อส่งเสริม ให้พนักงานแยกขยะในออฟฟิศ

● ลงทุนเรื่องเทคโนโลยีในการคำนวณระยะทางขนส่งอาหารของกินของใช้ ให้ไรเดอร์ใช้ระยะที่สั้นที่สุด เพื่อช่วย ประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำมัน และส่งของถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

แบนไม่ส่ง “เมนูหูฉลาม” อาหารทำลายระบบนิเวศ ทำฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์ ความร่วมมือระหว่าง foodpanda ประเทศไทย และ WWF ในแคมเปญ “KEEPING SHARKS OFF OUR PLATES” ยังมีสองหมีแพนด้าซึ่งเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์และสัญลักษณ์ของทั้งสององค์กร ถือเป็นการจับคู่ที่ลงตัวและ นับเป็นการเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของ foodpanda ที่ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการบริโภคที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างรอบด้านต่อไป